ระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

ผู้เรียบเรียง :
ปรียวรรณ สุวรรณสูนย์, วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-06
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) เป็นความร่วมมือของกลุ่มประเทศซึ่งตั้งอยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (มณฑลยูนนาน) ตั้งแต่ ค.ศ. 1992 โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: AD8) เป็นผู้สนับสนุนหลัก มีวัตถุประสงค์หลักคือการส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตร และบริการสนับสนุนการจ้างงาน และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ส่งสริมและพัฒนาความร่วมมือทางเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน ตลอดจนใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจในการค้าโลก ต่อมาประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคนี้มีแนวคิดจัดตั้งระเบียงเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ( Greater Mekong Subregion Economic Corridors) ผ่านกลยุทธ์หลัก 3 ด้าน คือ สนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงระหว่างกัน (Connectivity) เพื่อให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) โดยการรวมกลุ่มกันในอนุภูมิภาค (Community) ซึ่งได้มีการประชุมและเจรจาหารือระหว่างผู้นำและรัฐบาลของประเทศในกลุ่ม GMS เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือ รวมถึงแผนงานและยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ในการพัฒนาเศรษฐกิจ

แนวคิดการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจมีขึ้นเพื่อสร้างความเชื่อมโยงของการขนส่งและกฎระเบียบที่เอื้ออำนวยให้เกิดการลงทุน เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือวัตถุดิบได้อย่างรวดเร็ว และประชาชนสามารถเดินทางไปมาระหว่างประเทศในกลุ่ม GMS ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมาย ดังกล่าวได้ ต้องเกิดจากการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางด้านโครงสร้งพื้นฐานต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างถนนสะพานข้ามแม่น้ำ ที่สำคัญคือต้องเกิดจากความเชื่อโยงทางด้านระบบและกระบวนการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ดังนั้น การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจจึงจำเป็นต้องอาศัยความตกลงหรือความร่วมมือระหว่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ข้อตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross Border Transport Agreement: CBTA) เพื่อลดความยุ่งยากทางด้านเอกสารและขั้นตอนพิธีศุลกากรซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการขนส่ง อันส่งผลให้ภาระต้นทุนการขนส่งในอนุภูมิภาคลดลง เป็นต้น

ระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมีสาขาความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ได้แก่ คมนาคมขนส่งโทรคมนาคม พลังงาน การค้า การลงทุน การเกษตร สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  โดยความร่วมมือดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานความคิดที่ต้องการพัฒนาระบบตลาดของประเทศในกลุ่ม GMS ลดความยากจนและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้เป้าหมายการเพิ่มศักยภาพในการขนส่งสินค้าในลุ่มแม่น้ำโขง ปัจจุบันระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงแบ่งออกเป็น 3 แนวพื้นที่ ดังนี้

ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East West Economic Corridor: EWEC) มีวัตถุประสงค์ เพื่อเชื่อมโยงตลาดในกลุ่มประเทศ GMS ให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาธุรกิจ และอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง ช่วยลดต้นทุน และย่นระยะเวลาในการขนส่ง เส้นทางสายเศรษฐกิจนี้มีระยะทาง 1,450 กิโลเมตร เชื่อมโยงสี่ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว พม่า และเวียดนาม โดยมีจุดเชื่อมโยงสำคัญต่าง ๆ อาทิ เมืองมะละแหม่ง และเมืองเมียวดีของพม่ากับอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เชื่อมไปยังจังหวัดพิษณุโลก ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และจังหวัดมุกดาหารของไทย ต่อไปยังเมืองสะหวันนะเขตและเมืองแดนสะหวันของสปป.ลาวกับเมืองลาวบาวเมืองเว้ เมืองดองฮาและเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม เป็นต้น

ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC) มีวัตถุประสงค์ เพื่อกระจายสินค้า ลำเลียงวัตถุดิบ และส่งสริมตลาดท่องเที่ยว เส้นทางประกอบไปด้วยสามเส้นทาง มีระยะทางรวมประมาณ 1,800 กิโลมตร คือ เส้นทาง R3E เชื่อมต่อจีนตอนใต้เข้าภูมิภาคอาเชียน โดยมีจุดเริ่มต้นของถนนในแนวเหนือใต้ที่คุณหมิงของจีน มายังลาวที่ห้วยทราย แล้วผ่านเข้าไทยที่เชียงราย โดยมีปลายทางที่กรุงเทพ ส่วน R3W มีจุดเริ่มต้นที่คุนหมิง ผ่านท่ขี้หล็กของพม่า ก่อนเข้าเชียงรายโดยมีจุดปลายคือ กรุงเทพ สำหรับเส้นทาง 15 เชื่อมคุนหมิงกับฮานอย และไฮฟองของเวียดนาม ถือเป็นเส้นทางการสายใหม่ที่ได้รับการพัฒนามากขึ้นเป็นลำดับ

ระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาค สนับสนุนการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ สนับสนุนการขยายตัวของการค้าและการลงทุน และอำนวยความสะดวกและการพัฒนาตามแนวพื้นที่ด้านตะวันออก-ตะวันตก ระหว่างไทย กัมพูชา เวียดนาม และบางส่วนทางตอนใต้ของลาว นอกจากนี้ยังเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจที่ครอบคลุมเมืองสำคัญในไทย กัมพูชา และเวียดนามโดยผ่านโครงสร้างเครือข่ายถนนและทางรถไฟ มีเส้นทางสำคัญ 2 เส้นทาง รวมระยะทางประมาณ 700 กิโลเมตร คือ เส้นทาง R1 มีจุดเริ่มต้นที่กรุงเทพ ผ่านสระแก้ว ก่อนเข้าพนมเปญของกัมพูชา โดยมีปลายทางที่โฮจิมินห์และวังเตาประเทศเวียดนาม และอีกเส้นทางหนึ่ง คือ R10 เริ่มต้นที่กรุงเทพ แต่จะเลียบชายฝั่งด้านใต้ไปยังเกาะกงของกัมพูชา โดยมีปลายทางที่เมืองนามคานของเวียดนาม

ทั้งนี้ ภายใต้แนวทางดำเนินการร่วมของกลุ่มประเทศ GMS ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมโยงและพัฒนาพื้นที่เป้าหมายหลัก ปรับปรุงนโยบาย กฎระเบียบ พิธีการ แผนงานการสนับสนุนระบบข้อมูลการค้าและการลงทุน การศึกษาวิจัยโครงการต่าง ๆ การพัฒนาทักษะฝีมือ โดยเฉพาะในพื้นที่เป้าหมาย เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงแหล่งทุนและเงินอุดหนุน การพัฒนาองค์กรและสถาบันเพื่อรองรับการพัฒนาในพื้นที่ ดังนั้น การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงจึงนำมาซึ่งผลประโยชน์ทั้งในระดับประเทศและระดับกลุ่มประเทศ GMS กล่าวคือ 
1) ระดับประเทศ: กระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวพื้นที่พัฒนาซึ่งเป็นพื้นที่ยากจนส่งผลต่อการกระจายรายได้และบรรเทาความยากจนประชาชน ผ่อนคลายกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เชื่อมโยงทั้งภายในและประเทศเพื่อนบ้น บริการทางการศึกษา สาธารณสุข เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน 
2) ระดับกลุ่มประเทศ GMS: ดึงดูดนักลงทุนต่งชาติให้เข้ามาลงทุนในอนุภูมิภาคนำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของ GMS กับกลุ่มประเทศอื่นในที่สุด

ภาพปก