National e-Payment : โครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ

ผู้เรียบเรียง :
พิมพ์ธัญญา ฆ้องเสนาะ, วิทยากรปฏิบัติการ กลุ่มงานบริการวิชาการ 2 สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-08
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

National e-Payment หรือ โครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติเป็นโครงการที่ภาครัฐผลักดันเพื่อให้ประเทศไทยมีระบบรองรับการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) อย่างครบวงจร ภายใต้แนวคิด "ว่องไว้ มั่นใจ ใช่เลย" เริ่มดำเนินการอย่างชัดเจนในปี 2558 เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่ว โดย National e-Payment กำหนดให้มีการดำเนินโครงการที่สำคัญ ได้แก่

โครงการที่ 1 ระบบการชำระเงินแบบ Any ID หรือระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) เป็นโครงการพัฒนระบบการชำระเงินของประเทศไทยให้สามารถรองรับการโอนเงินระหว่างธนาคารโดยใช้หมายเลขหรือรหัสใด ๆ ที่กำหนดในการระบุผู้รับโอน เช่น หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ เลขประจำตัวประชาชนเลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet ID หรืออีเมลแอดเดรส (e-mail address)ในการลงทะเบียนผ่านสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการชำระเงินเพื่อผูกกับบัญชีธนาคารหรือหมายเลขกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยในระยะแรกจะเริ่มจากการใช้หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่และเลขที่ บัตรประจำตัวประชาชนซึ่งเป็นการช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวกมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นพื้นฐานของบริการทางการเงินต่าง ๆ ในอนาคต

โครงการที่ 2 การขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต เป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานและการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถข้าถึงการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ได้เป็นวงกว้างขึ้น โดยการทำให้ต้นทุนการชำระเงินด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ลลง ทั้งในส่วนของการปรับลดค่าธรรมเนียม และเพิ่มการกระจายอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิล็กทรอนิกส์ให้แพร่หลายมากขึ้น โดยประชาชนจะสามารถใช้จ่ายผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ได้แม้ว่าจะเป็นการชำระเงินมูลค่าต่ำ เนื่องจากร้านค้าหรือหน่วยงานที่ติดตั้งเครื่องรับชำระเงินจะมีค่าใช้จ่ายด้านค่าธรรมเนียมที่ถูกลง การขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์และการขยายอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงช่วยสนับสนุนให้ประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐ สามารถเข้าถึงและใช้บริการชำระเงินได้อย่างแพร่หลาย มีความสะดวก และปลอดภัย

โครงการที่ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการพัฒนาการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e- Receipt) เพื่ออำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนในการจัดทำใบกำกับภาษี รวมทั้งการนำส่งรายงานการทำธุรกรรมทางการเงินและการนำส่งภาษีเมื่อมีการชำระเงินผ่านระบบ e Payment ซึ่งจะช่วยลดต้นทุน ระยะเวลา และขั้นตอนของภาคเอกชนในการจัดทำเอกสารและการชำระภาษี

โครงการที่ 4 โครงการ e-Payment ภาครัฐ เป็นการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคมและพัฒนาระบบการรับจ่ายเงินภาครัฐทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการส่งเสริมการรับจ่ายเงินของหน่วยงานภาครัฐทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมให้มีฐานข้อมูลกลางเกี่ยวกับสวัสดิการของภาครัฐ ควบคู่กับการจ่ายเงินให้แก่ประชาชนโดยตรงผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งให้สถาบันการเงินเป็นช่องทางการจ่ายเงินและเก็บข้อมูลจากประชาชน ซึ่งจะช่วยให้สามารถจ่ายเงินช่วยเหลือและเงินสวัสดิการให้แก่ประชาชนได้ตรงกลุ่มเป้าหมายลดความผิดพลาด ลดความซ้ำซ้อน และลดโอกาสการทุจริตจากการจ่ายเงินด้วยเงินสดและเช็ค ด้วยการลงทะเบียนประชาชนผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อรับสวัสดิการผ่านสถาบันการเงินโครงการ e- Payment ภาครัฐ ประกอบด้วย โครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการรับจ่ายเงินภาครัฐทางอิเล็กทรอนิกส์

โครงการที่ 5 การให้ความรู้และส่งเสริมการใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และส่งเสริมการใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งการสนับสนุนหรือกำหนดมาตรการจูงใจให้ประชาชนหน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้บริกรระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบใหม่มากขึ้น โครงการที่ 5 การให้ความรู้และส่งเสริมการใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และส่งเสริมการใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งการสนับสนุ นหรือกำหนดมาตรการจูงใจให้ประชาชนหน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้บริการระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบใหม่มากขึ้น

National e- Payment จึงเป็นโครงการที่ช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของไทย และเป็นการอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกรรมทางการเงินและกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่เหมาะสม สะดวก และปลอดภัย นอกจากนี้ยังช่วยยกระดับศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตลอดจนเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล(Digital Economy) อันเป็นการก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อทุกภาคส่วน

ภาพปก