การคุ้มครองเกษตรกรในระบบเกษตรพันธสัญญา

ผู้เรียบเรียง :
สุภัทร คำมุงคุณ, วิทยากรเชี่ยวชาญ กลุ่มงานบริการวิชาการ 2 สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-06
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

ประเทศไทยได้มีการนำระบบกษตรพันธสัญญามาใช้ในกระบวนการผลิตหรือบริการทางการเกษตรอย่างแพร่หลาย แต่ในอดีตที่ผ่านมาพบว่าโครงสร้างของระบบเกษตรพันธสัญญายังขาดความสมดุลและเกิดความไม่เป็นธรรมระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตร โดยเกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมหลายประการ ได้แก่ ความไม่เท่าเทียมในด้านข้อมูล ด้านการรับความเสี่ยง ด้านการแบ่งปันผลประโยชน์รวมถึงด้านการบังคับใช้กฎหมาย หรือปัญหาที่เกิดจากเกษตรกรขาดศักยภาพ ส่งผลให้ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ระบุไว้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อการสร้างความเชื่อมั่น และความร่วมมือในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการผลิตที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งทางธุรกิจของประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้น จึงได้มีการพิจารณาถึงแนวทางในการปฏิรูประบบเกษตรพันธสัญญา โดยกำหนดให้มีการตรากฎหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรม ต่อมาจึงมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และภายหลังได้ประกาศเป็นกฎหมาย โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2560

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560 มีเจตนารมณ์ในการกำหนดหลักเกณฑ์ในการทำสัญญาในระบบเกษตรพันธสัญญา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่สัญญาทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตร รวมทั้งกำหนดกลไกในการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา สำหรับในส่วนที่จะเป็นประโยชน์ต่อความคุ้มครองเกษตรกรนั้น กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรต้องจัดทำเอกสารสำหรับการชี้ชวนและร่างสัญญาให้เกษตรกรทราบเป็นการล่วงหน้า โดยมีรายละเอียดอย่างน้อยตามที่กฎหมายได้ระบุไว้ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนและเข้าทำสัญญา โดยให้ถือว่าเอกสารสำหรับการชี้ชวนเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย หากมีข้อความใดในสัญญาขัดหรือแย้งกับข้อความในเอกสารสำหรับการชี้ชวนก็ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่เกษตรกร ตลอดจนการจัดทำสัญญาต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ โดยผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรต้องส่งมอบสัญญาให้แก่เกษตรกรในวันทำสัญญาด้วยหากสัญญาที่จัดทำขึ้นไม่มีรายละเอียดตามที่กฎหมายได้ระบุไว้ เกษตรกรมีสิทธิเลือกที่จะให้เพิ่มความในสัญญาให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายระบุและให้มีผลใช้บังคับต่อไปได้ หรือจะบอกเลิกสัญญานั้น แต่อย่างไรก็ตาม เกษตรกร สามารถใช้สิทธิดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันทำสัญญาหรือก่อนส่งมอบผลิตผล แล้วแต่ระยะเวลาใดจะสั้นกว่า กรณีที่สัญญามีผลกระทบอย่างสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรไม่ได้จัดทำสัญญาให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาประกาศกำหนด ให้นำความตามแบบที่คณะกรรมการฯ กำหนดมาใช้บังคับแทน และเกษตรกรสามารถที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการหรือการดำเนินการได้

ตลอดจนกฎหมายได้กำหนดให้ช้อตกลงหรือเงื่อนไขในสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือเอาเปรียบคู่สัญญาจะไม่มีผลใช้บังคับ ในกรณีต่าง ( เช่น การบังคับให้เกษตรกรต้องรับมอบสิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการผลิตหรือบริการทางการเกษตรใด ๆ ที่ไม่มีคุณภาพ การยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดชอบของผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรในความชำรุดบกพร่องหรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานของสิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการผลิตหรือบริการทางการเกษตรที่ผู้ประกอบธุรกิจการเกษตรเป็นผู้จัดหามา การจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินหรือสิทธิใด ๆ ของเกษตรกรให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรภายหลังบอกเลิกสัญญาหรือผิดสัญญา การที่เกษตรกรต้องรับผิดในสัญญาแม้เกิดเหตุสุดวิสัยหรือสาธารณภัยอันไม่อาจโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การที่ผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรบอกเลิกสัญญาโดยเกษตรกรไม่ผิดสัญญา และการที่ผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรเปลี่ยนแปลงราคาหรือคำตอบแทนเพียงฝ่ายเดียว เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว กฎหมายได้ห้ามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดระยะเวลาเนื่องจากสภาพของพื้นที่ หรือภาวะตลาดได้เปลี่ยนแปลงไป ยกเว้นได้มีการตกลงกำหนดเงินชดเชยการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายอื่นให้แก่อีกฝ่ายอย่างเป็นธรรม

การกำหนดหลักกณฑ์ในการทำสัญญาห้ชัดจนและเป็นธรมแก่ทั้งสองฝ่ายโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยซึ่งมีอำนาจในการต่อรองน้อยกว่า จะส่งผลให้คู่สัญญาลดข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่หากเมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาขึ้น กฎหมายได้กำหนดให้มีกระบวนการไกล่เกลี่ยก่อน จึงจะมีสิทธินำข้อพิพาทไปสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการหรือนำคดีไปสู่ศาลได้ ซึ่งจะเป็นการลดความขัดแย้งที่เกิดจากการทำสัญญาและลดคำใช้จ่ายให้กับคู่สัญญาในการฟ้องร้องดำเนินคดีในชั้นศาลด้วย ดังนั้น การส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาให้ป็นธรมแก่คู่สัญญาไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร หรือผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตร จะทำให้ทั้งสองฝ่ายเกิดความเชื่อมั่นไว้วางใจและเกิดความร่วมมือ อันจะเป็นผลให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง และได้รับการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการผลิตที่มีมาตรฐาน ตลอดจนเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดจากปัจจัยภายนอก ขณะที่ผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรก็จะได้รับผลผลิตที่มีคุณภาพมาตรฐานตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย

ภาพปก