ตำราการแพทย์แผนไทยและตำรับยาแผนไทยของชาติ

ผู้เรียบเรียง :
บุษราภรณ์ อัครนิธิยานนท์, บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-01
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองสมุนไพรที่มีคุณค่าและมีความสำคัญในด้านต่ง ๆ อาทิ สมุนไพรที่มีคำต่อการศึกษาวิจัยสมุนไพรที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ สมุนไพรใกสัสูญพันธุ์ และการคุ้มครองถิ่นกำเนิดของสมุนไพร นอกจากนี้ ยังคุ้มครองตำราการแพทย์แผ่นไทยหรือตำรับยาแผ่นไทย มิให้เกิดการแสวงหาประโยชน์ในการต่อยอดภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแต่เพียงผู้เดียว โดยมีคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยทำหน้าที่ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาในการออกกฎกระทรวง ระเบียบ ส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์จาก

ตำราการแพทย์แผ่นไทยตามกฎหมายนี หมายถึง หลักวิชาการต่าง ๆ เกียวกับการแพทย์แผนไทย ทั้งที่ได้บันทึกไว้ในสมุดไทย ใบลาน ศิลาจารีก หรือวัสดุอื่นใด หรือที่มิได้บันทึกกันไว้แต่เป็นการเรียนรู้หรือถ่ายทอดต่อกันมาไม่ว่าด้วยวิธีใด สำหรับตำรับยาแผนไทย หมายถึง สูตรซึ่งระบุกรรมวิธีการผลิตและส่วนประกอบสิ่งปรุงที่มียาแผนไทย ทั้งหลักวิชาการทางการแพทย์แผนไทยและสูตรการปรุงยาแผนไทยนี้มีคุณค่ายิ่ง เป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากการคิดค้น ปรับปรุง สืบทอด อันแสดงออกซึ่งมรดกทางภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ   และยาที่ใช้ในกรรักษาโรค ให้ปรากฏแก่ประชาชนและผู้ที่มีความสนใจในการแพทย์แผนไทยที่ใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาโรค

สำหรับการกำหนดว่าตำราการแพทย์แผนไทยหรือตำรับยาแผนไทยใดควรประกาศเป็นของชาตินั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นตำราการแพทย์แผนไทยหรือตำรับยาแผนไทยที่มีประโยชน์และมีคุณค่าในการทางแพทย์หรือการสาธารณสุขเป็นพิเศษ เป็นตำราการแพทย์แผนไทยหรือตำรับยาแผนไทยที่ทางราชการหรือหน่วยงานรัฐรวบรวม พัฒนา โดยมีเอกสารหรือหลักฐานอ้างอิงถึงแหล่งที่มาหรือแสตงถึงเอกลักษณ์ของชาติที่สมควรสงวนรักษาไว้ หรือมีคุณค่าต่อการศึกษาวิจัย หรือมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ หรืออาจนำมาพัฒนาเพื่อให้ได้ตัวยาใหม่สำหรับไขปัญหาทางการแพทย์หรือการสาธารณสุขของประเทศ และเป็นตำราการแพทย์แผนไทยหรือตำรับยาแผนไทยที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ปัจจุบันมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขคุ้มครองตำราการแพทย์แผนไทยของชาติและตำรับยาแผนไทยของชาติออกมาอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่างตำราการแพทย์แผนไทยของชาติและตำรับยาแผนไทยของชาติ เช่น ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมสมังคลาราม (วัตโพธิ์) คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ฉบับใบลาน หรือตำราพระโอสถพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นตำราการแพทย์แผนไทยและตำรับเภสัชกรรมไทยฉบับแรกของประเทศไทย ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 (สมุดไทย) สมุดภาพโคลงฤาษีดัดตน ตำรับยาสภาอุณาโลมแดง และแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 ร.ศ. 128 เป็นต้น สำหรับผู้ที่ต้องการนำตำรายาไปผลิตนั้นจะต้องมีการขออนุญาตจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกก่อน นอกจากนี้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำงานดูแลในด้านต่าง ๆ เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ซึ่งหากมีผู้กระทำผิด ทางคณะกรรมการจะดำเนินการทางกฎหมายทันทีซึ่งจะเป็นวิธีที่ปกป้องและคุ้มครองตำรับตำรายาแพทย์แผนไทยได้อีกทางหนึ่ง

ตำราการแพทย์แผนไทยและตำรับยาแผนไทย นับเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของบรรพชนที่สะสมองค์ความรู้ มาพัฒนาและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น การมีกฎหมายคุ้มครองสมุนไพรไทย ตำราไทย นับเป็นการป้องกันการฉกฉวยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยไปใช้ประโยชน์ทางการค้าและเชิงพาณิชย์อย่างไม่เหมาะสม ทำให้ประเทศไทยสามารถปกป้องคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมบัติไว้ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางสุขภาพและเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้อง

 

ภาพปก