สาขา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)
ปีการศึกษา 2561
อาจารย์ อาจารย์ ดร. กัลยา แซ่อั้ง
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงตัวแสดงและปัจจัยทางการเมืองที่ส่งผลต่อการนำนโยบายประเมินคุณภาพภายนอกไปปฏิบัติในระดับอุดมศึกษา โดยใช้ทฤษฎีการนโยบายไปปฏิบัติของ พอล เบอร์แมน และทฤษฎีปัจจัยทางการเมืองของวรเดช จันทรศร เป็นกรอบการศึกษา เพื่อศึกษา บทบาทสถานะอำนาจ ค่านิยม ความร่วมมือ ความขัดแย้ง การแข่งขันของตัวแสดงทางการเมืองแต่ละฝ่าย รวมถึงกิจกรรมและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการนโยบายนี้ไปปฏิบัติตลอดจนความคิดเห็นของตัวแสดงทางการเมืองที่มีต่อปัจจัยทางการเมืองที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวในการนำนโยบายการประเมินคุณภาพภายนอกไปปฏิบัติในระดับอุดมศึกษา การศึกษาวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นตัวนำ ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือวิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาอภิปรายในแต่ละขั้นตอนเพื่อแสดงถึงสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น สำหรับเครื่องมือในเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามโดยนำค่าเฉลี่ยค่าร้อยละมาเป็นข้อมูลสนับสนุนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิเคราะห์พบว่าตลอดกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ ตัวแสดงทางการเมืองได้แก่ ฝ่ายการเมืองผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานกลาง และสถาบันศึกษา แต่ละฝ่ายล้วนมีบทบาทอำนาจหน้าที่ และยึดถือค่านิยมองค์กรที่แตกต่างกัน มีการดำเนินการทั้งในลักษณะของความร่วมมือความขัดแย้งในแต่ละขั้นตอน ซึ่งแต่ละฝ่ายมีการปรับแต่งนโยบายที่ได้รับฝ่ายการเมือง ให้สอดคล้องกับค่านิยมของตนเพื่อนำสู่การปฏิบัติสอดคล้องกับแนวคิดการเมืองในระบบราชการ ที่กล่าวว่าไม่สามารถแยกการเมืองออกจากการบริหารได้ และสอดคล้องกับตัวแบบการเมือง ของวรเดช จันทรศร ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายไม่ควรให้ความสำคัญเพียงการกำหนดนโยบายและผลของนโยบายและผลของนโยบายเท่านั้นแต่ควรให้ความสำคัญกับทุกขั้นตอนของการนำนโยบายไปปฏิบัติและสร้างความร่วมมือในแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ตรงกันสาระของนโยบายนำสู่การปฏิบัติที่ตรงตามวัตถุประสงค์
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 หอสมุดรัฐสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เลขที่ 1111 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ : +66(0) 2242 5900 ต่อ 5714, 5715, 5721-22 โทรสาร : +66(0) 2242 5990
อีเมล : library@parliament.go.th