ประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีชนิดพันธุ์ของสัตว์และพืชเป็นจำนวนมาก หากจะกล่าวถึงการคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นการเฉพาะ ประเทศไทยมีกฎหมายที่คุ้มครองสัตว์ป่ามาตั้งแต่ พ.ศ. 2443 แม้จะเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองช้างป่าเพียงชนิดเดียว แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการตระหนักถึงคุณค่และความสำคัญของสัตว์ป่า เห็นได้จากการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของแต่ละยุคสมัยมาตามลำดับ อย่างไรก็ดี ในสถานการณ์ปัจจุบันพบว่ายังมีการล่าสัตว์ป่าสงวนและสัตว์บำาคุ้มครองเพื่อใช้เป็นอาหารหรือเพื่อนำสัตว์ป่นั้นมาขาย สร้างรายได้ให้แก่ผู้ล่าจำนวนมาก เนื่องจากเป็นที่นิยมของคนบางกลุ่มที่สะสมสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง จึงทำให้ราคาของซากสัตว์ป่านั้นสูงขึ้น ซึ่งมีผลกระทบต่อจำนวนสัตว์ป่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติทำให้สัตว์ป่ามีจำนวนลดลงและบางชนิดใกล้จะสูญพันธุ์ อีกทั้งมีการลักลอบล่าสัตว์ป่าเพื่อนำมาขายให้แก่ผู้ที่ต้องการหรือนำส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ประกอบกับเจ้าพนักงานที่ดูแลรักษาพื้นที่ในเขตอนุรักษ์มีจำนวนน้อยจึงไม่สามารถลาดตระเวนหรือป้องกันการลักลอบล่าสัตว์ป่าได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
ด้วยเหตุผลดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.... ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 เพื่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยมีหลักการและเหตุผล คือ โดยที่พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ทำให้บทบัญญัติบางประการและมาตรการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในกฎหมายไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่จะใช้เป็นเครื่องมือหรือเอื้ออำนวยต่อการสงวน อนุรักษ์ คุ้มครอง ดูแลรักษา ฟื้นฟูสัตว์ป่าและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกในช้อตกลงระหว่างประเทศด้านสัตว์ป่าและพืชป่าซึ่งมีผลทำให้ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศดังกล่าว เพื่อจัดให้มีมาตรการในการควบคุมการครอบครอง การค้า การนำเข้าส่งออก หรือนำผ่านซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่า ตลอดจนการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 โดยกำหนดให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2562
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 121 มาตรา แบ่งเป็น 9 หมวด คือ
หมวด 1 สัตว์ป่า
หมวด 2 สวนสัตว์
หมวด 3 คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
หมวด 4 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
หมวด 5 เงินค่าบริการหรือเงินค่ตอบแทน
หมวด 6 เขตห้ามล่าสัตว์ป่า
หมวด 7 การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ
หมวด 8 การควบคุมพนักงานและเจ้าหน้าที่
หมวด 9 บทกำหนดโทษ
และบทเฉพาะกาล นอกจากนี้ ยังมีอัตราค่าธรรมเนียม รวมถึงบัญชีสัตว์ป่าสงวนแนบท้ายพระราชบัญญัติ จำนวน 19 ชนิด ได้แก่
1) กลุ่มสัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คือ กระชู กวางผา กูปรีหรือโคไพร เก้งหม้อควายปั พะยูนหรือหมูน้ำ แมวลายหินอ่อน แรด ละองหรือละมั่ง เลียงผาหรือเยืองหรือกูรำหรือโครำวาฬบรูด้า วาฬโอมูระ สมเสร็จ สมันหรือเนื้อสมัน
2) สัตว์ป่าจำพวกนก คือ นกกระเรียน นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรนกแต้วแล้วท้องดำ
3) สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน คือ เต่ามะเฟือง
4) สัตว์ป่าจำพวกปลา คือปลาฉลามวาฬ
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ การกำหนดสัตว์ป่าเป็น 5 ประเภท ได้แก่ สัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าควบคุม และสัตว์ป่าอันตราย อีกทั้งได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองสัตว์ป่ การครอบครองสัตว์ป่า การนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่งสัตว์ป่า และด่านตรวจสัตว์ป่า การดำเนินกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป้า และการค้าสัตว์ป่า การดำเนินการต่อสัตว์ป่าอันตราย กำหนดหลักเกณฑ์การประกอบกิจการสวนสัตว์ นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดให้มี "คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า" ทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบการกำหนดพื้นที่เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่สัตว์ป่าเสนอแนะนโยบายและมาตรการในการอนุรักษ์สัตว์บำและทรัพยากรธรรมชาติ ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการออกกฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ กำหนดให้มีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอาจจัดทำโครงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติได้ และสามารถเก็บค่าบริการหรือค่ตอบแทนสำหรับการให้บริการในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่สัตว์ป่าเพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟู และบำรุงรักษา และรักษาไว้ซึ่งแหล่งที่อยู่อาศัยหรือแหล่งหากินของสัตว์ป่าหรือเพื่อการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสัตว์ป่า รวมถึงกำหนดเพิ่มโทษในการล่และการค้าสัตว์ป่า โดยผู้ล่าและค้าสัตว์ป่าคุ้มครองจะมีโทษจำคุกไม่เกินสิบปี ปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ล่าและค้าสัตว์ป่าสงวนจะมีโทษจำคุกตั้งแต่สามถึงสิบห้าปี ปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 นับได้ว่าเป็นกฎหมายที่มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า โดยได้นำแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ หรือความหลากหลายทางชีวภาพ ภายใต้แผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า รวมถึงแผนแม่บทการบริหารจัดการการอนุรักษ์สัตว์ป่าและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ปำา อันเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและทำให้เกิดประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุล ร่วมถึงการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาวิจัยทางวิชาการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่า การเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่า หรือแหล่งศึกษาธรรมชาติของประชาชน ควบคู่ไปกับกรสงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบำรุงรักษาไว้ซึ่งพื้นที่อันสมบูรณด้วยสัตว์ป่า ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศที่เหมาะสมแก่การเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างสมดุลและยั่งยืน
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 หอสมุดรัฐสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เลขที่ 1111 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ : +66(0) 2242 5900 ต่อ 5714, 5715, 5721-22 โทรสาร : +66(0) 2242 5990
อีเมล : library@parliament.go.th