วันอานันทมหิดล

ผู้เรียบเรียง :
โชคสุข กรกิตติชัย, วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานบริการวิชาการ 1 สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-06
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

"วันอานันทมหิดล" ตรงกับวันที่  มิถุนายนของทุกปี ถือเป็นอีกวันสำคัญของไทย ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรรัชกาลที่ 8 ผู้ทรงให้กำเนิดวงการแพทยศาสตร์ ซึ่งได้สร้งคุณูปการอย่างใหญ่ยิ่งต่อวงการแพทย์และการศึกษา รวมถึงบำบัดทุกข์ของปวงประชาให้พสกนิกรมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พระองค์ได้มีพระราชปรารภในการเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ณ หอประชุมราชแพทยาลัย ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2489 ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งว่า "ทรงต้องการให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้นให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน" นั้น ได้ก่อให้เกิดความตื่นตัวแก่วงการแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยยังมีการศึกษาด้านการแพทย์อยู่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น คือ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยมหิดล) ต่อมาพระองค์ยังทรงเป็นผู้พระราชทานกำเนิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (ปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 ของประเทศไทยอันจะช่วยอำนวยประโยชน์สุขให้แก่ประชาชน ช่วยเหลือป้องกันรักษาให้ห่างหายจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง ปวงชนชาวไทยต่างรำลึกถึงพระมตตาธิคุณและพระมหากรุณาธิคุณ อันมีเป็นอเนกประการ จึงร่วมใจน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่น โดยถือเอาวันที่  มิถุนายนของทุกปี เป็น "วันอานันทมหิดล" โดยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน 2468 ณ เมืองไฮเดนเบอร์ก ประเทศเยอรมนี ทรงเป็นพระราชโอรสองค์แรกในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระองค์ได้ทรงศึกษาจากต่างประเทศและได้เสด็จนิวัตเมืองไทยเป็นบางครั้งบางคราว เนื่องจากอยู่ในระหว่างการศึกษา ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ จึงมีการลงมติเห็นชอบอัญชิญพระรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์สืบราชสันติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยทรงพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล" เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2477 ซึ่งขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษาเท่านั้น และประทับอยู่ที่ประเทศสวิตซอร์แลนด์ จึงต้องทรงมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อทำการบริหารแผ่นดินแทนจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะ

ในระหว่างการศึกษาก็จะเสด็จนิวัตกลับเมืองไทย เพื่อกลับมาดูแลทุกข์สุขของประชาราษฎร์พระองค์เสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกภายหลังทรงครองราชย์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2481 จนพระองค์พระชนมายุได้ 21 พรรษา ได้เสด็จกลับนิวัตเมืองไทยครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2488 เดิมทรงตั้งพระราชหฤทัยจะประทับอยู่เพียง  เดือนเท่านั้น แต่เนื่องจากทรงมีพระราชกรณียกิจมากมายในฐานะประมุขของประเทศ พระองค์ทรงเลื่อนเวลาเสด็จกลับสวิตเชร์แลนด์ออกไป ระหว่างที่พระองค์ประทับอยู่ในพระนคร เมื่อคราวเสด็จนิวัตกลับเมืองไทยครั้งที่ 2 พระองค์ได้เสด็จสวรรคต หลังจากเสวยราชสมบัติได้เพียง 12 ปี เท่านั้น แม้จะเป็นระยะเวลาไม่นานนัก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลพระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงมีพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ นานัปการ ทั้งในด้านการปกครอง การศาสนา และการศึกษา

ในระหว่างการศึกษาก็จะเสด็จนิวัตกลับเมืองไทย เพื่อกลับมาดูแลทุกข์สุขของประชาราษฎร์พระองค์เสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกภายหลังทรงครองราชย์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2481 จนพระองค์พระชนมายุได้ 21 พรรษา ได้เสด็จกลับนิวัตเมืองไทยครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2488 เดิมทรงตั้งพระราชหฤทัยจะประทับอยู่เพียง  เดือนเท่านั้น แต่เนื่องจากทรงมีพระราชกรณียกิจมากมายในฐานะประมุขของประเทศ พระองค์ทรงเลื่อนเวลาเสด็จกลับสวิตเชร์แลนด์ออกไป ระหว่างที่พระองค์ประทับอยู่ในพระนคร เมื่อคราวเสด็จนิวัตกลับเมืองไทยครั้งที่ 2 พระองค์ได้เสด็จสวรรคต หลังจากเสวยราชสมบัติได้เพียง 12 ปี เท่านั้น แม้จะเป็นระยะเวลาไม่นานนัก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลพระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงมีพระราชกรณียกิจในด้าน   ต่าง ๆ นานัปการ ทั้งในด้านการปกครอง การศาสนาและการศึกษา

ในปี 2528 สมาคมศิษย์เก่แพทย์จุฬาลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้รวบรวมทุนจากเงินบริจาคของศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ทุกรุ่นจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นไว้หน้าตึกอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อเป็นการรำลีกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงบันดาลให้เกิดคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศให้ประชาชนได้รำลึกถึงพระองค์ท่นสืบไป พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อตั้ง"มูลนิธิอานันทมหิดล" ขึ้น เพื่อสนับสนุนนักเรียนไทยผู้มีความสามารถทางวิชาการอย่างยอดเยี่ยมมีคุณธรรมสูง ได้มีโอกาสไปศึกษาวิทยาการจนถึงขั้นสูงสุดในต่างประเทศ เพื่อนำความรู้กลับมาทำคุณประโยชน์พัฒนาบ้านเมืองให้ก้าวหน้าต่อไป โดยมูลนิธินี้ไม่มีการสอบคัดเลือก โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะทำการสรรหาผู้สมควรได้รับพระราชทานทุน นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยชี้ขาด

ทั้งนี้ หัวใจหลักของงาน "วันอานันทมหิดล" ในทุก ๆ ปี จะมีกิจกรรมหลากหลาย เช่น พิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิตล พระอัฐมรามาธิบดินทร
ซึ่งประดิษฐานหน้าอาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธีวางพวงมาลา ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ของคณาจารย์ แพทย์ พยาบาล นิสิตแพทย์ และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ณ อาคารวชิรญาณวงศ์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรจัดทำเข็มกลัดที่ระลึกเนื่องในวันอานันทมหิดล เพื่อออกรับบริจาคโดยนิสิตแพทย์ รายได้สมทบทุนมูลนิธิอานันทมหิดลและช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การจัดการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการชีววิทยาและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชิงโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การจัดงานเสวนาเนื่องในสัปดาห์วันอานันทมหิดล และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์อื่น ๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เป็นต้น

ภาพปก