พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562

ผู้เรียบเรียง :
วิลาสิณี ฉายรัตน์ตระกูล, วิทยากรชำนาญการ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-06
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

ระบบสุขภาพของประเทศทยในปัจจุบัน ประกอบด้วย 3 ระบบย่อย ได้แก่ 
1) ระบบสุขภาพปฐมภูมิ คือ ระบบสุขภาพที่ใกล้ชิดกับประชาชนและชุมชนมากที่สุด กล่าวคือ การดูแลสุขภาพแต่แรกเริ่มแบบองค์รวม ผสมผสาน ต่อเนื่อง ทั้งเชิงรับและเชิงรุกในชุมชน รวมทั้งระบบส่งต่อ 
2) ระบบสุขภาพทุติยภูมิ คือ ระบบการจัดบริการที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลสำหรับโรคหรือปัญหาสุขภาพที่ไม่ซับซ้อนมาก 
3) ระบบสุขภาพตติยภูมิ คือ ระบบการจัดบริการที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เช่น โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย สำหรับโรคหรือปัญหาสุขภาพที่มีความชับซ้อนมากและจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา

โดยระบบสุขภาพปฐมภูมิเป็นระบบสุขภาพพื้นฐานที่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นระบบสุขภาพที่ดูแลประชากรส่วนใหญ่ของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและมีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับระบบสุขภาพทุติยภูมิและตติยภูมิ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าที่ผ่านมา ภาครัฐได้พยายามมุ่งเน้นในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิมาโดยตลอด แต่กลับไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังพบสภาพปัญหาการขาดกลไกและวิธีการในการบริหารจัดการและสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิที่เป็นเอกภาพ ขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 47 วรรคหนึ่ง กำหนดให้บุคคลมีสิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ มาตรา 55 กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพและทั่วถึง และมาตรา 258 ช. (5) กำหนดให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องออกกฎหมายใหม่ เนื่องจากกฎหมายที่มีอยู่เดิมไม่สนองตอบต่อระบบสุขภาพปฐมภูมิ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 มาตรา 258 ช. (5) ทั้งนี้ เพื่อทำให้ระบบสุขภาพปฐมภูมิของประเทศ มีความเข้มแข็งมากขึ้น และสามารถดูแลประชาชนให้มีสุขภาพแข็งแรง ลการเจ็บป่วยที่ป้องกันได้ ลดภาวะแทรกซ้อน ลดการนอนและเวลานอนในโรงพยาบาล ประชาชนและชุมชนพึ่งพาตนเองได้ โดยท้ายที่สุด จะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศลดลงได้ในระยะยาว ซึ่งกฎหมายฉบับดังกล่าว คือ พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562

พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 มีสาระสำคัญ คือ 
1) ระบบสุขภาพปฐมภูมิ หมายถึง กลไกและกระบวนการในการประสานความร่วมมือเพื่อจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน       และภาคประชาชน รวมทั้งการส่งต่อผู้รับบริการและการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยบริการทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ 
2) เนื้อหาประกอบด้วย 6 หมวดได้แก่ 
    หมวด 1 คณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ 
    หมวด 2 การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ 
    หมวด 3 การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ 
    หมวด 4 การส่งเสริมและพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ 
    หมวด 5 พนักงานเจ้าหน้าที่ 
    หมวด 6 บทกำหนดโทษ
3)กำหนดให้มีคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ ทำหน้าที่กำกับดูแลเชิงนโยบาย ควบคู่กับกำหนหลักเกณฑ์การให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ และกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติตามนโยบายยุทธศาสตร์/แผน รวมทั้งพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบสุขภาพปฐมภูมิ และจัดให้มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิในจำนวนเหมาะสม 
4) กำหนดให้บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิและการรักษาพยาบาลตามกฎหมา
5) กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ และร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อจัดทำบัญชีรายชื่อผู้รับบริการในเขตพื้นที่ของหน่วยบริการ รวมทั้งจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ () ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องส่งผู้รับบริการให้หน่วยบริการอื่น ๆ กำหนดให้มีระบข้อมูลด้านสุขภาพเพื่อประโยชน์ในการส่งต่อผู้รับบริการ และ 7) กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการตรวจสอบสถานที่หน่วยบริการ ตลอดจนกำหนดโทษในกรณีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการหรืเจ้าหน้าที่ โดยให้เป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบปรับได้

ทั้งนี้ ภาครัฐมีความมุ่งหวังว่าหากมีการดำเนินการตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 อย่างเป็นรูปธรรม ประชาชนจะได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีมาตรฐานและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิ 
อันเป็นการสร้างความเป็นธรรมและความมั่นคงด้านสุขภาพให้เกิดขึ้นในสังคมและประเทศ

ภาพปก