ครูตู้ : การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

ผู้เรียบเรียง :
สุริยา ฆ้องเสนาะ, วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานบริการวิชาการ 3 สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-03
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

การศึกษาคือรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ แต่ต้องยอมรับว่ามีเด็กนักเรียนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบททุรกันตารและห่างไกลความเจริญหลายแห่งของประเทศไทย ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา แต่ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร จึงทรงมีพระราชดำริและทรงก่อตั้งมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมขึ้น เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาให้เด็กในพื้นที่ห่างไกล และขาดแคลนครูได้เข้าถึงการเรียนขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกับเด็กในเมือง นำมาซึ่งคำที่เต็ก ๆ เรียกกันสั้น ๆ ว่า "ครูตู้"

"ครูตู้" หรือการศึกษาทางกลผ่านดาวเทียม เริ่มตันใน พ.ศ. 2538 มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา การขาดแคลนครูในท้องที่ชนบทห่างไกล และยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยการถ่ายทอดสดการสอนจากโรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเริ่มต้นจากรายการสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 6 ช่องสัญญาณ เป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2538 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539 โดยพระองค์ได้พระราชทานทุนประเดิมจำนวน 50 ล้านบาท ที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยในขณะนั้น ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงจัดตั้งมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานตราสัญลักษณ์เฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ 50 ปี ให้เป็นตราของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อเป็นการพระราชทานการศึกษาไปสู่ปวงชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม และต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ได้ออกอากาศการเรียนการสอนเด็กเล็กในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมนั้น เป็นกระบวนการที่ต้องประสานความสัมพันธ์ระหว่างห้องเรียนตันทางจากโรงเรียนวังไกลกังวล ไปยังห้องเรียนของโรงเรียนปลายทางที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ กระบวนการดังกล่าวเริ่มตันที่ห้องเรียนตันทางคือโรงเรียนวังไกลกังวลซึ่งประกอบด้วยครผู้สอน กล้องถ่ายภาพสองกล้อง จอพลาสม่าสำหรับนักเรียนใช้ดู และจอมอนิเตอร์สำหรับครูผู้สอนที่สามารถเห็นภาพของตนเองขณะทำการสอน

หลักการจัดการเรียนการสอนของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม จะต้อง "สอนง่าย ฟังง่าย เขียนง่าย เข้าใจง่าย" และใช้เทคโนโลยีที่ธรรมดา ไม่ชับซ้อน ประหยัดแต่ได้ผล ที่สำคัญครูทุกคนต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีความรักให้ลูกศิษย์เสมือนเป็นลูกของตัวเอง เป็น "ครูตู้" ครูพระราชทาน สัญญาณจากฟ้า 

ปัจจุบันการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้แพร่ภาพถ่ายทอดการเรียนการสอนชั้นพื้นฐานในรูปแบบถ่ายทอดสด 1 ช่อง 1 ชั้น ตั้งแต่การเรียนการสอนระดับอนุบาล 1-3 จำนวน 3 ช่อง 
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 6 ช่อง ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 3 ช่อง รวมเป็นจำนวน 12 ช่อง 12 ชั้น นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดการเรียนการสอนของวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รวมทั้งการศึกษาสายวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น และการศึกษาชุมชน จำนวน 1 ช่อง 
ถ่ายทอดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาสัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล นอกจากนี้ยังมีสถาบันอื่น ๆ อาทิ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) จำนวน 1 ช่อง รวมถึงถ่ายทอดการอบรมครูภาษาอังกฤษและครูวิทยาศาสตร์ เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ครู นักศึกษา ตลอดทั้งประชาชนผู้สนใจทั่วไป จำนวน 1 ช่องรวมทั้งหมดเป็น 15 ช่อง โดยสามารถรับชมผ่านทาง KuBand ในระบบ DTH (Direct To Home) และต่อมาได้เพิ่มช่องทางการรับชมการเรียนการสอนอีก 3 ช่องทาง คือ
1. ระบบ e-Learning ผ่านเว็บไซต์ ww.dlf.ac.th โดยสามารถเลือกรับชมแบบการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) หรือชมรายการย้อนหลัง (On Demand) ได้ภายในระยะเวลา 1 ปี 
2. Application "DLTV on Mobile" ในระบบ Android และ iOS และ 
3. ระบบ eDLTV ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. โดยนำเนื้อหาการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมและคู่มือครูปลายทาง เช่น วีดิทัศน์ สไลด์บรรยาย มาแปลงเป็นเนื้อหา e-Learning เรียกว่าระบu eDLTV ระดับประถมศึกษา ระบบ eDLTV ระดับมัธยมศึกษา และระบบ eDLTV เพื่อพัฒนาอาชีพ โดยสามารถเรียนแบบออฟไลน์ได้ทั้งหมด และมีการพัฒนาอบรมบุคลากรครูด้วยระบบประชุมทางไกลผ่านวีดิทัศน์ (Videoconference)

นับว่า "ครูตู้" การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนที่อยู่ห่างไกลด้วยการนำเอาเทคโนโลยีที่มีอยู่มาช่วยให้เกิดอรรถประโยชน์นานัปการต่อการพัฒนาประเทศอย่างสูงสุด 

ภาพปก