ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21

ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21

กระบวนการเรียนรู้สำคัญกว่าความรู้

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ควรไปในทิศทางใด ในขณะที่การศึกษาไทยอยู่ในภาวะวิกฤตด้านคุณภาพ  การขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการศึกษาไทยให้เกิดผลอย่างจริงจังควรทำอย่างไร และต้องตระหนักในเรื่องใดบ้าง หนังสือ "ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21" มีคำตอบ

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอไว้อย่างน่าสนใจโดยนักวิชาการศึกษาต่างประเทศ เป็นความรู้และแนวความคิดพื้นฐานที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติได้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของนโยบายที่สนองความต้องการในศตวรรษที่ 21 การออกแบบสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้แบบใหม่เพื่อสนับสนุนศตวรรษที่ 21 หรือการเรียนรู้จากปัญหา : รากฐานสำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะทำให้เข้าใจถึงปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ 

นอกจากนี้ ยังได้นำกรณีตัวอย่างของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีวิสัยทัศน์และการพัฒนาทางการศึกษาที่สามารถนำมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติได้เป็นอย่างดี หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอถึงกรอบวิสัยทัศน์ด้านการศึกษาของสิงคโปร์ "สอนให้น้อยลง เรียนรู้ให้มากขึ้น" โดยกรอบวิสัยทัศน์ดังกล่าวนั้นประกอบด้วยวิสัยทัศน์ 4 อย่างสัมพันธ์กัน ได้แก่ 1. วิสัยทัศน์เพื่อประเทศชาติโดยรวม 2. วิสัยทัศน์เพื่อการศึกษาของชาวสิงคโปร์ 3. วิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง และ 4. วิสัยทัศน์เพื่อสร้างความร่วมมือ

หนังสือ "ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21" นี้พร้อมให้บริการท่านที่สนใจสามารถมาใช้บริการได้ที่หอสมุดรัฐสภา

 

ที่มา : วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์. (2562). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. [LB 1060 ท337 2562]

ผู้จัดทำ :
สุนิดา บุญญานนท์, ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
อรุณทิพย์ จันทร์ดิษฐ์, เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
วันที่