กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตของประเทศไทย

ผู้เรียบเรียง :
สิริพิชญ์ชนก คุณประเสริฐ, นิติกรชำนาญการ กลุ่มงานบริการวิชาการ 3 สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-02
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

ในสภาวะทางสังคมโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงได้ส่งผลให้ประชาชนที่ปรับตัวไม่ได้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตมากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 เพื่อรองรับสภาพปัญหาดังกล่าวโดยมีสาระสำคัญคือ การนำบุคคลที่มีภาวะอันตรายหรือมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาให้ได้รับการบำบัดรักษา ภาวะอันตรายที่กล่าวถึงคือ อันตรายที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติทางจิตที่แสดงออกมาทางพฤติกรรม อารมณ์ ความคิดหลงผิดหรือพฤติกรรมที่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยทางจิตมีพฤติกรรมอาละวาด ทำร้ายคนรอบข้างผู้ที่พบเห็นสามารถแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ให้ดำเนินการพาบุคคลนั้นไปยังโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานบำบัด เพื่อให้บุคคลผู้นั้นได้เข้ารับการรักษาอาการทางจิตหรือพฤติกรรมผิดปกตินั้นในโรงพยาบาล แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่ยินยอมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลก็ตามกล่าวโดยสรุปคือ พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 เน้นการบังคับรักษาผู้ป่วยทางจิต แม้ผู้ป่วยจะไม่ยินยอมถือเป็นการให้ความคุ้มครองเจ้าพนักงานตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่เอาตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยไม่ถือว่าเป็นการกักขังหน่วงเหนี่ยวแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ได้มีการบังคับใช้มาเป็นเวลานานแล้ว ทำให้บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตยังไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างถูกต้องและเพียงพอ มีการเผยแพร่ข้อมูลทางสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเส็กทรอนิกส์หรียสื่ออื่น ๆ ในทางที่ก่อให้เกิดทัศนคติไม่ดีต่อบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต รวมทั้งขาดกลไกการฟื้นฟูสมรรถภาพให้ผู้ป่วยที่มีอาการทุเลาสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ดังนั้น กระทวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิตจึงได้ยกร่างพระราชบัญญัติสุขภาพจิต (ฉบับที่...) พ.ศ... และได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเมื่อวันที่28 กันยายน 2559 โดยลณะรัฐมนตรีได้มีมติอนมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสุขภาพจิต (ฉบับที่...) พ.ศ...เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2559 และได้เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561 ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติสุขภาพจิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ.....  คือ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 โดยกำหนดเพิ่มเติมบทนิยาม เพิ่มเติมองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ กำหนดสิทธิผู้ป่วยที่จะต้องได้รับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกัน และควบคุมปัจจัยที่คุกคามสุขภาพจิต กำหนดให้เจ้าหน้าที่จากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเป็นผู้ช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ กำหนดให้คณะกรรมการสถานบำบัดมีอำนาจให้ความยินยอมในการบำบัตรักษาทางกายแทนผู้ป่วย รวมทั้งกำหนดให้คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติจัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพจิต การป้องกันและควบคุมปัจจัยที่คุกคามสุขภาพจิตแบบมีส่วนร่วม โดยเชื่อมโยงและประสานสอดคล้องกันทั้งระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น และมีมาตรการที่สำคัญในการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น เช่น การกำหนดให้การเผยแพร่ข้อมูลใด 1 ในสื่อทุกประเภทต้องไม่ทำให้เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ หรือความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของผู้ป่วยและครอบครัว โดยให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมสุขภาพจิตในการมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้เผยแพร่ดำเนินการแก้ไขหากผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวจะได้รับโทษทางอาญา เป็นต้น

ภาพปก