สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติที่มีบทบาทหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองกฎหมายและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งนับได้ว่ามีความสำคัญยิ่งต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจึงได้มีการบัญญัติที่มาของสมาชิกวุฒิสภาไว้ในรัฐธรรมนูญทั่วโลก สำหรับประเทศไทยได้บัญญัติที่มาของสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรก ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 โดยใช้คำว่า "พฤฒสภา" ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของราษฎร ยกเว้นในวาระเริ่มแรกตามบทเฉพาะกาลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกพฤตสภา จำนวน 80 คน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี และเมื่อครบ 3 ปี ให้จับสลากออกกึ่งหนึ่ง ซึ่งพฤฒสภาชุดนี้ มีระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ได้เพียง 1 ปี 6 เดือน ก็สิ้นสุดลงเพราะมีการยึดอำนาจการปกครองประเทศ โดยคณะรัฐประหารและได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 ได้เปลี่ยนคำว่า "พฤฒสภา" เป็น "วุฒิสภา"ต่อมาในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2490 ได้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกจำนวน 100 คน เท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบกำหนด 3 ปี ให้มีการเปลี่ยนสมาชิกวุฒิสภาจำนวนกึ่งหนึ่งโดยวิธีจับสลาก ที่สำคัญรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่มาของสมาชิกวุฒิสภาให้มาจากการแต่งตั้งและได้ไช้รูปแบบนี้เรื่อยมาในรัฐธรรมนูญฉบับต่อ ๆ มา ที่ได้บัญญัติให้มีวุฒิสภา จนกระทั่งเมื่อได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งจากประชาชน โดยไม่ต้องมีการหาเสียงและไม่สังกัดพรรคการเมืองซึ่งได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2593 จำนวน 200 คน โดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง จังหวัดใดมีสมาชิกวุฒิสภาได้มากกว่า 1 คน ให้ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับไปจนครบจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่พึ่งมีในจังหวัดนั้น อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้มีการใช้บังคับมาเกือบสิบปี และได้ถูกยกเลิกไป เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับประชามติในปี 2550 ได้ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จึงได้มีการบัญญัติให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรง เปลี่ยนแปลงแก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภาใหม่ โดยให้สมาชิกวุฒิสภามีจำนวน 150 คน มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน ส่วนที่เหลือมาจากการสรรหาบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์จากทุกกลุ่มวิชาชีพ ทั้งนี้ ได้มีความคาดหวังให้สมาชิกวุฒิสภา มีความเป็นกลางทางการเมือง มีอิสระทางความคิดเห็นไม่ถูกการครอบงำจากฝ่ายบริหารโดยมีความเป็นอิสระจากสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้งยังต้องการให้สมาชิกวุฒิสภาได้รับรู้ถึงปัญหาและมีความผูกพันกับท้องถิ่น ซึ่งได้กำหนดคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภาให้มีความเข้มแข็งและไม่ให้เกี่ยวข้องกับการเมืองอันจะทำให้องค์กรวุฒิสภามีความแข็งแกร่งในการทำงานได้อย่างปราศจากการครอบงำ มีประสิทธิภาพและสามารถบรรลุเป้าหมายอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน
สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่มาของสมาชิกวุฒิสภาอีกครั้ง ซึ่งได้กำหนดให้มีจำนวนและที่มาของวุฒิสภาไว้เป็น 2 ช่วงเวลากล่าวคือ ช่วงแรกให้เป็นไปตามบทเฉพาะกาล กำหนดให้มีสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (สช) ถวายคำแนะนำโดยมาจาก 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 เป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยตำแหน่งมีจำนวน 6 คน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 50 คน
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาได้สรรหาจำนวน 194 คน
ทั้งนี้ สมาชิกวุฒิสภาชุดแรกมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี นับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง พร้อมทั้งได้เพิ่มอำนาจหน้าที่ที่สำคัญไว้ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน อาทิ อำนาจหน้าที่ในการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ การจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติให้เสนอและพิจารณาในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และประการสำคัญ คือ การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ส่วนในช่วงที่ 2 เมื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดแรกตามบทเฉพาะกาลพ้นจากตำแหน่งแล้ว ให้วุฒิสภามีจำนวน 200 คน โดยมาจากการเลือกกันเองของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงานหรือเคยทำงานด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายของสังคม โดยการแบ่งกลุ่มให้ประชาชนที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งทุกคนสามารถอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ ซึ่งตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะส่งผลให้การทำหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาลนี้น่าจะทำให้การปฏิรูปเทศมีความต่อเนื่องและมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 หอสมุดรัฐสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เลขที่ 1111 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ : +66(0) 2242 5900 ต่อ 5714, 5715, 5721-22 โทรสาร : +66(0) 2242 5990
อีเมล : library@parliament.go.th