สงครามเย็นในแดนโสม วิกฤตที่ยังไม่สิ้น

สงครามเย็นในแดนโสม วิกฤตที่ยังไม่สิ้น

สงครามเย็นในทางทฤษฎีหรืออุดมการณ์ เป็นการต่อสู้ระหว่างระบบทุนนิยมกับสังคมนิยม แต่ในทางปฏิบัติมิได้เป็นอย่างนั้นไปทั้งหมด เพราะภายใต้เสื้อคลุมของอุดมการณ์มีผลประโยชน์แห่งชาติที่แข็งแกร่งดำรงอยู่ วิกฤตแห่งสงครามเย็นนี้จึงดูจะยืดเยื้อและพัวพันภายใต้ความหวัง และความสูญเสียนานัปการ

หนังสือ เรื่อง สงครามเย็นในแดนโสม วิกฤตที่ยังไม่สิ้น โดย อนุช อาภาภิรม เป็นหนังสือที่ผู้แต่งได้รวบรวมบทความของผู้แต่งที่ได้เผยแพร่เป็นตอน ๆ ในวารสาร "มติชนสุดสัปดาห์" ไว้เป็นหนังสือเล่มนี้

โดยจะมีเนื้อหาเป็นการนำเสนอเรื่องราวของสงครามเย็นในคาบสมุทรเกาหลีตั้งแต่เกาหลีในยุคสมัยต่าง ๆ วัฒนธรรม ศาสนา การเมือง การปกครอง สงคราม ความขัดแย้งภายในประเทศที่เกิดจากการแย่งชิงอำนาจกันเอง การเข้ามามีอิทธิพลทางการปกครองจากจีนและญี่ปุ่น ความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจนั่นคือ สหรัฐ-ญี่ปุ่น (ฝ่ายหนึ่ง) และ จีน-รัสเซีย (อีกฝ่ายหนึ่ง) จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการแบ่งประเทศเกาหลี "เส้นขนานที่ 38" และเข้ามามีบทบาททำให้เกิด "สงครามตัวแทน" หรือสงครามเกาหลี ซึ่งเป็นสงครามร้อนในสงครามเย็น ทั้งสองฝ่ายเกาหลีต่างได้รับการสนับสนุนจากชาติมหาอำนาจให้อยู่คนละขั้ว มีการปกครองที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยเกาหลีเหนือมีการปกครองแบบลัทธิสตาลินที่มีลักษณะเฉพาะของตน คือ ลัทธิจูเช่ ส่วนเกาหลีใต้ใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบสหรัฐผสมลัทธิแชบอล แต่ทั้งสองเกาหลีก็ยังคงแสวงหาการรวมชาติอีกครั้ง   

หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือที่น่าสนใจเล่มหนึ่งที่จะทำให้ผู้อ่านได้เรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม ศาสนา สงคราม ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในคาบสมุทรเกาหลี

หนังสือ "สงครามเย็นในแดนโสม วิกฤตที่ยังไม่สิ้น" นี้พร้อมให้บริการ ท่านที่สนใจสามารถมาใช้บริการได้ที่ หอสมุดรัฐสภา

 

ที่มา : อนุช อาภาภิรม. (2558). สงครามเย็นในแดนโสม วิกฤตที่ยังไม่สิ้น. [DS 916.35 อ186ส 2558]

ผู้จัดทำ :
อุดมศักดิ์ โกสิทธิ์, บรรณารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
ญานิกา เฟื่องฟุ้ง, เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
วันที่