สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5

ผู้เรียบเรียง :
โชคสุข กรกิตติชัย, วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานบริการวิชาการ 1 สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-07
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยนับว่าเป็นพื้นที่ที่สำคัญในการเชื่อมโยงกับภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งหลังจากการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 
แห่งที่ 1 เชื่อมระหว่างจังหวัดหนองคายกับแขวงท่นาแล้ง ทางภาคเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) ตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา มีการค้าผ่านแดนเฉพาะด้านสะพานแห่งนี้ปีละกว่า 1 แสนล้านบาทมานานนับ 10 ปี ต่อมาได้มีการพัฒนาขยายการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว เพิ่มขึ้นอีก 3 แห่ง ได้แก่ 1) สะพานมิตรภาพไทย-ลาว
แห่งที่ 2 เชื่อมระหว่างจังหวัดมุกดาหารกับแขวงสะหวันนะเขต 2) สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 
แห่งที่ 3 เชื่อมระหว่างจังหวัดนครพนมกับแขวงคำม่วน และ 3) สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 
แห่งที่ 4 เชื่อมระหว่างจังหวัดเชียงรายกับแขวงบ่อแก้ว ทำให้ปัจจุบันมีสะพานมิตรภาพเชื่อมระหว่างประเทศไทยกับ สปป. ลาว จำนวน 4 แห่งด้วยกัน

ในปี 2560 คณะผู้แทนภาครัฐและเอกชนของไทย ได้เดินทางไปเยือน สปป. ลาว อย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2560 ตามคำเชิญของทางการ สปป. ลาว โดยได้มีการหารือและสนับสนุนนโยบายในการเปลี่ยน (and locked เป็น land linked ของ สปป. ลาว โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมกันจัดทำแผนแม่บทการเชื่อมโยงระหว่างสองประเทศ และขยายความเชื่อมโยงภายในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งถน สะพาน รถไฟ ท่าเรือ และการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการขนส่งข้ามแดน เพื่อส่งสริมการค้า การลงทุนตามแนวชายแดน และการท่องเที่ยว โดยเริ่มที่ จุดผ่านแดนมุกดาหาร-สะหวันนะเขต เป็นลำดับแรกให้สามารถปิดใช้พื้นที่ควบคุมร่วมกัน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้เห็นพ้องที่จะเร่งรัดการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 เชื่อมระหว่างจังหวัดบึงกาฬกับแขวงบอลิคำไชซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 ในการจัดทำร่างความตกลง (MOU) ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาล สปป. ลาว ว่าด้วยการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 ซึ่งเป็นโครงการสะพานข้ามแม่น้ำโขงเพื่อเชื่อมมิตรภาพระหว่างประเทศไทยกับ สปป. ลาว ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 บริเวณกิโลเมตรที่ 125+925 หมู่ 2 บ้านดอนยม ตำบลไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข 13 ที่บ้านกล้วย เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาทางหลวงของ สปป. ลาว ที่จะก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองปากซันด้านตะวันออก

วันที่ 4 มิถุนายน 2562 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบอนุมัติโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 เชื่อมระหว่างจังหวัดบึงกาฬกับแขวงบอลิคำไซ เพื่อการเชื่อมต่อคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศไทยกับ สปป. ลาว โดยมอบหมายให้กรมทางหลวงดำเนินการออกแบบการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2563 โดยรัฐบาลไทยใช้งบประมาณลงทุน จำนวน 2,630 ล้านบาท ส่วน สปป. ลาว ใช้วงเงินลงทุนจำนวน 1,300 ล้านบาท รวมเงินลงทุนก่อสร้างทั้งหมด 3,930 ล้านบาท ระยะทางรวม 16.18 กิโลเมตร แยกเป็นงานก่อสร้างฝั่งไทย 12 กิโลเมตร และฝั่ง สปป. ลาว 2.8 กิโลเมตร โดยแนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นที่ฝั่งไทย ณ จุดตัดทางหลวงสาย 222 กิโลเมตที่ 123 ผ่านด่านพรมแดนฝั่งไทย บริเวณทิศตะวันออกของหนองกุดจับ ก่อนยกระดับข้ามทางหลวงสาย 212 กิโลเมตรที่ 125+925 ที่บ้านดอนยม อยู่ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ 200 เมตร จุดที่ข้ามแม่น้ำโขงจะผ่านตำบลบึงกาฬ ตำบลวิศิษฐ์ และตำบลไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ในส่วนของงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง เป็นแบบสะพานคานขึง (Extradosed Prestressed Concrete Bridge) ความยาวรวมทั้งสิ้น 1,350 เมตร ความยาวฝั่งประเทศไทย 815 เมตร ความยาวฝั่ง สปป. ลาว 535 เมตร คาดว่าก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2565

โดยที่ประเทศไทยกับ สปป. ลาว มีความสัมพันธ์กันทางด้านเศรษฐกิจมาอย่างยาวนานมีด่านพรมแดนและสะพานเชื่อมกันหลายแห่ง ซึ่งสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 5 นี้จะส่งผลดีในหลายด้า อาทิ ด้านการค้า การลงทุน การจ้างงาน รวมทั้งภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากจังหวัดบึงกาฬมีวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เช่น การล่องเรือชมสายน้ำกะดิ่ง และน้ำตกวังพองหรือการรับประทานอาหารประเภทปลาลุ่มน้ำโขงและปลาแม่น้ำปากซัน อีกทั้งยังช่วยให้ประชาชนเดินทางระหว่างจังหวัดบึงกาฬกับแขวงบอลิคำไช ได้สะดวกรวดเร็ว ลดระยะเวลาการเดินทาง รวมทั้งส่งเสริมภาคธุรกิจขนส่งและการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ ยังส่งผลไปถึงการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทย สปป. ลาว เวียดนาม และเชื่อมต่อไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนทางตอนใต้อีกด้วย

ภาพปก