จาก 14 ถึง 6 ตุลา : ประวัติศาสตร์การเมืองพิสดารของสยามสมัยใหม่

จาก 14 ถึง 6 ตุลา : ประวัติศาสตร์การเมืองพิสดารของสยามสมัยใหม่

อาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ได้รวบรวมประเด็นเนื้อหาจากการปาฐกถาประจำปี ในโอกาสรำลึกเหตุการณ์ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จัดโดย มูลนิธิ 14 ตุลา โดยการเทียบเคียงกับการปฏิรูป พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1893) การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยมีเหตุการณ์สำคัญต่อเนื่องตามกันมาไม่ว่าจะเป็น 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 จนถึง พ.ศ. 2553 ที่เกี่ยวโยงกันอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งปรากฏการณ์การเรียกร้องระบอบการเมืองการปกครองใหม่อย่างน้อย 3 กรณี คือ ตอนกลางและตอนปลายรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 กับการกบฏ การปฏิวัติเมื่อต้นรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 คือ รัตนโกสินทร์ ศก หรือ รศ. 103 ในกรณีของ คำกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103 โดยมีพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เป็นผู้นำ และยังมีนักคิดนักเขียนสามัญชนอีกท่านหนึ่ง คือ เทียน วัณณาโภ ที่เรารู้จักกันในนามปากกาว่า "เทียนวรรณ" เขียนบทกลอนเรียกร้องประชาธิปไตยในลักษณะประนีประนอม

เมื่อผลัดแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงตอนต้นรัชกาลที่ 6 ได้เกิดเหตุการณ์ที่รู้จักกันในนามของ "กบฏ ร.ศ. 130" พ.ศ. 2454-55 นำโดยนายทหารหนุ่ม ร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์ นายเหล็ง ศรีจันทร์ วางแผนปฏิบัติการไปไกลถึงการเปลี่ยนระบอบกษัตริย์ (Monarchy) ให้เป็นสาธารณรัฐ (Republic) โดยขอย้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์การเมืองตั้งแต่หมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) หมอสอนศาสนาคริสต์ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2408 ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ได้จัดทำจดหมายเหตุ Bangkok Recorder ที่มีหมอบรัดเลย์เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ซึ่งถือเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกที่ได้พิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 และหยุดก่อการไป มาเริ่มใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4 จากการปรากฏตัวของรัฐธรรมนูญอเมริกันเป็นภาษาไทย ในปี พ.ศ. 2408 เป็นอีกจุดหมายหนึ่งของการเริ่มต้นสมัยใหม่ หรือ Modern Period จนมาถึงในปีปัจจุบัน พ.ศ. 2562

อาจารย์ชาญวิทย์ ยังได้ลำดับวิกฤตการณ์จาก พ.ศ. 2540-2562 เป็นผลสืบเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจค่าเงินบาทตกต่ำหรือต้มยำกุ้ง เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ทำให้เกิดการปฏิรูปการเมือง อันนำมาซึ่งรัฐธรรมนูญ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ฉบับที่ 16 จนเกิดการก่อตัวของมวลชนที่รู้จักในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยมีนายสนธิ  ลิ้มทองกุล กับพลตรี จำลอง  ศรีเมือง เป็นแกนนำในปี พ.ศ. 2548 จนเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยพลเอกสนธิ  บุณยรัตกลิน ผบ.ทบ. กระทำในนามของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เป็นผู้นำยึดอำนาจ นายทักษิณ ชินวัตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 กลุ่มคณะบุคคล "กปปส." โดยมีนายสุเทพ  เทือกสุบรรณ เป็นผู้นำทำการ Shutdown กรุงเทพฯ เนื่องจากนโยบายรัฐจำนำข้าวสมัย น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีกับการเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม "เหมาเข่ง" หรือสุดซอย จนเกิดการรัฐประหารอีกครั้งในนาม "คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ" หรือ คสช. โดยพลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในขณะนั้น


ที่มา :  ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2562). จาก 14 ถึง 6 ตุลา : ประวัติศาสตร์การเมืองพิสดารของสยามสมัยใหม่. [DS 586 ช495จ 2562]

ผู้จัดทำ :
ณิชานี ฉุนฉลาด, บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
ศรุดา พรมสิทธิ์, เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
วันที่