เทคโนโลยีกับเกษตรไทยในอนาคต

ผู้เรียบเรียง :
จีรณัทย์ ชาญเชิงพานิช, วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานบริการวิชาการ 2 สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-03
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เห็นได้จากความเป็นจริงในโลกปัจจุบันวิวัฒนาการทางการเกษตรได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การพัฒนาสายพันธุ์พืชและสัตว์ต่าง ๆ ให้ได้ผลิตผลที่สูงขึ้น มีการเปสี่ยนแนวทางการผลิตจากการทำเกษตรดั้งเดิมเป็นการเกษตรที่อาศัยเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการผลิต สอดคล้องกับคำว่า Thailand 4.0

วิวัฒนาการเกี่ยวกับการผลิตของเกษตรกรไทยจากอดีตที่มุ้งเน้นใช้แรงงานภาคการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือร่วมใจของเกษตรกรในการปลูกข้าว ลงแรงดำนา หรือลงแขกเกี่ยวข้าว และการใช้แรงงานจากสัตว์ในการไถนา จะเป็นภาพที่บ่งบอกถึงการเกษตรดั้งเดิมตามชนบทได้เป็นอย่างดี หากจะเรียกให้ทันสมัยก็คือ การเกษตรในยุค Thailand 1.0 ต่อมาเป็นเกษตรที่เริ่มใช้อุตสาหกรรมเบามาแบ่งเบาภาระการผลิตลดแรงงานคนและสัตว์ เริ่มมีการใช้ปุ๋ยเคมีในกระบวนการผลิต มีการนำรถไถมาเปลี่ยนวิถีชีวิตการเกษตรแบบดั้งเดิมหรือเรียกว่า การเกษตรในยุค Thaiand 2.0 และในยุคถัดมาจะมีการปรับเปลี่ยนมาเน้นเครื่องจักรกสในการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมาก มีการใช้รถปลูกข้าวแทนแรงงานคน มีการจัดทำโรงเรือนระบบปิดเพื่อผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน เริ่มควบคุมกระบวนการผลิตทั้งหมด ซึ่งเรียกว่ การเกษตรในยุ Thaiand 3.0 และปัจจุบันภาครัฐได้มีการสนับสนุน เพื่อให้เกษตรกรมีการนำเทคโนโลยีมาควบคุมการผลิตทุกกระบวนการ โดยเริ่มตั้งแต่การผลิตจนถึงช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อให้เป็นการพัฒนาสู่การเกษตรในยุค Thailand 4.0

การเกษตรในยุค Thailand 4.0 ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตของประเทศไทยข้างหน้า คือ การใช้พื้นที่อย่างจำกัดในกระบวนการผลิต และสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมไม่ว่าจะเป็น แสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น แร่ธาตุอาหารต่าง ๆ และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นปัจจัยหลักซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชในอัตราที่เหมาะสม เพื่อให้การเจริญเติบโตของพืชเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้และมีอัตราผลผลิตที่ควบคุมได้ซึ่งก็คือ โรงงานผลิตพืช หรือเรียกว่า Plant Factory ซึ่งมีต้นแบบจากประเทศญี่ปุ่น โดยโรงงานผลิตพืชนี้สามารถผลิตพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงทั้งด้านอัตราการผลิต และการใช้ทรัพยากรในการผลิต โดยสามารถเพิ่มคุณภาพของพืชเพื่อสร้งมูลค่าเพิ่มของผลผลิตได้ เช่น การเพิ่มวิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดที่ใช้เป็นยารักษาโรค และคุณสมบัติทางกายภาพอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นผิวสัมผัส รสชาติ และอายุหลังการเก็บเกี่ยวที่ยาวนานขึ้น เป็นต้น และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและต่อมนุษย์ เพราะโรงงานผลิตพืชจะลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และลดการใช้ทรัพยากรน้ำและธาตุอาหารโดยจะใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เนื่องจากการควบคุมสภาพแวดล้อมในระบบปิดหรือกึ่งปิดจะมีการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ลดปัญหาศัตรูพืชได้

รูปแบบของโรงงานผลิตพืช จะเป็นการปลูกพืชในระบบปิดหรือกึ่งปิดที่ถูกควบคุมแสง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อุณหภูมิ ความชื้นและสารอาหาร ให้พืชอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด โดยโรงงานปลูกพืชส่วนใหญ่จะใช้ระบบไฮโดรโปนิกส์และสามารถปลูกพืชได้หลายชั้น ในแต่ละชั้นจะมีการควบคุมแสงที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตในแต่ละช่วงอายุของพืช อาทิ ใช้แสงสีน้ำเงินเพื่อเร่งการเจริญเติบโตช่วงใบ หรือใช้แสงสีแดงช่วยเร่งดอก เป็นต้น

โรงงานผลิตพืชเป็นนวัตกรรมใหม่ที่เริ่มเข้าสู่ประเทศไทยมาได้ระยะหนึ่งแล้ว โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้เริ่มนำร่องโรงงานผลิตพืชโดยเริ่มต้นด้วยการผลิตพืชสมุนไพร เพื่อเป็นต้นแบบของโรงงานผลิตพืชที่อาจจะสนับสนุนให้เกษตรกรในประเทศไทยได้เริ่มการผลิตพืชในระบบโรงานผลิตพืชได้ แต่สิ่งที่เป็นข้อจำกัดสำคัญของโรงงานผลิตพืช คือ การลงทุนในการเริ่มสร้างโรงงานผลิตพืชครั้งแรกต้องใช้ตันทุนที่ค่อนข้างสูง ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นค่ใช้จ่ายในการลงทุนทำ LED Plant Factory มีต้นทุนประมาณ 4,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตารางเมตร หรือประมาณ 127,000 บาทต่อตารางเมตร หากนำมาลงทุนในประเทศไทยในระยะเริ่มแรกอาจจะเป็นการยากที่ระบบโรงงนผลิตพืชจะได้รับการตอบรับจากเกษตรกรไทย เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์มีทั้งทรัพยากรน้ำและแสงแดดอย่างเพียงพอ การที่จะส่งเสริมให้มีการผลิตพืชในระบบโรงงานผลิตพืชได้นั้น ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจจะต้องมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบให้สามารถตอบโจทย์ด้านต้นทุน และผลผลิตที่ได้คุ้มค่ากับการลงทุน โดยหาวิธีลดตันทุนในการผลิต รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้วิชาการเกี่ยวกับพืชและองค์ประกอบของพืชที่จำเป็นให้เกษตรกรสามารถเข้าใจได้ง่ายไม่สับสน และทำตามได้อย่างถูกต้อง

โรงงานผลิตพืชอาจจะเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาช่วยในกระบวนการผลิตพืชให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงตรงตามความต้องการของผู้บริโภคลดการใช้ทรัพยากรด้านการผลิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวตล้อมและต่อมนุษย์ และยังส่งเสริมให้ภาคการเกษตรของไทย มีความทันสมัยและรู้เท่าทันทคโนโลยีต่างประเทศ นำพาให้ประเทศไทยสามารถเพิ่มขีดการแข่งขันที่สูงขึ้น มุ่งสู่การเป็น Thailand 4.0 ทำให้ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง และสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน

ภาพปก