ศัพท์รัฐสภา

อินโฟกราฟิก เรื่อง ถอนคำพูด

 

ถอนคำพูด หมายถึง ยกเลิกคำที่พูดไปแล้วให้เป็นเหมือนว่าไม่เคยพูดคำนั้นมาก่อน เมื่อสมาชิกได้อภิปรายหรือกล่าวถ้อยคำใดในสภาอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ จนทำให้ประธานในที่ประชุมสภาสั่งให้ถอนคำพูด หรือมีผู้ประท้วงว่าได้ถูกกล่าวพาดพิงที่ทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งสมาชิกผู้อภิปรายอาจถอนคำพูดเองโดยประธานในที่ประชุมไม่ต้องสั่งก็ได้ เพื่อไม่ให้มีการจดบันทึกถ้อยคำที่พูดนั้นในรายงานการประชุมสภา

อินโฟกราฟิก เรื่อง นายกรัฐมนตรี

 

นายกรัฐมนตรี หมายถึง บุคคลผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารประเทศหรือบริหารราชการแผ่นดิน

อินโฟกราฟิก เรื่อง สงวนคำแปรญัตติ

 

สงวนคำแปรญัตติ หมายถึง กรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาที่ไม่ได้ตั้งเป็นกรรมาธิการมีสิทธิในการขอแก้ไขร่างกฎหมาย จึงได้มีการเสนอคำแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการ พร้อมทั้ง มีการชี้แจงและแสดงความคิดเห็นเพื่อประกอบการขอแก้ไขเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนข้อความรายละเอียดใน ร่างกฎหมายต่อคณะกรรมาธิการประกอบคำแปรญัตติแล้ว ถ้ากรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการขอให้แก้ไขตามคำแปรญัตติดังกล่าว ผู้ขอแปรญัตติมีสิทธิขออภิปรายในที่ประชุมสภาเพื่อให้สภาวินิจฉัย ทั้งนี้ ที่ประชุมสภาอาจจะเห็นด้วยกับผู้สงวนคำแปรญัตติหรือเสียงส่วนใหญ่ของกรรมาธิการก็ได้

อินโฟกราฟิก เรื่อง งดใช้ข้อบังคับชั่วคราว

 

งดใช้ข้อบังคับชั่วคราว หมายถึง การระงับ ยกเว้น หรืองดข้อบังคับการประชุมข้อหนึ่งข้อใดทั้งหมด หรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวเฉพาะกรณี หากที่ประชุมอนุมัติหรือเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงตามจำนวนคะแนนเสียงที่กำหนดไว้ก็ให้งดใช้ได้ เพื่อให้สภาสามารถดำเนินการประชุมได้ ซึ่งการจะงดใช้ข้อบังคับชั่วคราวต้องให้ประธานขอปรึกษา หรือสมาชิกเสนอญัตติตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุม โดยไม่ต้องเสนอล่วงหน้าหรือทำเป็นหนังสือ สามารถเสนอญัตติในที่ประชุมเพื่อให้ที่ประชุมอนุมัติหรือเห็นชอบให้งดใช้ข้อบังคับชั่วคราวได้

การงดใช้ข้อบังคับชั่วคราวได้กำหนดเอาไว้ในข้อบังคับการประชุมของแต่ละสภา ได้แก่

อินโฟกราฟิก เรื่อง สมัยประชุม

 

สมัยประชุม หมายถึง ระยะเวลาการประชุมรัฐสภาที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่าในปีหนึ่งรัฐสภาจะมีการประชุมกี่ครั้ง แต่ละครั้งมีระยะเวลานานเท่าใด หลักการกำหนดสมัยประชุมได้มีการบัญญัติครั้งแรกไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 และยังคงถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับต่อ ๆ มาจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สมัยประชุมจึงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะส่งผลกระทบและผูกพันต่อกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ

อินโฟกราฟิก เรื่อง พระราชกำหนด

 

พระราชกำหนด หมายถึง บทบัญญัติแห่งกฎหมายรูปแบบหนึ่งที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจบริหารซึ่งให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติแต่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบตามกระบวนการนิติบัญญัติของรัฐสภา

พระราชกำหนดมี 2 ประเภท คือ

อินโฟกราฟิก เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน

 

ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน หมายความถึง ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. การตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร
  2. การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน
  3. การกู้เงิน การค้ำประกัน การใช้เงินกู้ หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ
  4. เงินตรา

ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติ

อินโฟกราฟิก เรื่อง คณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี หมายถึง คณะบุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งขึ้น ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน


ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 วรรคหนึ่ง กำหนดให้มีคณะรัฐมนตรี จำนวน 36 คน ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ตามหลักความรับผิดร่วมกัน

Subscribe to ศัพท์รัฐสภา