สาขา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์)
ปีการศึกษา 2564
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธิกานต์ ศรีนารา
บริบททางสังคมการเมืองไทยส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมืองของนักเขียนอีสานในงานวรรณกรรม ระหว่างทศวรรษ 2530 – 2550 อย่างสำคัญ ในช่วงแรกนั้นนักเขียนอีสานโดยรวมเสนอความคิดทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน นั่นก็คือการมุ่งเน้นวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการพัฒนาของภาครัฐ ต่อต้านความทันสมัยจากในเมืองที่ส่งผลตอความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านอีสาน โจมตีนักการเมือง และการเมืองบนท้องถนน กระแสความคิดวัฒนธรรมชุมชนที่สุกงอมออกมา ยังผลให้ข้อเสนอโดยรวมของนักเขียนอีสานในห้วงเวลานี้สอดคล้องและสอดรับไปด้วยกัน
อย่างไรก็ตามความคิดทางการเมืองของนักเขียนอีสานเริ่มแตกต่างกันอย่างชัดเจนในทศวรรษ 2550 เนื่องจากปฏิกิริยาของความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น ทำให้นักเขียนอีสานต้องการจะนิยาม ความหมายของ "อีสาน" ใหม่ ผ่านงานเขียนเชิงปัจเจกและการทำนิตยสารที่มีเนื้อหาแตกต่างกันอย่าง ชัดเจนคือ "ชายคาเรื่องสั้น" ซ่ึงมุ่งเน้นที่การเมืองในระดับโครงสร้าง และ อีกฉบับคือนิตยสาร "ทางอีศาน" เชื่อมั่นในวัฒนธรรมมากกว่าการพิจารณาไปที่การเมืองอย่างตรงไปตรงมา ดังนั้นบริบททางสังคมการเมืองจึงเป็นปัจจัยหลักและสำคัญที่ส่งผลให้ความคิดทางการเมืองของนักเขียนอีสานใน ทศวรรษ 2550 นั้นแตกต่างกัน
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 หอสมุดรัฐสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เลขที่ 1111 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ : +66(0) 2242 5900 ต่อ 5714, 5715, 5721-22 โทรสาร : +66(0) 2242 5990
อีเมล : library@parliament.go.th