สรุปผลการประชุม Public Policy Forum ประเด็นอนาคตประเทศไทยใน 10 มิติ ครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อเรื่อง "อนาคตประเทศไทยในมิติประชากร โครงสร้างสังคม ชนบท และท้องถิ่น: ประเด็นเพื่อพิจารณาสำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ"

สถาบันคลังสมองของชาติ ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย ได้รับการจัดสรรทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2564 ให้ดำเนินงานโครงการ "ประสานงานสนับสนุนทุนวิจัยและผลักดันการใช้ประโยชน์ในกระบวนการนิติบัญญัติและการบริหารราชการแผ่นดิน" ประกอบด้วย 10 ชุดโครงการย่อยของโครงการวิจัยเรื่อง "ประเทศไทยในอนาคต (Future Thailand)" ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดทำร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 โดยมีกำหนดการจัดประชุม Public Policy Forum ประเด็น "อนาคตประเทศไทยใน 10 มิติ" ครั้งที่ 1 ภายใต้ หัวข้อเรื่อง "อนาคตประเทศไทยในมิติประชากร โครงสร้างสังคม ชนบท และท้องถิ่น: ประเด็นเพื่อพิจารณา สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" เมื่อวันพุธที่ 1 ธันวาคม 2564 ผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย โปรแกรม Zoom Meeting 

สรุปหัวข้อสำคัญของการประชุม

1. การนำเสนอรายงานวิจัย เรื่อง อนาคตประเทศไทยในมิติประชากร โครงสร้างสังคม ผลการวิจัยกล่าวถึงประเด็น

  • การคาดการประมาณครัวเรือนประเภทต่าง ๆ ปี 2533-2583
  • การกวาดสัญญาณปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประชากรและโครงสร้างสังคม

การสร้างฉากทัศน์ (Scenario) อนาคตประเทศไทยในมิติประชากร และโครงสร้างสังคมใน 4 มิติ

  • กระจายอำนาจและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสำเร็จ ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลางแต่ครอบครัวปรับตัวรับภัยพิบัติไม่ได้
  • การกระจายอำนาจและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสำเร็จ ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง และครอบครัวปรับตัวรับภัยพิบัติได้ 
  • การกระจายอำนาจและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากไม่สำเร็จ ก้าวไม่พ้นกับดับรายได้ปานกลางและครอบครัวปรับตัวรับภัยพิบัติไม่ได้
  • การกระจายอำนาจและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากไม่สำเร็จ ก้าวไม่พ้นกับดักรายได้ปานกลาง แต่ครอบครัวปรับตัวรับภัยพิบัติได้ 

2. การนำเสนอรายงานการวิจัย เรื่อง อนาคตประเทศไทยในมิติชนบทและท้องถิ่น

ความเป็นพลวัตของสังคม ชนบท ท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 4 ประเภท 

  • ชนบทแบบเกษตรดั้งเดิม
  • ชนบทแบบผสมผสาน 
  • ชนบทกึ่งเมืองกึ่งชนบท 
  • ชนบทที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาพิเศษของรัฐ 

ผลการศึกษาพบว่า ฉากทัศน์สังคม ชนบท ท้องถิ่น ประกอบด้วย

  • สังคมอมทุกข์
  • สังคมปนสุขปนทุกข์
  • สังคมสมดุลยั่งยืน
  • สังคมอุดมสุข 

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. กำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต 

2. การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศจากฐานล่าง 

3. สร้างบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองให้เอื้อต่อการสังคมชนบทที่สมดุลและยั่งยืน

ผู้เข้าร่วม :

นางสาวปิยะวรรณ ปานโต, วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ

วันที่เข้าร่วม :
2564-12-01
ปีที่เข้าร่วม :
2564
แหล่งที่มา :
ความรู้และประสบการณ์จากการอบรม ประชุม และสัมมนา
ผู้เรียบเรียง :
ปิยะวรรณ ปานโต, วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ
แฟ้มข้อมูล :