รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง สภาพปัญหาและแนวทางส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย

รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง สภาพปัญหาและแนวทางส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย

ในอดีตประเทศไทยยังไม่มีนโยบายการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง มีเพียงนโยบายพัฒนาชาวเขาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพืชเสพติดและกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการป่าไม้ แต่ที่ผ่านมาชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินการพัฒนาชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติของตนเอง

มีแผนการปฏิรูปประเทศจึงได้มีการกำหนดการพัฒนากฎหมายส่งเสริมกลุ่มชาติพันธุ์ขึ้น โดยมีศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานหลักในการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... โดยผสมผสานบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองเข้ากับกิจการของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

ผลการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ คณะกรรมาธิการฯ มีข้อสังเกต ดังนี้

1. เร่งรัดให้มีการตรา "ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. ...."
2. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรควรบูรณาการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ เข้ากับมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตกะเหรี่ยง และร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
3. กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชและกรมป่าไม้ ควรปฏิบัติตามนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง และชะลอการดำเนินคดีกับประชาชนที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์
4. กองทัพบกควรติดตามช่วยเหลือบุคคลที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตามนโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ กลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย และกลุ่มกองร้อยชาวเขาอาสาสมัคร
5. กระทรวงมหาดไทยเร่งรัดกระบวนการทางสัญชาติไทย และออกเอกสารรับรองแก่กลุ่มชาติพันธุ์อย่างทั่วถึง

 

ที่มา : คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ สภาผู้แทนราษฎร. (2563). รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง สภาพปัญหาและแนวทางส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. (https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/572116)

ผู้จัดทำ :
นริศรา เพชรพนาภรณ์, บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
สุกัญญา กัลยา, เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
วันที่