การปรับปรุงฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการขายอสังหาริมทรัพย์

ผู้เรียบเรียง :
ภูมิพิชญ์ ยาสิทธิ์, วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานบริการวิชาการ 2 สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-07
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

จากการที่รัฐบาลได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่ยังไม่ได้รับการพิจารณา ซึ่งวัตถุประสงค์หลักในการเสนอร่างพระราชบัญญัติคือการปรับปรุงฐานในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ โดยมีค่าตอบแทน ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อให้การคำนวณภาษีเงินได้ มีความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและเกิดความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลธรรมตานั้น จะเสียภาษีเงินได้โดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เป็นฐานในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยม่คำนึงถึงว่ารคที่มีกรซื้อขายกันจริงหรือราคาตลาดจะมีราคาที่สูงกว่าหรือต่ำกว่าราคาประเมินอย่างไร ซึ่งจะทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรไม่เกิดประโยชน์และไม่มีความเป็นธรรม อย่างเช่น ในกรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรโดยบุคคลธรรมดาเป็นผู้ประกอบการ ที่ผู้ประกอบการจะมีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายในการดำเนินการ เพื่อประโยชน์ในการยื่นแบบรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี ซึ่งในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ผู้เสียภาษีสามารถนำต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมดมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตันทุนที่เกี่ยวกับการซื้ออสังหาริมทรัพย์มาเพื่อประกอบการ ซึ่งโดยปกติจะมีการขึ้ ซื้อขายกันในราคาตลาดที่สูงกว่าราคาประเมินที่เจ้าพนักงานที่ดินใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษี จะทำให้รายจ่ายในการคำนวณงินได้สุทธิมีจำนวนที่มากกว่าจำนวนเงินไต้พึงประเมินสุดท้ายแล้วผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และยังจะได้รับคืนภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายคืนไปด้วย เท่ากับว่าผู้ประกอบการซื้อขายอสังหาริมทรัย์นั้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ซึ่งอาจจะไม่เป็นธรรมกับผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มโดยทงมรดก หรือได้มาโดยไม่ได้เป็นทางการค้าหากำไรซึ่งจะไม่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายและจะต้องเสียภาษีเงินได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ดังนั้น จึงต้องมีการปรับปรุงฐานการเสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลธรรมดาใหม่โดยให้ใช้ราคาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามความเป็นจริงหรือราคาประเมินทุนทรัพย์ แล้วแต่ว่าราคาใดจะสูงกว่าใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และในการปรับปรุงฐานภาษีเงินได้นี้ยังจะทำให้เกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้ในการขายอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลธรรมดา มีความสอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีเงินได้ของนิติบุคคลจากการขายอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้มีการจัดเก็บจากราคาที่ซื้อขายกันตามความเป็นจริงหรือราคาประเมิน แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า เป็นฐานในการคำนวณภาษีเงินได้ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้จาการขายอสังหาริมทรัพย์ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดามีหลักกณฑ์เดียวกัน แต่สำหรับในกรณีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีค่ตอบแทน หรือการโอนที่ไม่เป็นการซื้อขาย อย่างเช่น การโอนให้บุตร การโอนทรัพย์สินทางมรดก จะยังใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เป็นฐานในการคำนวณภาษีเงินได้เหมือนเดิม

การปรับปรุงฐานการจัดก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการขายอสังหาริมทรัพย์นี้ มีข้อดีคือจะทำให้รัฐจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น เพราะเป็นการจัดเก็บจากฐานภาษีที่สูงขึ้น โดยจากเดิมที่ได้จัดเก็บภาษีจากราคาประเมินแต่เกณฑ์ใหม่กำหนดให้การคำนวณภาษีเงินได้ในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จากราคาที่ซื้อขายกันจริงหรือจากราคาประเมินแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า และโดยปกติแล้วราคาที่ซื้อขายกันจริงจะสูงกว่าราคาประเมิน ซึ่งจะส่งผลให้การเก็บภาษีเงินได้เข้ารัฐได้มากขึ้น ส่วนข้อเสียนั้น จะเป็นการเพิ่มภาระสร้างความยุ่งยากให้กับเจ้าพนักงานที่ดินที่เป็นผู้ดำเนินการจัดเก็บภาษี ซึ่งจะต้องหาหลักฐานไต่สวนข้อเท็จจริงว่าราคาที่ซื้อขายกันจริงเป็นจำนวนเท่าใดเพื่อนำมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีที่ถูกต้อง และตามหลักเกณฑ์ใหม่นี้อาจเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตในการแจ้งราคาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อให้มีการเสียภาษีเงินได้ที่ต่ำลง

อย่างไรก็ดี ในการปรับปรุงฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานี้ ก็เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีเงินได้ ในกรณีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลธรรมดาให้มีความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และสร้างความเป็นธรรมในการจัดก็บภาษีอากรให้มากขึ้น อันจะเป็นการสร้างฐานรายได้ที่ยั่งยืนของรัฐบาสที่จะต้องนำงินไปพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป

ภาพปก