สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษา

สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษา

การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมโดยการถ่ายทอดสดการสอนจากโรงเรียนวังไกลกังวลในพระบรมราชูปถัมภ์ไปยังห้องเรียนของโรงเรียนปลายทางที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ ถือว่าเป็นการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ในขณะนั้นมาช่วยให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาประเทศด้านการศึกษายุคแรก ๆ เป็นการใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน ประหยัดแต่ได้ผล เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนที่อยู่ห่างไกล

ปัจจุบัน มีการนำสื่อสังคมออนไลน์มาประยุกต์ใช้เพื่องานด้านการศึกษาทุกระดับอย่างแพร่หลาย เพื่ออำนวยความสะดวก เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลาอย่างไร้ขีดจำกัดทั้งในเรื่องเวลาและสถานที่ มุ่งให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติทักษะต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันเป็นตัวเร่งในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้มากขึ้น การพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อรองรับการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ของหน่วยงาน รวมถึงการผลิตสื่อการสอนออนไลน์ต่าง ๆ โดยจัดการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านโปรแกรมที่นิยมในปัจจุบัน เช่น Microsoft team, Zoom และ Google Meet เป็นต้น ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน (สทร.) ดำเนินการจัดอบรมเพื่อกระตุ้นให้ครูไทยพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการใช้ social media ในการจัดการเรียนรู้

สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทต่อการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย แต่มิได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการจัดการเรียนการสอนของครู ซึ่งการนำมาใช้มีข้อดีและข้อเสีย ดังนั้น ครูจะต้องนำคุณสมบัติต่าง ๆ ของสื่อสังคมออนไลน์ไปปรับใช้กับการเรียนการสอนด้วยตนเอง ซึ่งเครื่องมือที่ สทร. แนะนำให้ครูนำไปปรับใช้ ได้แก่ Facebook ตั้งกลุ่มรายวิชาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล, Word Press สร้างบล็อกเผยแพร่บทเรียน, YouTube แบ่งปันหรือค้นหาไฟล์วีดิโอ, Twitter สื่อสารแบบสั้น ๆ และรวดเร็ว, และ Slide share แบ่งปันเอกสาร เป็นต้น


ที่มา :

  • พันธุ์ทิพา  หอมทิพย์ (2564). สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษา. สารวุฒิสภา, 29(1), 17-20.
  • https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/575975
ผู้จัดทำ :
วลัยรัตน์ ชายท้าว, บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
ศรุดา พรมสิทธิ์, เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
วันที่