กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานประมง

ผู้เรียบเรียง :
สิริพิชญ์ชนก คุณประเสริฐ, วิทยากรชำนาญการ กลุ่มงานบริการวิชาการ 3 สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-03
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

ในปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ทั้งทางด้านสภาพการจ้างงาน และการดูแลในเรื่องของสวัสดิการต่าง ๆ แต่ก็เป็นการดูแลแรงงานในภาพรวมที่ไม่ได้ระบุเฉพาะให้ชัดเจนถึงแต่ละสาขาอาชีพ ซึ่งสำหรับกรณีแรงงานประมงนั้น เนื่องจากสภาพการจ้างและสภาพการทำงานในงานประมงมีความแตกต่างจากการทำงานของลูกจ้างทั่วไป มีความสี่ยงภัยทางทะเลและมีระยะเวลาการทำงานที่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ดังนั้น นานาประเทศจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของสภาพปัญหาดังกล่าว ซึ่งองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้ มีอนุสัญญา ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานภาคประมง ค.ศ. 2007 ซึ่งอนุสัญญาดังกล่าวกำหนดพันธกรณีในการคุ้มครองแรงงานประมงให้มีสภาพการทำงานที่มีคุณค่าบนเรือประมง ในเรื่องข้อกำหนดขั้นต่ำในการทำงานบนเรือ สภาพการปฏิบัติหน้าที่ ที่พักอาศัยและอาหาร การคุ้มครองความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงาน การดูแลทางการแพทย์ และการประกันสังคม ดังนั้น เพื่อให้บรรฤวัตถุประสงค์แห่งอนุสัญญาดังกล่าว กระทรวงแรงงานจึงได้ยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ.... โดยได้เสนอและผ่านการอนุมัติหลักการจากคณะรัฐมนตรี รวมทั้งได้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนแล้ว ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ....  ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณา ขณะนี้อยู่ในระหว่างกรพิจารณาของสภานิติบัญญัติ    แห่งชาติ

ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ.... ได้กำหนดขอบเขตในการใช้บังคับโดยยกเว้นไม่ใช้บังคับกับประมง เพื่อการยังชีพประมงน้ำจืด ประมงเพื่อนันทนาการ มีสาระสำคัญ ได้แก่ เรื่องการตรวจสุขภาพก่อนออกทำการประมง เรื่องหลักประกันด้านการประกันสังคมหรือสิทธิประโยชน์อื่นที่เทียบเท่ากับการประกันสังคม เรื่องสิทธิของแรงงานประมงที่จะได้รับการส่งตัวกลับ และเรื่องมาตรฐานของเรือที่ต้องผ่านการตรวจมาตรฐานความปลอดภัยและได้รับใบรับรองการตรวจสภาพ เป็นต้น สำหรับมาตรการอันเป็นการคุ้มครองแรงงานในงานประมง เช่น มาตรการที่กำหนดให้สัญญาจ้างต้องกำหนดเงื่อนไขหรือการจัดการอย่างอื่นเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของแรงงานประมง และสภาพการทำงานทั้งบนเรือและบนท่าเทียบเรือ การกำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจในการพิจารณพิพากษาคดีที่เกิดจากข้อพิพาทระหว่างเจ้าของเรือกับแรงงานประมง มาตรการกำหนดให้แรงงานประมงมีสิทธิขอเดินทางกลับสถานที่ที่เจ้าของเรือรับแรงงานประมงเข้าทำงานหรือสถานที่ที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจ้าง มาตรการกำหนดให้เรือประมงที่มีดาดฟ้าและมีขนาดตั้งแต่สามร้อยตันกรอสส์ขึ้นไปต้องมีการจัดที่พักอาศัยบนเรือประมง มาตรการกำหนดให้เรือประมงที่มีขนาด 26.5 เมตรขึ้นไปหรือระยะทางในการเดินเรือเกินกว่า 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่งของประเทศไทยและมีระยะเวลาอกไปทำการประมงเกินกว่า 3 วัน ต้องมีใบรับรองว่าผ่านการตรวจสภาพความเป็นอยู่และสภาพการทำงาน โดยศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกจะอนุญาตให้เรือออกไปทำการประมงได้เมื่อใบรับรองยังไม่หมดอายุ และมาตรการในการห้ามเจ้าของเรือบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่เป็นธรรม เป็นต้น

ภาพปก