แนวคิดเรื่องคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) หมายถึง การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและกำลังเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก โดยกระบวนการผลิตของภาคเกษตรกรรมได้ส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 1 ใน 3 ของทั้งโลก ดังนั้น องค์การสหประชาชาติจึงได้จัดทำเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ทั้งหมด 17 ข้อ โดยกำหนดเป้าหมายที่ 2 คือ ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ซึ่งมีเป้าประสงค์ที่ 2.4 คือ สร้างหลักประกันระบบการผลิตที่ยั่งยืนและสามารถนำไปปรับใช้ในระบบการเกษตรที่สามารถเพิ่มผลผลิตและการผลิตได้ ช่วยรักษาระบบนิเวศที่เพิ่มความเข้มแข็งในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาพอากาศที่รุนแรง ความแห้งแล้ง น้ำท่วม และภัยพิบัติอื่น ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อคุณภาพพื้นที่และดิน ภายในปี 2573
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมได้ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) จากภาคเกษตรกรรม โดยกรมวิชาการเกษตรได้จัดทำแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตร 2 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การจัดทำต้นแบบการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการผลิตพืช โดยมีแนวทางการดำเนินงานในพืชเป้าหมายที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าวโพด ยางพารา และไม้ผล ซึ่งจะดำเนินการพัฒนาเป็นโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ และ 2) การพัฒนากรมวิชาการเกษตรเพื่อเป็นหน่วยงานตรวจรับรองคาร์บอนเครดิตภาคเกษตร โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้กรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานในการตรวจรับรองคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้และการเกษตร ทั้งนี้ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตรที่คุ้มทุนที่สุด คือ การจัดการพื้นที่เพาะปลูกและการฟื้นฟูดินอินทรีย์เพิ่มการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในดิน เช่น การเพาะปลูกข้าวเป็นกิจกรรมสำคัญที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพาะปลูกข้าว 1 ไร่ อาจเกิดก๊าซมีเทนได้ตั้งแต่หลักสิบถึงหลักพันกิโลคาร์บอน และก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่ากับการใช้น้ำมันตั้งแต่ 1 - 100 ลิตร โครงการไทยไรซ์ นามา (Thai Rice NAMA) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทยได้ถ่ายทอดองค์ความรู้การเพาะปลูกข้าวที่ไม่ให้น้ำขัง โดยปรับเปลี่ยนกระบวนการเพาะปลูกข้าวด้วยวิธีการ 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
นอกจากนั้น ยังมีความสอดคล้องกับระบบเกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture System) เป็นระบบการเกษตรที่ครอบคลุมถึงวิถีชีวิตเกษตรกร กระบวนการผลิตและการจัดการทุกรูปแบบเพื่อให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ซึ่งนำไปสู่การพึ่งตนเองและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค ความยั่งยืนที่เกิดขึ้นจากการทำระบบเกษตรกรรมยั่งยืนสามารถแบ่งออกเป็น 3 มิติ ดังนี้
ดังนั้น การปรับตัวของภาคเกษตรกรรมสู่เกษตรคาร์บอนต่ำด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นรักษาระบบนิเวศ จะเป็นการยกระดับกระบวนการผลิตของภาคเกษตรกรรมให้มีผลผลิตทางการเกษตรด้วยมาตรฐานที่สูงขึ้น จะเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร และส่งผลต่อเนื่องไปถึงการส่งออกสินค้าทางการเกษตรให้ได้มาตรฐานระดับโลกที่นำประเด็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นเงื่อนไขในการกำหนดมาตรฐานสินค้าสำหรับการค้าระหว่างประเทศ จึงเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรส่งผลให้มีความยั่งยืนทางมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ รวมทั้งบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทาง Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติต่อไป
Copyright © 2022 National Assembly Library of Thailand
The Secretariat of the House of Representatives
1111 Samsen Road, Thanon Nakhon Chai Si, Dusit, Bangkok 10300, THAILAND
Tel: +66(0) 2242 5900 ex 5714, 5715, 5721-22 Fax: +66(0) 2242 5990
Email: library@parliament.go.th