ประเทศไทยกับบทบาทประธานอาเซียนในปี 2562

ผู้เรียบเรียง :
ยอดชาย วิถีพานิช, วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานบริการวิชาการ 1 สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-07
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

เมื่อเอ่ยถึงอาเซียน เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมา และกัมพูชา โดยมีการกำหนดให้ตำแหน่งประธานอาซียนจะมีการหมุนเวียนกันไปในแต่ละปี ส่วนตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนมีวาระการดำรงตำแหนงคราวละ 5 ปี ซึ่งในปี 2562 ประเทศไทยได้เป็นประธานอาเซียน โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้รับมอบตำแหน่งประธานอาเซียนจากนายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐสิงคโปร์ ประธานอาเซียน เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ในช่วงสิ้นสุดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 33 ที่สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยประเทศไทยได้รับหน้าที่เป็นประธานอาเซียนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ส่วนตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบันนั้น สำนักงานเลขาธิการอาเซียนได้จัดพิธีส่งมอบตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนให้กับนายดาต๊ะ ปาดูกา ลิม จ๊อก ฮอย สัญชาติบรูไน ต่อจากนายเล เลือง มินห์ สัญชาติเวียดนาม สำหรับประเทศไทยมีผู้ที่เคยได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนมาแล้ว 2 คน คนแรก คือ ดร. แผน วรรณมธี ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 ถึง วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 และคนที่สองคือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ถึง
วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ในการเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทยครั้งนี้ ได้มีการประกาศแนวคิดหลัก คือ "Advancing Partnership for Sustainability" หรือ "ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน" ซึ่งแต่ละคำมีความหมายที่โยงถึงยุทธศาสตร์ของไทยในการดำรงตำแหน่งประธานอาเชียน และบ่งบอกถึงทิศทางการขับเคลื่อนอาเซียนที่สำคัญ คือ ความยั่งยืน ความเชื่อมโยง และการมองไปสู่อนาคต ซึ่งหมายถึงการที่อาเซียนจะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในทุกภาคส่วนบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันทั้งภาคีภายนอกภูมิภาคและประชาคมโลก เพื่อก้าวไปช้างหน้าด้วยกัน มุ่งสู่อนาคตที่มีความยั่งยืนในทุกมิติ อันจะนำมาชื่งความกินดีอยู่ดีและสันติสุขของประชาชนในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ ประเทศไทยยังได้เปิดตัวตราสัญลักษณ์ของการเป็นประธานอาเซียน ซึ่งมีลักษณะเป็นรูป "พวงมาลัย" ซึ่งมาจากแนวคิดที่ว่า คนไทยนิยมใช้พวงมาลัยในงานมงคล เป็นสัญลักษณ์ของการต้อนรับและให้เกียรติผู้มาเยือน และ "ดอกไม้" ซึ่งนำมาร้อยเรียงเป็นพวงมาลัย สื่อถึงประชาชนของประชาคมอาเชียนที่มีความร่วมมือกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวกัน ส่วน "อุบะมาลัย " เป็นตัวแทนของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ สัญลักษณ์ดังกล่าวเมื่อมองจากด้านล่างขึ้นด้านบน จะเห็นเป็นรูปลูกศรที่พุ่งทะยานขึ้น สะท้อนถึงความร่วมมือเพื่อชับเคลื่อนอาเซียนให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง

เมื่อพิจารณาถึงโอกาสที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเป็นประธานอาเชียนทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะด้านการเมืองและความมั่นคง ประเทศไทยและประเทศในอาเชียนจะได้เตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาค ตลอดจนเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการก่อการร้ายอาชญากรรมข้ามชาติ และภัยคุกคามทางไชเบอร์ เช่น การเปิดศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงและปลอดภัยไซเบอร์ในประเทศทย รวมถึงเสริมสร้งขีดความสามารถในการดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน การส่งเสริมความร่วมมือด้านการบริหารจัดการชายแดนในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือทางทะเลในเชิงสร้างสรรค์และมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ส่งเสริมความร่วมมือด้านการทหารและการทูตทางการทหาร การเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อความมั่นคงที่ยั่งยืนในอาเซียนและภูมิภาค ส่งเสริมบทบาทของศูนย์แพทย์ทหารอาเซียนในภูมิภาค เป็นต้น

ทั้งนี้ กำหนดการกิจกรรมตลอดทั้งปีในการทำหน้าที่เป็นประธานอาเซียนของประเทศไทยนั้นจะมีการจัดประชุมกว่า 180 ครั้ง ทั่วประเท ตั้งแต่ระดับคณะทำงานไปจนถึงระดับผู้นำ โดยระดับผู้นำ
จะจัดขึ้น 2 ครั้ง รอบแรกเป็นการประชุมระหว่างผู้นำทั้ง 10 ประเทศ ซึ่งกำหนดไว้ในเดือนมิถุนายนส่วนกำหนดการประชุมผู้นำอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียนิวซีแลนด์ และอินเดีย รวมถึงประเทศที่นายกรัฐมนตรีได้เชิญไว้ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนีนั้น จะจัดขึ้นในช่วงปลายปี ประมาณเดือนพฤศจิกายน แต่ระหว่างนั้นก็จะมีการประชุมย่อยต่อเนื่องตลอดทั้งปีในระดับรัฐมนตรี เช่น การประชุมระดับรัฐมนตรีที่ดูแลในเรื่องขยะทะเลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562

ในวาระที่ประเทศไทยได้รับเกียรติห้เป็นประธานอาเซียนใน พ.ศ. 2562 คนไทยทุกคนควรเข้าใจและเชื่อมั่นในการเป็นประชาคมอาเซียน ทั้งในความหมาย ประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับ และทิศทางในอนาคตการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนและมุ่งมั่นที่จะทำให้อาเซียนพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ ๆ และมีการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ และสิ่งสำคัญคือมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้อาเซียนรักษาบทบาทนำในการขับเคลื่อนความเจริญก้าวหน้าของภูมิภาค คนไทยทุกคนต้องร่วมใจกันเป็นเจ้าภาพที่ดีในช่วงการประชุม ต้อนรับคณะผู้แทนที่จะมาประชุมตลอดทั้งปี โดยบทบาทของประเทศไทยในฐานะประธานอาเชียนก็คือ มีหน้าที่เป็นประธานประสานผลประโยชน์ของฝั่งอาเซียนและประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกกับประเทศที่เราติดต่อหรือมีความสัมพันธ์ด้วย เพื่อให้ความร่วมมือนั้นมีความก้าวหน้า มีความต่อเนื่องและควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้การเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ด้วย

ภาพปก