ศัพท์รัฐสภา

อินโฟกราฟิก เรื่อง รัฐสภา

รัฐสภา หมายถึง สถาบันที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของอำนาจอธิปไตยตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา โดยนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช 2475 เป็นต้นมาประเทศไทยมีรัฐสภา 2 ระบบ คือ ระบบสภาเดียว ซึ่งส่วนใหญ่สภาเดียวมักจัดตั้งขึ้นภายหลังการปฏิวัติ รัฐประหารโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง ส่วนระบบสองสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซึ่งสมาชิกมาจากทั้งการเลือกตั้งและแต่งตั้ง ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรแต่ละฉบับ 

อ่านเพิ่มเติม

อินโฟกราฟิก เรื่อง ยุบสภา

ยุบสภา (dissolution of parliament) หมายถึง การดำเนินการทางการเมืองเพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะใดขณะหนึ่งต้องพ้นจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปพร้อมกัน โดยนายกรัฐมนตรีจะถวายคำแนะนำเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร อันเป็นผลให้สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งปวงพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระเพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ และจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป การยุบสภาที่ว่านี้ใช้กับสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับวุฒิสภา 

การยุบสภาผู้แทนราษฎรมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ

อินโฟกราฟิก เรื่อง แถลงนโยบาย

แถลงนโยบาย หมายถึง ภารกิจสำคัญที่รัฐธรรมนูญกำหนดบังคับให้คณะรัฐมนตรีต้องปฏิบัติก่อนที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินอย่างเป็นทางการ โดยขั้นตอนและกระบวนการของรัฐธรรมนูญนั้น เมื่อสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบบุคคลที่สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีจะนำรายชื่อบุคคลอีกจำนวนไม่เกิน 35 คนขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีโดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง โดยก่อนเข้ารับหน้าที่รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์และหลังจากถวายสัตย์ปฏิญาณแล้ว คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่งต้องสอดคล้องกับหน

อินโฟกราฟิก เรื่อง เคาะค้อน

เคาะค้อน หมายถึง การให้สัญญาณในการควบคุมการประชุมของประธานสภาโดยการนำค้อนประธานที่อยู่บนบัลลังก์เคาะ และเป็นวิธีการควบคุมการประชุมของประธานในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา แล้วแต่กรณี การเคาะค้อนจะมีผลทำให้ผู้ที่อภิปรายต้องหยุดพูดและนั่งลงทันที

การเคาะค้อนนี้ มีกำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมสภามาโดยตลอด รวมถึงข้อบังคับการประชุมสภาในฉบับปัจจุบันทั้ง 3 ฉบับ คือ

อินโฟกราฟิก เรื่อง กรรมาธิการ

กรรมาธิการ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งตามมติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือที่ประชุมวุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้เป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการ เพื่อทำหน้าที่ตามกิจการที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมของแต่ละสภา ทั้งนี้ กรรมาธิการจะมาจากบุคคลที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา หรือบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ แล้วแต่กรณี

กรรมาธิการที่สภาแต่งตั้งขึ้นประกอบเป็นคณะกรรมาธิการนั้น ทำหน้าที่ตามที่สภามอบหมาย เช่น
การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ร่างพระราชบัญญัติ ภายหลังจาก

อินโฟกราฟิก เรื่อง อภิธานศัพท์ ผู้นำฝ่ายค้าน : Leader of the Opposition

ผู้นําฝ่ายค้าน : Leader of the Opposition

เกาะกระแสการพิจารณาญัตติ ขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล รัฐบาล พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ด้วยอภิธานศัพท์ในวงงานรัฐสภา 

วันนี้ขอเสนอคำว่า "ผู้นําฝ่ายค้าน : Leader of the Opposition" ซึ่งเป็นหนึ่งในอภิธานศัพท์ในวงงานรัฐสภา ที่สํานักภาษาต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้จัดทำขึ้น

อินโฟกราฟิก เรื่อง อภิธานศัพท์ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ : No – confidence debate

 

การอภิปรายไม่ไว้วางใจ : No – confidence debate​

ต้อนรับวันแรกของการพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล รัฐบาล พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ด้วยอภิธานศัพท์ในวงงานรัฐสภา ที่สํานักภาษาต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้จัดทำขึ้น​

อินโฟกราฟิก เรื่อง ศัพท์สภาน่ารู้ :วิป (Whip)

วิป (Whip) หมายถึง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ทำหน้าที่ควบคุมการลงคะแนนเสียงในสภาผู้แทนราษฎร เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญในพรรคการเมืองที่จะติดต่อเชื่อมโยงบรรดาสมาชิกในการทำหน้าที่อย่างเป็นเอกภาพเพื่อประโยชน์ในการลงคะแนนเสียงและทำหน้าที่ประสานงานระหว่างพรรคการเมือง เพื่อให้การดำเนินการของสภาผู้แทนราษฎรดำเนินไปอย่างราบรื่น วิป ทำหน้าที่ในรูปแบบคณะกรรมการประสานงาน ประกอบด้วย คณะกรรมการประสานงานร่วมสภาผู้แทนราษฎร (วิปร่วม) คณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (วิปฝ่ายค้าน) คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)

อ่านเพิ่มเติม

อินโฟกราฟิก เรื่อง ศัพท์สภาน่ารู้ :พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ (Act) หมายถึง กฎหมายที่ออกมาบังคับใช้โดยผ่านความเห็นชอบตามกระบวนการนิติบัญญัติ เริ่มด้วยการเสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติของรัฐสภา เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ตามลำดับจนผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าถวาย นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าถวาย พระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้บังคับ เป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา ⚖️ พระราชบัญญัติมี 2 รูปแบบ คือ

  • พระราชบัญญัติที่ตราขึ้นใหม่ทั้งฉบับ
  • พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฉบับเดิม

อ่านเพิ่มเติม

อินโฟกราฟิก เรื่อง ศัพท์สภาน่ารู้ สมัยประชุมสามัญของรัฐสภา (Ordinary session)

ศัพท์สภาน่ารู้ 🍁🍁
📌สมัยประชุมสามัญของรัฐสภา (Ordinary session) 📌
หมายถึง การประชุมสามัญประจำปีของรัฐสภา 
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้ในหนึ่งปีมีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสองสมัย สมัยละ 120 วัน 
สมัยแรกเริ่มตั้งแต่วันที่มีการเปิดประชุมเป็นครั้งแรก 
สมัยที่สองรัฐธรรมนูญให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้กำหนดวันเริ่มสมัยประชุม และให้ถือเป็นวันเปิดสมัยประชุมสมัยที่สองของปีตลอดไปจนกว่าสภาผู้แทนราษฎรจะสิ้นอายุหรือครบวาระ

อ่านเพิ่มเติม 

Subscribe to ศัพท์รัฐสภา