ในอดีต เมื่อเกิดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในการก่อสร้างภาครัฐ ภาครัฐไทยจะใช้วิธีดำเนินการโดยการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการก่อสร้างภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ซึ่งในความเป็นจริงวิธีการตรวจสอบเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการสกัดหรือลดการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการก่อสร้างภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาครัฐไทยจึงได้นำระบu Construction Sector Transparency : CoST ซึ่งเป็นเครื่องมือการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐ ซึ่งในระดับสากลมีการวางระบบให้มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3 ฝ่าย คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เข้ามาร่วมในกระบวนการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ของภาครัฐสู่สาธารณชนในทุก ๆ ระยะสำคัญของการดำเนินงานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ าปรับใช้ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐไทย ในชื่อว่า"โครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภ าครัฐ" โดยดำเนินการตามสภาพและเงื่อนไขของประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในการก่อสร้างภาครัฐ และวางหลักการให้มีการเปิดเผยข้อมูล รวมทั้งมีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในโครงการก่อสร้างภาครัฐ ดังนี้
1. การแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST Committee) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากทุกภาคส่วนเพื่อทำหน้าที่เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของประเทศไทยจากภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จำนวน 15 คน มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากำหนดแนวทางปฏิบัติและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลและกลไกอื่นในการเสริมสร้างความโปร่งใสในการก่อสร้างของหน่วยงานภาครัฐ
2. หลักการกรอบแนวทางการดำเนินงานโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ
1) การพิจารณาคัดเลือกโครงการ ประกอบด้วย
(1) เป็นโครงการก่อสร้างที่มีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อสาธารณชนในวงกว้าง
(2) เป็นโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
(3) เป็นโครงการก่อสร้างที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป
2) การเปิดเผยข้อมูลโครงการ หน่วยงานเจ้าของโครงการที่เข้าร่วมจะต้องเปิดเผยข้อมูลตลอดระยะเวลาโครงการ โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
(1) การเปิดเผยข้อมูลโครงการต่อสาธารณะหรือข้อมูลเชิงรุก (Proactive Disclosure) (แบบไม่ต้องมีการร้องขอ) ตั้งแต่กระบวนการจัดทำและนำเสนอโครงการ การเตรียมพร้อมของโครงกร การจัดซื้อจัดจ้าง การดำเนินการโครงการ และหลังเสร็จสิ้นโครงการและ
(2) การเปิดเผยข้อมูลเมื่อมีการร้องขอหรือข้อมูลเชิงรับ (Reactive Disclosure) (แบบมีการร้องขอ)เป็นข้อมูลที่หน่วยงานเจ้าของโครงการจะเปิดเผยเมื่อมีการร้องขอ โดยแบ่งออกเป็นรายละเอียดของโครงการ (Project Information) และรายละเอียดของสัญญา (Contract Information)
3) ช่องทางการเปิดเผยข้อมูล สำหรับช่องทางการเปิดเผยข้อมูลของส่วนราชการให้เปิดเผยผ่านทางเว็บไชต์ของกรมบัญชีกลาง ในส่วนของรัฐวิสาหกิจให้เปิดเผยผ่านทางเว็บไซต์ของแต่ละหน่วยงานโดยจะมีการเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง และในอนาคตจะมีการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อเปิดเผยข้อมูลโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐไว้ที่เว็บไชต์เดียวกัน
4) มีคณะทำงานตรวจสอบข้อมูล (Assurance Team) เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลที่หน่วยงานเจ้าของโครงการเปิดเผย และแปลข้อมูลให้อยู่ในรูปของภาษาที่เข้าใจง่าย
5) การประเมินผล เพื่อติดตามประเมินสภาพปัจจุบัน (Current Level) ของการเปิดเผยข้อมูลโครงการก่อสร้างภาครัฐในด้านต่าง ๆ ต้องกระทำเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการประเมินความเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการของความโปร่งใสที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ใช้โครงการความโปร่งใสกับการก่อสร้างภาครัฐ
ทั้งนี้ การนำโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐมาใชกับการก่อสร้างของภาครัฐไทยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณให้มีความคุ้มค่ และยกระดับความโปร่งใสในโครงการก่อสร้างภาครัฐของประเทศ รวมถึงเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชนที่จะเข้าร่วมเสนองานโครงการก่อสร้างภาครัฐว่ามีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 หอสมุดรัฐสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เลขที่ 1111 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ : +66(0) 2242 5900 ต่อ 5714, 5715, 5721-22 โทรสาร : +66(0) 2242 5990
อีเมล : library@parliament.go.th