โซนนิ่งเขตการเกษตรเพื่อการปฏิรูปภาคเกษตร

ผู้เรียบเรียง :
วิริยะ คล้ายแดง
วันที่ออกอากาศ :
2558-02
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

บทวิทยุ

เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยประสบกับปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่าอยู่เสมอ บางครั้งผลผลิตการเกษตรขาดแคลน และหลายครั้งที่ผลผลิตการเกษตรมีมากมายล้นตลาด จึงมีบางคนสงสัยว่า หากพืชชนิดไหนที่ล้นตลาดจนราคาตกต่า ท่าไมยังคงเพาะปลูกพืชชนิดนั้น ท่าไมไม่เปลี่ยนไปเพาะปลูกพืชอย่างอื่น ค่าถามเหล่านี้ อาจฟังดูเป็นเรื่องง่ายดาย ทว่าในการจัดการแก้ไขปัญหา คงไม่ง่ายอย่างนั้นแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม แนวความคิดที่จะจัดโซนนิ่งพื้นที่การเกษตร หรือ การบริหารเขตการเกษตร เพื่อการปฏิรูปประเทศไทยในด้านการเกษตร ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สภาปฏิรูปแห่งชาติก่าลังศึกษาพิจารณา เพื่อน่ามาด่าเนินการแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรผันผวนและการผลิตล้นตลาด

การปฏิรูปภาคเกษตรเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปนั้น ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตรอุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ โดยให้มีวาระการปฏิรูปภาคเกษตร ด้านระบบการเกษตรที่ยั่งยืน

ในล่าดับแรก คงต้องมาพิจารณาถึงสภาพปัญหาผลผลิตการเกษตรที่ล้นตลาดนั้น เป็นเพราะมีปริมาณพื้นที่การเพาะปลูกจ่านวนมากเกินความต้องการ มักจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยวพืชเศรษฐกิจพร้อมๆ กัน แล้วส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรนั้นตกต่า เกษตรกรประสบปัญหาขาดทุน ซึ่งตามหลักการของแนวทางแก้ไขปัญหานี้ มีสองแนวทาง คือ การเพิ่มตลาดรับซื้อผลผลิตให้เพียงพอ หรือไม่ก็ต้องปรับลดผลผลิตให้เหมาะสมกับตลาดรับซื้อที่มี นั่นก็คือ การบริหารเขตเกษตรเศรษฐกิจ หรือ การโซนนิ่งเขตเกษตร

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้เสนอว่า ควรใช้การบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจเพื่อปฏิรูปภาคเกษตร โดยเสนอความคิดเห็นว่า ควรลดพื้นที่ปลูกข้าวลง ร้อยละ ๓๐ จากพื้นที่ปลูกข้าว ๗๕ ล้านไร่ โดยน่าพื้นที่ ประมาณ ๒๕ ถึง ๓๐ ล้านไร่ ที่ไม่เหมาะกับการปลูกข้าวไปปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างอื่นที่มีรายได้ดีกว่า เช่น ข้าวโพด มันส่าปะหลัง ปาล์มน้่ามัน อ้อย

คำว่า เขตเกษตรเศรษฐกิจนั้น คือการก่าหนดการผลิตทางการเกษตรออกเป็นกลุ่ม โดยใช้เกณฑ์แบ่งเขตจากชนิดของดิน น้่าฝน อุณหภูมิ พืชเศรษฐกิจ ประเภทของฟาร์ม และรายได้หลักของเกษตรกร เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาการเกษตรในระยะยาว ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ โดยมีลักษณะของการแบ่งเขตเกษตรเศรษฐกิจเป็นรายสินค้าและตามศักยภาพการผลิตของพื้นที่นั้น ๆ

ส่าหรับข้อเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปเศรษฐกิจ ด้านระบบการเกษตรที่ยั่งยืน ด้วยการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมหรือเขตเกษตรเศรษฐกิจนั้น เป็นทั้งแนวทางก่ากับควบคุมและส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจให้ด่าเนินไปสอดคล้องตามความเหมาะสม ซึ่งหลักการส่าคัญของการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมให้ประสบความส่าเร็จ ต้องอาศัยความพร้อมของปัจจัยหลัก ๓ ด้านในการขับเคลื่อน ประกอบด้วย ด้านแรก การบริหารจัดการพื้นที่และทรัพยากรที่เหมาะสม ด้านที่สอง ผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของตลาด และด้านสุดท้าย มีบุคลากรด้านการเกษตรทั้งเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ที่จะท่าหน้าที่บริหารจัดการการผลิตทางการเกษตรตลอดทั่วทั้งระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทั้ง ๓ ด้านที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ นั้น มีความแตกต่างกัน บางพื้นที่มีความพร้อมรองรับการพัฒนาได้เลย เพราะมีความเหมาะสมและโครงสร้างพื้นฐานเอื้ออ่านวย มีบุคลากรพร้อม แต่ในบางพื้นที่อยู่ในเขตยังขาดความพร้อมในบางสิ่งบางอย่าง ดังนั้น การพัฒนาในแต่ละพื้นที่จึงไม่สามารถใช้รูปแบบและวิธีการที่เหมือนกันได้ การบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจจึงต้องพิจารณาและก่าหนดมาตรการให้เหมาะสมกับพื้นที่และสอดคล้องกับพืชเศรษฐกิจด้วย

ในแนวทางเบื้องต้นของเขตเกษตรเศรษฐกิจนี้ ควรน่าร่องในพืชเศรษฐกิจที่ส่าคัญ ๖ ชนิด ได้แก่ ข้าว มันส่าปะหลัง ปาล์มน้่ามัน ยางพารา อ้อย และข้าวโพด โดยก่าหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจเป็น ๓ ระดับ ได้แก่ ระดับที่หนึ่ง เขตเกษตรเศรษฐกิจเพื่อการอนุรักษ์ป้องกันการท่าลายทรัพยากร ระดับที่สองเขตเกษตรเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนความเสี่ยงจากการส่งออกสินค้าน่าไปสู่การผลิตสินค้าปลอดภัย และระดับที่สาม เขตเกษตรเศรษฐกิจเพื่อให้ตอบสนองความต้องการซื้อและขาย ซึ่งจะป้องกันปัญหาสินค้าเกษตรขาดแคลนและปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่่าได้

แม้ว่าหลายคนอาจจะคิดว่า การปฏิรูปนั้นต้องปรับเปลี่ยนอย่างทันทีก็ตาม แต่แนวทางการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจ อาจจะต้องสร้างความยอมรับและความเชื่อมั่นให้แก่เกษตรกรเสียก่อน เพราะสิ่งส่าคัญที่จะท่าให้ประสบความส่าเร็จ นั่นคือการส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรที่ปลูกพืชในพื้นที่ที่มีศักยภาพต่่า ปรับเปลี่ยนไปท่าการเกษตรรูปแบบใหม่ ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุน และสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่า

ทั้งหมดนี้ คือหนึ่งในแนวทางการปฏิรูปประเทศไทย ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ ได้ด่าเนินการพิจารณาเพื่อเสนอให้รัฐบาลน่าไปด่าเนินการปฏิบัติ หากประสานความร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง ผลักดันเขตเกษตรเศรษฐกิจให้เป็นที่ยอมรับและสร้างความเชื่อมั่นให้เกษตรกรทั้งระบบได้ การเกษตรไทยก็จะก้าวข้ามวิธีการแบบดั้งเดิมสู่ยุคใหม่ มีหลักประกันด้านรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม

ภาพปก