การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดี

ผู้เรียบเรียง :
ศรันยา สีมา, วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานบริการวิชาการ 1 สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-10
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

การอาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมบางครั้งอาจเกิดความขัดแย้งหรือข้อพิพาทระหว่างกันอันเนื่องมาจากการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิ เสรีภาพ หรือโต้แย้งสิทธิของบุคคลอื่น ทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน ซึ่งแต่เดิมเมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นไม่ว่าจะเป็นข้อพิพาททางแพ่งหรือทางอาญา รัฐจะเข้ามาทำหน้าที่เป็นคนกลางในการระงับข้อพิพาทนั้นโดยใช้กระบวนการทางศาล เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม อย่างไรก็ตามแม้การระงับข้อพิพาทโดยศาลจะเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีการที่เป็นธรรม แต่ในความเป็นจริงแล้วการระงับข้อพิพาทโดยศาลมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ใช้เวลานาน เสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และมีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีเสียไป ประกอบกับจำนวนผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ของศาลมีค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนข้อพิพาทที่ขึ้นสู่ศาล ในบางครั้งจึงอาจไม่สามารถแก้ไขเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที ก่อให้เกิดปัญหาคดีค้างอยู่ในศาลเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการนำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทซึ่งเป็นวิธีการระงับช้อพิพาททางเลือกวิธีการหนึ่งมาใช้ในการระงับข้อพิพาทในชั้นก่อนฟ้องคดี เพื่อแก้ไขปัญหา ดังกล่าว โดยได้กำหนดหลักกณฑ์และกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไว้ในพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายกลางที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดีสำหรับข้อพิพาททางแพ่งที่มีทุนทรัพย์ไม่มากนัก และข้อพิพาททางอาญาบางประเภท เพื่อให้คู่กรณีมีโอกาสเจรจาตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ระหว่างกันด้วยความสมัครใจของทุกฝ่าย โดยสันติวิธี และไม่มีการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทนั้น โดยมีบุคคลที่สามที่เรียกว่า "ผู้ใกล่เกลี่ย" ทำหน้าที่เป็นคนกลางในการช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก เสนอแนะแนวทางในการยุติข้อพิพาทให้แก่คู่กรณี และจัดทำข้อตกลงระงับข้อพิพาทตามผลของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพื่อให้คู่กรณีสามารถหาทางออกของปัญหาที่เป็นที่พอใจของทุกฝ่ายร่วมกันได้

ข้อพิพาทที่สามารถดำเนินการไกล่เกลี่ยตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ มี 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ข้อพิพาททางแพ่ง ซึ่งเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินที่ไมใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ข้อพิพาทระหว่างทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดก ข้อพิพาทอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา และข้อพิพาทอื่นนอกจากที่กล่าวมาซึ่งมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000,000 บาท หรือไม่เกินตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา โดยคู่กรณีที่มีความประสงค์จะให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้องยื่นคำร้องต่อหน่วยงานของรัฐซึ่งดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อขอเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย และเมื่อคู่กรณีทั้งสองฝายตกลงกันได้แต่ต่อมาคู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้น อีกฝ่ายหนึ่งสามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้บังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาทนั้นได้

ประเภทที่ 2 ข้อพิพาททางอาญา ซึ่งเป็นข้อพิพาทในความผิดอันยอมความได้ หรือความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390-395 และมาตรา 397 และความผิดลหุโทษอื่นที่ไม่กระทบต่อส่วนรวมตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ทั้งนี้ เมื่อคู่กรณีได้ทำข้อตกลงระงับข้อพิพาททางอาญาระหว่างกันแล้วให้ถือว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับเฉพาะคู่กรณีที่ทำข้อตกลงดังกล่าว และในกรณีที่คู่กรณีมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา สิทธิการฟ้องคดีอาญาจะระงับไปก็ต่อเมื่ออีกฝ่ายได้ปฏิบัติตามข้อตกลงส่วนแพ่งแล้ว

พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ยังเปิดโอกาสให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวนได้ในความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปีตามที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ อีกทั้งยังส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนรวมตัวกันเป็นศูนย์ใกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนเพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งเกี่ยวกับที่ดินที่ไมใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ ข้อพิพาทระหว่างทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดก ข้อพิพาทอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา และข้อพิพาทอื่นนอกจากที่กล่าวมาซึ่งมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 500,000 บาท หรือไม่เกินตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีก และไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ หรือความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390-395 และมาตรา 397 หรือความผิดลหุโทษอื่นที่ไม่กระทบต่อส่วนรวมตามที่กฎหมายกำหนด โดยให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกระทรวงยุติธรรม อุดหนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ยังเปิดโอกาสให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวนได้ในความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปีตามที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ อีกทั้งยังส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนรวมตัวกันเป็นศูนย์ใกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนเพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งเกี่ยวกับที่ดินที่ไมใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ ข้อพิพาทระหว่างทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดก ข้อพิพาทอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา และข้อพิพาทอื่นนอกจากที่กล่าวมาซึ่งมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 500,000 บาท หรือไม่เกินตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีก และไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ หรือความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390-395 และมาตรา 397 หรือความผิดลหุโทษอื่นที่ไม่กระทบต่อส่วนรวมตามที่กฎหมายกำหนด โดยให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกระทรวงยุติธรรม อุดหนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

การนำมาตรการกลเกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดีมาใช้ในการระงับข้อพิพาท ทำให้ประชาชน สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางเลือกได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น การเข้าร่วมกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกิดขึ้นจากความสมัครใจของคู่กรณี จึงช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคู่กรณีลงได้ ช่วยลดปริมาณคดีที่จะขึ้นสู่ศาล อีกทั้งยังมีมาตรการในการบังคับให้คู่กรณีปฏิบัติตามช้อตกลงระงับข้อพิพาท ทำให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนของเรื่องการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติฉบับนี้จะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป

ภาพปก