PRODUCTIVITY คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น

PRODUCTIVITY คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น

..เพิ่มผลผลิตจากวิธีคิด การสื่อสาร การบริหาร และการลงมือทำ จากแหล่งเรียนรู้ชาติตะวันตก มาปฏิบัติในชาติตะวันออก..

การทำงานในปัจจุบันมีแหล่งเรียนรู้หลากหลายให้เราได้ศึกษา ทั้งแนวคิด ทฤษฎีและประสบการณ์ ที่เรานำมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดการพัฒนางานให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น และสมบูรณ์ตามเป้าหมายที่กำหนด นอกจากนี้ การเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงานในที่ทำงานและจากหน่วยงาน ๆ ก็มีส่วนสำคัญอย่างมาก ซึ่งบางครั้งอาจศึกษาจากประสบการณ์ของผู้อื่นมาวิเคราะห์หาแนวทางในแบบของตนเอง เพื่อปรับปรุงพัฒนางานให้เพิ่มผลผลิต ประสิทธิภาพ หรือเกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่วางไว้ อาจต้องใช้เวลาในการศึกษาและลงทุนกับการเรียนรู้จากแหล่งต่าง ๆ 

สำหรับเนื้อหาในหนังสือ "PRODUCTIVITY คิดแบบเยอรมันลงมือทำแบบญี่ปุ่น" นำเสนอการเรียนรู้ วิธีคิดการทำงาน การใช้ชีวิต ของเยอรมันและญี่ปุ่นในคราวเดียวกัน ซึ่งผู้เขียนเป็นคนญี่ปุ่นที่ไปทำงานในเยอรมันกว่า 20 ปี โดย นายซุมิตะ คัน ผู้เขียนได้นำเสนอการทำงานของคนญี่ปุ่นและวิธีคิดของคนเยอรมัน ประสานทั้งสองสไตล์เข้าด้วยกัน ตั้งแต่วิธีการคิด การสื่อสาร การบริหารเวลา การทำงานเป็นทีม ไปจนถึงการใช้ชีวิต แยกเป็นเนื้อหาหลัก ๆ คือ แนวคิดพื้นฐาน วิธีการสื่อสาร วิธีบริหารเวลา การทำงานเป็นทีม และการใช้ชีวิต ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ผู้อ่านปรับเปลี่ยนมุมมองและวิธีคิดในการทำงานให้สามารถสร้างผลงาน และความสุขในการทำงานมากขึ้น

ทั้งนี้ หนังสือเล่มนี้ไม่ได้นำเสนอทฤษฎีความแตกต่างทางวัฒนธรรม และไม่ได้ตั้งใจจะเชิดชูเยอรมัน เพียงแต่ต้องการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ที่พบเห็นมาเกี่ยวกับบริษัท และการทำงานของคนเยอรมัน ที่มี PRODUCTIVITY สูง และมีคุณภาพในเนื้องานเนื่องด้วยวิธีคิดที่แตกต่าง

หนังสือ "PRODUCTIVITY คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น" นี้พร้อมให้บริการ ท่านที่สนใจสามารถมาใช้บริการได้ที่หอสมุดรัฐสภา

 

ที่มา : ซุมิตะ คัน. (2563). PRODUCTIVITY คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น. [BF 481 ซ429ป 2563]

ผู้จัดทำ :
จิดาภา ทับเกษมปิติโสภา, บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
ปภาดา สุประพัฒน์โภคา, เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ
วันที่