สรุปผลการประชุม Public Policy Forum ประเด็นอนาคตประเทศไทยใน 10 มิติ ครั้งที่ 5 เรื่อง อนาคตประเทศไทยในมิติการเมือง บริบทโลก และความมั่นคง : ประเด็นเพื่อพิจารณาสำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การประชุม Public Policy Forum ประเด็นอนาคตประเทศไทยใน 10 มิติ ครั้งที่ 5 เรื่อง “อนาคตประเทศไทยในมิติการเมือง บริบทโลก และความมั่นคง : ประเด็นเพื่อพิจารณาสำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากสถาบันคลังสมองของชาติ ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย ได้รับการจัดสรรทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้ดำเนินงานโครงการประสานงานสนับสนุนทุนวิจัยและผลักดันการใช้ประโยชน์ในกระบวนการนิติบัญญัติและการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนทุนวิจัยเชิงนโยบายตามความต้องการของรัฐสภาและหน่วยงานภาครัฐ และดำเนินงานขับเคลื่อนให้ผลงานวิจัยของ วช. ได้นำไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการนิติบัญญัติและการบริหารราชการแผ่นดิน ประกอบกับเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้เห็นชอบให้สำนักวิชาการดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และบุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.00-16.30 นาฬิกา โดยเป็นการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

 

การบรรยายพิเศษหัวข้อ “อนาคตประเทศไทยในมิติการเมือง”

1. รัฐและการเมืองไทยกับความท้าทายก่อนภาวะปกติใหม่

  • การศึกษาที่บกพร่องในมาตรฐานและคุณภาพและโอกาสในการเข้าถึง
  • สังคมสืบสถานะ คนธรรมดาขยับสถานภาพทางสังคมได้ยาก
  • รัฐมีพื้นที่บทบาทใหญ่โต แต่พื้นที่แสดงออกทางการเมืองของประชาชนแคบเล็ก
  • การตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจอธิปไตยของทั้งสามฝ่ายไม่มีประสิทธิภาพ
  • ไม่มีดุลอำนาจที่ดีระหว่างรัฐ ทุน และสังคม
  • เศรษฐกิจเสรีที่เหลื่อมล้ำในโอกาสและความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากร
  • ระบบกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายไม่มีคุณภาพ 
  • กระบวนการยุติธรรมขั้นต้นด้อยประสิทธิภาพ 

2. ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและการเมืองไทยในภาวะปกติใหม่

  • ภูมิรัฐศาสตร์ของการเมืองระหว่างประเทศที่เปลี่ยนไป
  • ภาวะโรคร้อนและโรคระบาดร้ายแรง
  • โครงสร้างเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนไป
  • ลัทธิทางการเมืองเศรษฐกิจในโลกกำลังเปลี่ยนไป
  • การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 และการมีทักษะในศตวรรษที่ 21
  • ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ
  • ประชากรและความเป็นเมืองและชนบท
  • เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย

3. ความท้าทายของการเมืองไทยหลังภาวะปกติใหม่

  • รัฐอธิปไตยเข้มแข็งที่ยืดหยุ่น (Resilience State) 
  • ความเป็นรัฐที่มีความน่าเชื่อถือ (Trustworthy State)
  • ความเป็นรัฐที่มีความเป็นธรรม (Fair State) 
  • ความเป็นรัฐที่ทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข (Benevolent State) 

4. สี่ฉากทัศน์อนาคตของการเมืองไทย 

  • ฉากทัศน์การเมืองในวังวน 
  • ฉากทัศน์การเมืองที่แตกแยก 
  • ฉากทัศน์การเมืองประนอมอำนาจ
  • ฉากทัศน์การเมืองประชาธิปไตยใหม่ 

5. การปฏิรูปการเมืองและสังคมให้พ้นจากการเป็นรัฐล้มเหลว
การปฏิรูปการเมืองก็เพื่อขจัดข้อขัดแย้งทางการเมืองพื้นฐานโดยอาศัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการปฏิรูปเพื่อให้เป็นประเทศที่รัฐมีพื้นที่ทางสังคมที่มีขอบเขตขนาดใหญ่กว่าพื้นที่ของการเมือง และสังคมอยู่เหนือรัฐ

การบรรยายพิเศษ หัวข้อ “อนาคตประเทศไทยในมิติบริบทโลก ปัจจัยคุกคาม และความมั่นคงของประเทศ” 

1. สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง มี 3 ระดับ คือ

  • ระดับโลก 
  • ระดับภูมิภาค 
  • ระดับภายในประเทศ 

2. องค์ประกอบและปัจจัยขับเคลื่อน หรือ STEEP-M แบ่งเป็น 6 ด้าน 

  • ด้านสังคม (S) 
  • ด้านเทคโนโลยี (T) 
  • ด้านสิ่งแวดล้อม (E) 
  • ด้านเศรษฐกิจ (E) 
  • ด้านการเมือง (P) 
  • ด้านการทหารและการป้องกันประเทศ (M)

3. ภาพอนาคตฐาน (baseline future)

  • ด้านสังคม (S)
  • ด้านเทคโนโลยี (T) 
  • ด้านสิ่งแวดล้อม (E) 
  • ด้านเศรษฐกิจ (E) 
  • ด้านการเมือง (P) 
  • ด้านการทหารและการป้องกันประเทศ (M) 

4. ฉากทัศน์หรือภาพอนาคตทางเลือก

  • ฉากทัศน์โลกสงครามเย็น (Cold War)
  • ฉากทัศน์โลกพระศรีอารย์ (Nivarana)
  • ฉากทัศน์โลกปู่โสมเฝ้าทรัพย์ (Home Alone)
  • ฉากทัศน์โลกบูรพาภิวัฒน์ (East Wind Blowing)

จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมด พบว่า กรอบทิศทางการพัฒนาประเทศด้านการเมืองและความมั่นคงต้องให้ความสำคัญกับพลังของประชาชน ให้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ นำฉากทัศน์การเมืองไทยและความมั่นคงแบบสมดุลและยั่งยืนมากำหนดเป็นส่วนหนึ่งของทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยต้องคำนึงถึงอนาคตในระยะ 5-20 ปีข้างหน้า ซึ่งจากการศึกษาวิจัย พบว่า การขับเคลื่อน การพัฒนาประเทศต้องขับเคลื่อนโดยพลังของประชาชน ลดบทบาทภาครัฐจากการเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด มาเป็นผู้สนับสนุนและเอื้ออำนวยให้ภาคชุมชนเป็นผู้ดำเนินการ ตั้งกรอบทิศทางการพัฒนาที่ขับเคลื่อนไปสู่อนาคตที่พึงปรารถนา รวมถึงสร้างบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในองค์รวม รวมถึงควรต้องเตรียมการและดำเนินการในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของประเทศในด้านต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกับสภาพการณ์ด้านความมั่นคงในอนาคต 

วันที่เข้าร่วม :
2565-02-11
ปีที่เข้าร่วม :
2565
แหล่งที่มา :
ความรู้และประสบการณ์จากการอบรม ประชุม และสัมมนา
ผู้เรียบเรียง :
วิจิตรา ประยูรวงษ์, วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ
แฟ้มข้อมูล :