กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ผู้เรียบเรียง :
นารีลักษณ์ ศิริวรรณ, วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-09
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบตอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพจำเป็นต้องอาศัยความรู้และความก้าวหน้าในการวิจัยและนวัตกรรมที่ต้องมีการสร้งและสะสมองค์ความรู้ให้ทันสมัยตลอดเวลาเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ให้ก้าวพ้นจาก "กับดับรายได้ปานกลาง" หรือจุดที่ประเทศพัฒนาเศรษฐกิจจากรายได้น้อยมาสู่ระดับที่มีรายได้มากขึ้น แต่ยังไม่สามารถยกระดับเศรษฐกิจเข้าสู่ประเทศที่มีรายได้สูง เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้หรือฐานะและแก้ปัญหาการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนด้วยรูปแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ด้านการวิจัยและนวัตกรรม หรือที่เรียกในปัจจุบันว่า "ประเทศไทย 4.0" (Thailand 4.0) กล่าวคือ
1) การผลักดันสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม 
2) การขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์  
3) การเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่ภาคบริการมากขึ้น ทั้งนี้ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเกิดจากความสามารถในการแข่งขันของประเทศซึ่งมาจากการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการในฐานะหน่วยงานซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนโครงสร้างและระบบราชการ ตลอดจนงานของรัฐอย่างอื่น จึงเห็นความจำเป็นในการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ส่งร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ..ศ.... พร้อมกับร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม (ฉบับที่...) พ.ศ. ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการฯ มีความเห็นว่ากระทรวงที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ควรใช้ชื่อว่า "กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม" ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา โดยปรับเปลี่ยนโครงสร้างของการอุดมศึกษาให้มีเอกภาพเกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม(ฉบับที่..) พ.ศ. จัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในวันที่ 1 มีนาคม 2562 และประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 2พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เจตนารมณ์ของการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คือ เพื่อปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยการยกเลิกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีและสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และกำหนดโครงสร้างกระทรวงใหม่ โดยรวมหลายหน่วยงาน เข้าด้วยกัน เพื่อให้มีพลังมากขึ้น (Synergy) เกิดการแลกเปลี่ยนบุคลากรอย่างคล่องตัว (Mobility) ที่เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมกัน โดยมีเป้าหมายในการสร้างนวัตกรรมให้แก่ประเทศ (Innovation) ประกอบด้วย ส่วนราชการในสังกัด ได้แก่ สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวงกรมวิทยาศาสตร์บริการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายในการปฏิรูป 3 เรื่องสำคัญ คือ 
1) ปฏิรูประบบราชการเพื่อให้มีการบูรณาการทำงานด้านวิจัยและการสร้างบุคลากร 
2) ปฏิรูปกฎระเบียบเพื่อผลักดันให้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมสามารถสร้างประโยชน์ต่อทั้งเศรษฐกิจ สังคมและชุมชน 
3) ปฏิรูประบบงบประมาณโดยปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทางงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล สำหรับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงฯ มีดังนี้

   (1) ส่งเสริมสนับสนุนและกำกับดูแลอุดศึกษาให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมีความเป็นอิสระทางวิชาการและบริหารจัดการให้มีการพัฒนากำลังคนสอดคล้องกับความต้องการของ   ประเทศ และให้ดำเนินการวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์และสหวิทยาการ 
   (2) ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลการวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรมของสถาบันอุตมศึกษาและหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่อยู่ในสังกัดกระทรวงหรือกำกับดูแลของ
 รัฐมนตรี รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่อยู่นอกกระทรวงเพื่อให้เกิดความร่วมมือ และดำเนินการไปในทิศทางที่มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับนโยบาย     ยุทธศาสตร์และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ 
   (3) จัดให้มีระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือเพื่อผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทาง และความร่วม มือต้านการวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรมกับหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบุคคลหรือหน่วยงานในต่างประเทศ 
   (4) ปฏิบัติการอื่นที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของกระทรวง

อย่างไรก็ตาม ประเด็นท้าทายที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต้องเตรียมการรองรับภารกิจงานใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และงบประมาณของหน่วยงานภายในสังกัดกระทรวงฯ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ กล่าวคือ การสร้างระบบงานอย่างมีเอกภาพระหว่างอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาบุคลากรภาคการอุดมศึกษา บูรณากรผลงานวิจัยและองค์ความรู้ไปสู่ผู้ใช้ประโยชน์ จัดสรรทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพ คุ้มค่าและไม่ซ้ำซ้อน สามารถพัฒนาและแก้ไขปัญหาของสังคมและประเทศอย่างยั่งยืน

ภาพปก