ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2528 ส่งผลให้รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ เพื่อมิให้มีการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ซึ่งการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมมีส่วนสำคัญในการก่อให้เกิดปัญหาในการเข้าถึงผลประโยชน์และการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ในสังคมไทยและสังคมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทที่เกี่ยวข้องกับสตรีและกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมทั้งผู้ด้อยโอกาสในการรับบริการต่าง ๆ ของรัฐ
รัฐไทยจึงได้ตราพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 9 กันยายน 2558 มีเป้าหมายในการให้ความคุ้มครองแก่เพศหญิง เพศชาย รวมทั้งบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศให้สามารถดำรงสถานะของตนอยู่ในสังคมไทยได้อย่างเท่าเทียมเสมอหน้ากัน อีกทั้งยังต้องการเปิดช่องทางที่สะดวกและรวดเร็วเพื่อร้องขอความเป็นธรรมให้กับผู้ตกเป็นเหยื่อของการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ กฎหมายฉบับนี้ได้สร้างกลไกไว้สามส่วน คือ
กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ มีวัตถุประสงค์
กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ มีรายได้มาจากงบประมาณแผ่นดินและเงินบริจาค ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณ สำนักงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2566 ได้รับงบประมาณเป็นทุนหมุนเวียนปีละ 5 ล้านบาท แต่ตามข้อมูลในเอกสารปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้รับงบประมาณจากรัฐจำนวน 15 ล้านบาท
ผู้มีคุณสมบัติขอรับเงินสนับสนุนจะต้องเป็นมูลนิธิ สมาคม ชมรม องค์กรสาธารณประโยชน์หรือ องค์กรสวัสดิการชุมชน หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชน ซึ่งมีผลงานหรือวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการหรือมีโครงการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ หรือเพื่อคุ้มครองและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ หรือเพื่อส่งเสริมการศึกษา การวิจัยและการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ โครงการที่กองทุนฯ สนับสนุนมี 4 ระดับ ดังนี้
ในพื้นที่กรุงเทพมหานครสามารถยื่นโครงการขอรับการสนับสนุนได้ที่กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัดยื่นขอรับการสนับสนุนได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด 76 จังหวัด หรือศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวในเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้ง 8 แห่ง การพิจารณาจัดสรรงบประมาณประจำปีกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศนั้น ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ และความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ซึ่งจะพิจารณาอนุมัติกรณีมีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ โดยจะพิจารณาตามความจำเป็น ประหยัด คุ้มค่า เหมาะสมกับสถานที่ กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรมตามระเบียบกระทรวงการคลังกำหนด และหลักเกณฑ์การพิจารณาสนับสนุนโครงการจากกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศมีความสําคัญอย่างมากในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียมกันระหว่างเพศในสังคมไทย โดยกองทุนจะสนับสนุนทั้งในด้านงานวิจัย การจัดอบรมให้ความรู้ การให้คําปรึกษาและช่วยเหลือผู้เสียหายจากการเลือกปฏิบัติทางเพศ รวมถึงผลักดันการปฏิรูปกฎหมายและนโยบายต่าง ๆ เพื่อนําไปสู่ความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ากองทุนนี้มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความเท่าเทียมระหว่างเพศในสังคมไทย
Copyright © 2022 National Assembly Library of Thailand
The Secretariat of the House of Representatives
1111 Samsen Road, Thanon Nakhon Chai Si, Dusit, Bangkok 10300, THAILAND
Tel: +66(0) 2242 5900 ex 5714, 5715, 5721-22 Fax: +66(0) 2242 5990
Email: library@parliament.go.th