จดหมายเหตุของรัฐสภาไทย

ผู้เรียบเรียง :
ปัทมพร ทัศนา, วิทยากรปฏิบัติการ กลุ่มงานพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-12
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

คำว่า "จดหมายเหตุ" เป็นคำที่เรามักได้ยินได้ฟังกันมาอย่างยาวนานผ่านทางรายการโทรทัศน์หรือนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อหน่วยงาน องค์กร ซึ่งคำว่าจดหมายเหตุนั้นอาจหมายถึงสิ่งใดก็ได้ที่มีความทรงจำทางประวัติศาสตร์ และมีคุณค่าควรแก่การเก็บรักษา จดหมายเหตุอาจเป็นเอกสารที่เกิดขึ้นตามกระบวนการดำเนินงานตามภารกิจขององค์กร เป็นเอกสารในการทำงานที่สิ้นกระแสหรือไม่ได้ใช้งานแล้วแต่ยังมีคุณค่าอย่างต่อเนื่อง สามารถใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับหน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องกับเอกสารหรือองค์กรเจ้าของเอกสารนั้น ๆ หรืออาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ เช่น ภาพถ่ายแผนที่ และบันทึกต่าง ๆ ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวเป็นความทรงจำที่ควรค่าแก่การเก็บรักษา

คำว่า "จดหมายเหตุ" เป็นคำที่เรามักได้ยินได้ฟังกันมาอย่างยาวนานผ่านทางรายการโทรทัศน์หรือนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อหน่วยงาน องค์กร ซึ่งคำว่าจดหมายเหตุนั้นอาจหมายถึงสิ่งใดก็ได้ที่มีความทรงจำทางประวัติศาสตร์ และมีคุณค่าควรแก่การเก็บรักษา จดหมายเหตุอาจเป็นเอกสารที่เกิดขึ้นตามกระบวนการดำเนินงานตามภารกิจขององค์กร เป็นเอกสารในการทำงานที่สิ้นกระแสหรือไม่ได้ใช้งานแล้วแต่ยังมีคุณค่าอย่างต่อเนื่อง สามารถใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับหน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องกับเอกสารหรือองค์กรเจ้าของเอกสารนั้น ๆ หรืออาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ เช่น ภาพถ่ายแผนที่ และบันทึกต่าง ๆ ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราว เป็นความทรงจำที่ควรค่าแก่การเก็บรักษา

รัฐสภาเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการทางด้านกระบวนการนิติบัญญัติ มีเอกสารมากมายที่เกิดขึ้นในกระบวนการร่งกฎหมาย เอกสารที่สิ้นกระแสการใช้งาน มีคุณค่ควรแก่การเก็บรักษาและ
อนุรักษ์ไว้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า เป็นหลักฐานอ้างอิงทางกฎหมาย และเป็นความทรงจำทางประวัติศาสตร์ทางด้านองค์กรนิติบัญญัติของชาติ เพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษาเอกสารจดหมายเหตุ รัฐสภาจำเป็นต้องมีหน่วยงานภายในผู้รับผิดชอบในการบริหารงานจดหมายเหตุของรัฐสภา เพื่อดูแล รักษา ประเมินคุณค่า สงวนรักษาและให้บริการเอกสารจดหมายเหตุต่าง ๆ จึงได้มีกลุ่มงานจดหมายเหตุขึ้นเป็นครั้งแรกอยู่ในส่วนพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ สังกัดหอสมุดรัฐสภา ตามประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนงานในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2541

ปัจจุบันจดหมายเหตุรัฐสภาอยู่ภายใต้กลุ่มงนพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการ
บริหารงานด้านจดหมายเหตุของรัฐสภาไทย ทำหน้าที่ในการกำหนดระเบียบวิธีการต่าง ๆ ในการดำเนินงานด้านเอกสาร การประเมินคุณค่าเอกสาร ที่ได้รับมอบ รวบรวม จัดเก็บ สงวนรักษาหรือการซ่อมบำรุงเอกสารจดหมายเหตุที่มีการชำรุด เสียหาย และให้บริการเอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภาในรูปแบบต่าง ๆแก่สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการรัฐสภา และบุคคลทั่วไป ผ่านกลุ่มงานข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักบริหารงานกลาง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยเอกสารจดหมายเหตุที่อยู่ภายใต้การดูแลของจดหมายเหตุรัฐสภา ได้แก่ เอกสารที่เกิดขึ้นในกระบวนการดำเนินงานภายใต้ภารกิจในวงงานรัฐสภา เช่นบันทึกการประชุม รายงานการประชุม และเอกสารประกอบการพิจารณาร่างกฎหมายต่าง ๆ รวมทั้งภาพถ่ายสถานที่ บุคคล วิดีโอ หรือโสตทัศนวัสดุต่าง ๆ ที่บ่งบอกเรื่องราวหรือเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐสภาในอดีต เป็นต้น ซึ่งผู้ขอรับบริการสามารถเขียนคำร้องขอรับบริการสืบค้นข้อมูลโดยตรงณ กลุ่มงานพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ หรือขอรับบริการข้อมูลในรูปแบบของสำเนาเอกสาร หรือในรูปแบบของแผ่นซีดี หรือดีวีดี ผ่านกลุ่มงานข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักบริหารงานกลาง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในวันและเวลาราชการ

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา จึงมีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ
ของรัฐสภา ที่ต้องรวบรวม เก็บรักษาเพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในเชิงนิติบัญญัติ รวมทั้งสะท้อนกระบวนการและที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ที่ผ่านการพิจารณาในรัฐสภาของไทย ตลอดจนเป็นแนวทางในการศึกษาในเชิงนิติบัญญัติได้ทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

ภาพปก