สังคมสูงวัยกับข้อเท็จจริงที่ควรรู้

ผู้เรียบเรียง :
รติมา คชนันทน์, วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานบริการวิชาการ 2 สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-02
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

ปัจจุบันจะพบว่านานาประเทศทั่วโลกต่างกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในอีกไม่ช้า นับว่าเป็นความท้าทายที่แทบทุกประเทศทั่วโลกต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ใด้ โดยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบทั้งต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทั้งนี้ ประเทศพัฒนาแล้วจะมีแนวโน้มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วกว่าประเทศกำลังพัฒนา โดยประเทศในแถบยุโรปส่วนใหญ่ได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แล้วตามมาด้วยหลายประเทศในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ รวมถึงไทย ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงครงสร้งทางประชากรดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่านับจากนี้ไปสังคมผู้สูงอายุจะกลายเป็นปรากฏการณ์สำคัญที่ทั่วโลกต้องผชิญ ดังนั้น ผู้นำระดับโลกในภูมิภาคต่าง 1 รวมไปจนถึงนักธุรกิจ และนักลงทุนในภาคธุรกิจต่างให้ความสนใจ และได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ทิศทางแนวโน้มสถานการณ์ด้านประชากร เพื่อนำไปสู่การวางแผน กำหนดแนวทางเพื่อลดผลกระทบ ตลอดจนยุทธศาสตร์และวิธีการรับมือ ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WH0) กำลังพยายามสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและกระตุ้นเตือนให้ทั่วโลกเตรียมรับสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการผยแพร่ข้อเท็จจริงโดยสังเขปไว้ 10 ประการ คือ
    1. ปัจจุบันจำนวนประชากรผู้สูงอายุของโลกสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจำนวนประชากรผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป คาดว่ำจะเพิ่มขึ้นจาก 900 ล้นคน ไนปี 2015 เป็น 2.000 ล้านคน ในปี 2050 (จากร้อยละ 12 เป็นร้อยละ 22 ของจำนวนประชากรโลกทั้งหมด)
    2. มีหลักฐานยืนยันน้อยมากว่าผู้สูงอายุในปัจจุบันนี้มีสุขภาพดีกว่าคนรุ่นพ่อแม่ และสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุในประเทศที่มีรายได้สูง ที่ต้องการความช่วยเหลือในการทำกิจวัตรหลักประจำวันลดลงเพียงเล็กน้อยในช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมา
    3. ความเสื่อมโทรมทางสุขภาพที่ปรากฏมากที่สุดในผู้สูงอายุนั้นไม่ใซโรคติดต่อ โดยผู้สูงอายุในประเทศที่มีรายได้ปานกลางและต่ำ มีแนวโน้มว่าจะประสบภาวะด้านโรคภัยไข้เจ็บมากกว่าประเทศที่ร่ำรวย โดยโรคที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต ได้แก่ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเรื้อรังเกี่ยวกับปอด และโรคที่เป็นสาเหตุทำให้สมรรถภาพร่างกายเสื่อมถอยคือ ปวดหลังปวตคอ ซึมเศร้า เบาหวาน สมองเสื่อม ข้อเสื่อม
    4. ในเรื่องของสุขภาพไม่มีผู้สูงวัยที่เป็นตามแบบฉบับ โดยที่ความขราทางชีวภาพแม้ว่าจะมีความสัมพันธ์กับอายุของคน ๆ นั้นก็จริง แต่ก็เป็นเพียงแค่เบื้องต้น คนสูงอายุวัยแปดสิบปีบางคนยังคงมีลักษณะทางกายภาพและจิตใจ ใกล้เคียงกับคนวัยยี่สิบหลาย ๆ คน ในขณะที่บางคนก็อาจมีสุขภาพที่เสื่อมถอยตั้งแต่อายุยังน้อย
    5. สุขภาพดีในผู้สูงอายุเกิดจากหลายปัจจัย แม้ว่าตัวแปรด้านสุขภาพของผู้สูงอายุมักมาจากกรรมพันธุ์ แต่ในกรณีส่วนใหญ่มักเกิดจากสภาวะแวดล้อมทางร่งกายและจิตใจ ตลอดจนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ
    6. การเหยียดอายุในปัจจุบันกล่าวได้ว่าแผ่ขยายมากกว่าการเหยียดทางเพศและสีผิว ไม่ว่าจะเป็นการเลือกปฏิบัติ การมีอคติ เหล่านี้ส่งผลกระทบในรูปแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของสุขภาพและการรักษาพยาบาลที่อาจจะเสื่อมถอยลง
    7.ในการดำเนินงานเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ครอบคลุม จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนแนคิดพื้นฐานในการยกระดับเรื่องสังคมสูงอายุ และสุขภาพ โดยจากที่ผ่านมาเห็นว่าค่าใช้จ่ายในเรื่องของการดูแลด้านสุขภาพ และประกันสังคมเป็นความสิ้นเปลืองทางสังคม ควรเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ว่าแท้จริงแล้วคือการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาวเพื่อทำให้ผู้สูงอายุกลายเป็นกลุ่มคนที่สามารถช่วยตนเองและสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศไต้ต่อไป
    8. ระบบสุขภาพจำเป็นต้องทำให้สอดคล้องกับความต้องการของประชากรสูงอายุ โดยมีการดูแลแบบที่มีผู้สูงอายุเป็นศูนย์กลางและบูรณาการ ตลอดจนการคงไว้ซึ่งศักยภาพและความสามารถของผู้สูงอายุ ซึ่งปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าระบบสุขภาพทั่วโลกยังคงไม่ตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของผู้สูงอายุ                                                                                                 

     9. ในศตวรรษ 21 ทุกประเทศต้องมีระบบบูรณาการในการดูแสรักษาพยาบาลระยะยาว
    10. การเข้าสู่สังคมสูงวัยด้วยสุขภาพที่ดีเป็นเรื่องของทุกระดับทุกภาคส่วนของภาครัฐบาล ยกตัวอย่าง เช่น การมีนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริมสภาพแวดล้อมด้านการจ้างงานให้มีความหลากหลายด้านอายุ การเข้าถึงที่อยู่อาศัยและระบบคมนาคมที่ปลอดภัย ตลอดจนการป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุยากจน ทั้งนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความเข้าใจในเรื่องของประเด็นและแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพที่ดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

จากแนวทางที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้นั้น นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่นานาประเทศต้องตระหนัก ยอมรับและพยายามปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในขณะนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่รัฐบาลแทบทุกประเทศจำเป็นต้องนำมาพิจารณาและกำหนดไว้ในแผนขับเคลื่อนประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ซึ่งหากว่าประเทศใดก็ตามสามารถดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้ดี และทำให้ผู้สูงอายุพึ่งตนเองได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้ครอบครัวหรือแม้แต่รัฐบาลเองก็สามารถลดภาระรายจ่ายทางการเงินได้มากเท่านั้น ขณะเดียวกันยังเป็นการช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ส่งเสริมกำลังสำคัญในการผลิต และผลักดันเศรษฐกิจให้โตยิ่งขึ้นได้อีกด้วย

ภาพปก