ตราสัญลักษณ์ คำขวัญและประวัติจังหวัดปทุมธานี

ตราสัญลักษณ์ คำขวัญและประวัติจังหวัดปทุมธานี

ตราสัญลักษณ์จังหวัดปทุมธานี

รูปวงกลมมีสัญลักษณ์ดอกบัวหลวงสีชมพูอยู่ตรงกลาง และรวงข้าวสีทองอยู่ 2 ข้างดอกบัวและต้นข้าว หมายถึง ความสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร

คำขวัญจังหวัดปทุมธานี

ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม

ประวัติความเป็นมา

จังหวัดปทุมธานีเดิมชื่อ "เมืองสามโคก" เป็นเมืองที่ตั้งมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2202 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มังนันทมิตรได้กวาดต้อนครอบครัวมอญ เมืองเมาะตะมะ อพยพหนีภัยจากศึกพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ครอบครัวมอญเหล่านั้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคกต่อมา พ.ศ. 2317 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชาวมอญได้อพยพหนีพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เรียกว่า "ครัวมอญพระยาเจ่ง" พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่สามโคก พ.ศ. 2358 สมัยรัชกาลที่ 2 ได้มีการอพยพชาวมอญครั้งใหญ่จากเมืองเมาะตะมะเข้าสู่ประเทศไทยเรียกว่า "มอญใหม่" พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญบางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สามโคก ฉะนั้น จากชุมชนขนาดเล็ก "บ้านสามโคก" จึงกลายเป็น "เมืองสามโคก" ในกาลต่อมา

พ.ศ. 2549 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำว่า "จังหวัด" แทน "เมือง" โดยเมืองประทุมธานี จึงเปลี่ยนมาเป็น จังหวัดประทุมธานี ขึ้นอยู่ในมณฑลกรุงเก่า และเมื่อ พ.ศ. 2461 ทรงเปลี่ยนชื่อ "ประทุมธานี" เป็น "ปทุมธานี"

พ.ศ. 2475 รัชกาลที่ 7 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยุบจังหวัดธัญบุรีขึ้นกับจังหวัดปทุมธานีเมื่อ พ.ศ. 2475

 

ที่มา : ตราสัญลักษณ์ คำขวัญและประวัติจังหวัดปทุมธานี. (http://www2.pathumthani.go.th/)

ผู้จัดทำ :
ใหม่ มูลโสม, บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
ภูริชญ์ ทรัพยรังสี, เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
วันที่