พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในปี 2561-2562

ผู้เรียบเรียง :
นราภัทร เพชรมณี, บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-04
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

นับตั้งแต่ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย กฎหมายพรรคการเมืองฉบับแรกของไทยคือพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 และพรรคการเมืองที่ได้จดทะเบียนเป็นพรรคแรกคือพรรคเสรีมนังคศิลาเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2498

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ให้ความหมาย "พรรคการเมือง" ว่า เป็นคณะบุคคลที่รวมตัวกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองโดยได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ การยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง มาตรา 11 ได้กำหนดให้ผู้ซึ่งได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองเป็นผู้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามที่คณะกรรมการกำหนด และให้นายทะเบียนออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ยื่นคำขอไว้เป็นหลักฐาน มาตรา 12 กำหนดว่าคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองตามมาตรา 1 1 วรรคสอง    อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ 
1) ชื่อและชื่อย่อของพรรคการเมือง 
2) ภาพเครื่องหมายของพรรคการเมือง 
3) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่พรรคการเมือง 
4) ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวประชาชนและลายมือชื่อของหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง นายทะเบียนสมาชิก และกรรมการบริหารอื่นของพรรคการเมือง 

พรรคการเมืองที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองแล้วเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์สำคัญตามมาตรา 20 เพื่อดำเนินกิจกรรม ทางการเมืองตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง พรรคการเมืองต้องไม่ดำเนินกิจการอันมีลักษณะเป็นการแสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน

พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นก่อนปี 2561 และยังดำเนินการอยู่มีจำนวน 60 พรรค ในปี 2561 นายทะเบียนพรรคการเมืองรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองจำนวน 40 พรรค โดยเรียงลำดับตามวันที่จัดตั้ง ดังนี้ 
1. พรรคทางเลือกใหม่ 
2. พรรคมติประชา 
3. พรรคประชาภิวัฒน์ 
4. พรรคพลังพลเมืองไทย 
5. พรรครวมใจไทย 
6. พรรคพลังธรรมใหม่ 
7. พรรคประชาชนปฏิรูป 
8. พรรคอนาคตใหม่ 
9. พรรคไทยธรรม 
10. พรรคเพื่อนไทย
11. พรรคไทยศรีวิไลย์ 
12. พรรครวมพลังประชาชาติไทย 
13. พรรคสยามพัฒนา 
14. พรรคเพื่อคนไทย 
15. พรรคพลังปวงชนไทย 
16. พรรคพลังไทยรักไทย 
17. พรรคพลังชาติไทย 
18. พรรคประชาชาติ 
19. พรรคแผ่นดินธรรม
20. พรรคคลองไทย 
21. พรรคประชาธรรมไทย 
22. พรรคประชานิยม 
23. พรรคพลังประชารัฐ 
24. พรรคเศรษฐกิจใหม่ 
25. พรรคไทยรุ่งเรือง 
26. พรรคพลังรัก 
27. พรรชาติพันธุ์ไทย 
28. พรรคภูมิลังเกษตรกรไทย 
29. พรรคพลังสังคม 
30. พรรคพลังแรงงานไทย 
31. พรรคไทสร้างชาติ 
32. พรรคพลังศรัทธา 
33. พรรคพลังแผ่นดินทอง 
34. พรรคกลาง 
35. พรรคพลังเพื่อไทย 
36. พรรคประชาไทย 
37. พรรคกรีน 
38. พรรคพัฒนาประเทศไทย 
39. พรรคฐานรากไทย 
40. พรรคสามัญชน 
ล่าสุดในปี พ.ศ. 2562 มีพรรคการเมืองใหม่ยื่นจดทะเบียนจำนวน 6 พรรค ได้แก่ 
1. พรรคพลังครูไทย 
2. พรรคภาคีเครือข่ายไทย 
3. พรรคพลังไทยดี 
4. พรรคเพื่อไทยพัฒนา 
5. พรรคพัฒนาชาติ 
6. พรรคคนงานไทย

ในปี 2562 มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการทั่วไปขึ้น คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2562 และการเลือกตั้งล่วงหน้าในวันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม 2562 ประชาชนชาวไทยเจ้าของอำนาจอธิปตยได้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งเพื่อเลือกบุคคลหรือพรรคการเมืองเป็นตัวแทนไปทำหน้าที่แทนตนในสภา

คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ได้รับคะแนนสูงสุดรายจังหวัด (อย่างไม่เป็นทางการ) มีทั้งผู้สมัครของพรรคการเมืองเก่และพรรคการเมืองใหม่ที่ได้รับคะแนนสูงสุดในแต่ละเขต การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคการเมืองใหม่ที่ได้รับเลือกจากประชาชนมีคะแนนรวมรายพรรคอยู่ในหลักล้าน ได้แก่ พรรคอนาคตใหม่ จำนวน 6,265,950 คะแนน และพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งมีคะแนนรวมสูงสุด จำนวน 8,433,1 77 คะแนน นอกจากนี้ พรรคการเมืองใหม่ยังมีโอกาสที่จะมี ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อด้วย

ภาพปก