กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

กิจกรรม Knowledge Gateway ประตูความรู้สู่ SMART Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 3 การบรรยาย หัวข้อ “SMART Library ในมิติของหอสมุดแห่งชาติและห้องสมุดเฉพาะ”

TH
วันที่เริ่มต้น :
วันที่สิ้นสุด :
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

กิจกรรม knowledge gateway ประตูสู่ Smart Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 3 การบรรยาย หัวข้อ “SMART Library ในมิติของหอสมุดแห่งชาติและห้องสมุดเฉพาะ”

วิทยากร :

ดร. ประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาห้องสมุด สำนักหอสมุดแห่งชาติ
คุณอนันต์ สมมูล บรรณารักษ์ ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)  
คุณทวีศักดิ์ แก้วบุรี บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คุณนภดล แก้วบรรพต นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาคลังความรู้ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วัตถุประสงค์ 

  • เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด การบริการสารสนเทศและความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจ และเข้าถึง ตามวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็น SMART Library และความเป็นมืออาชีพของหอสมุดรัฐสภา
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ดำเนินงานด้านห้องสมุด และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสารสนเทศ

จัดโดย : กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ

วันและเวลา : วันอังคารที่ 19 เมษายน 2565 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา

ประโยชน์และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม

  • ทำให้บุคลากรหอสมุดรัฐสภาได้เห็นแนวทางของการดำเนินงานด้าน Smart Library ของห้องสมุดอื่นทั้งในมิติของห้องสมุดระดับชาติและห้องสมุดเฉพาะที่ชัดเจน และอาจนำแนวคิดตัวอย่างดังกล่าวมาประยุกต์และพัฒนางานเพื่อให้เหมาะกับบริบทในการบริการของหอสมุดรัฐสภา การสร้างนวัตกรรมในการให้บริการนี้ อาจทำให้บุคลากรบางท่านเกิดองค์ความรู้เฉพาะด้าน หรือเป็นเจ้าของผลงานที่น่าสนใจ สามารถเป็นวิทยากรบรรยายถ่ายทอดองค์ความรู้นั้น ๆ ให้กับห้องสมุดอื่น ๆ ได้ในอนาคต
  • เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เห็นว่าหากมีความพร้อมที่จะพัฒนางาน ไม่ต้องรอเวลาให้เก่งก่อนแล้วจึงจะลงมือทำแต่สามารถทำไปเรียนรู้ไปได้ตลอดเวลา โดยนำปัญหามาหาทางแก้ไขในคราวถัดไป
  • การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับการตอบรับจากผู้สนใจจากหน่วยงานภายนอกเป็นอย่างมาก มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากได้แสดงความขอบคุณและชื่นชมมายังคณะผู้จัด เนื่องจากเห็นว่า เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพโดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่สามารถเข้าร่วมประชุมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การจัดกิจกรรมนี้จึงเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับหน่วยงานอีกทางหนึ่ง และเป็นการสร้างเครือข่ายที่ดีในอนาคต
  • ในอนาคตอาจมีความร่วมมือในการสร้างมาตรฐานในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลร่วมกันระหว่างห้องสมุดเฉพาะต่าง ๆ
  • การจัดกิจกรรมในลักษณะออนไลน์ครั้งนี้ทำให้เห็นชัดว่าแม้วิทยากรหรือผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะอยู่ในภาวะที่ต้องกักตัวจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่ยังสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุดจนสำเร็จลุล่วง ผ่านช่องทางออนไลน์
ปีที่จัดกิจกรรม :
2565

กิจกรรม knowledge gateway ประตูสู่ Smart Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 2 หัวข้อ “ห้องสมุดกับการสร้างสรรค์ Digital content”

TH
วันที่เริ่มต้น :
วันที่สิ้นสุด :
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

กิจกรรม knowledge gateway ประตูสู่ Smart Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 2 หัวข้อ “ห้องสมุดกับการสร้างสรรค์ Digital content” 

วิทยากร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวนาถ  นันทพิชัย ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  

วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด การบริการสารสนเทศและความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจ และเข้าถึง ตามวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็น SMART Library และความเป็นมืออาชีพของหอสมุดรัฐสภา
  2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ดำเนินงานด้านห้องสมุด และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสารสนเทศ

จัดโดย : กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ

วันและเวลา : วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565 เวลา 13.00-15.30 นาฬิกา

ประโยชน์และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการบรรยายต่อหอสมุดรัฐสภา

  • ทำให้บุคลากรได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวจากการเป็นผู้ให้บริการไปสู่การเป็นผู้สร้างสรรค์เนื้อหา หรือ Digital Content เน้นการส่งเนื้อหาให้ถึงมือผู้รับแบบเชิงรุก
  • ได้แนวทางการเสริมสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของบรรณารักษ์ที่จะสร้างงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อหากลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ เช่น การจัดทำ Podcast ร่วมกับกลุ่มงานต่าง ๆ ในสำนักวิชาการในการนำเสนอ Content ต่าง ๆ
  • ทำให้เกิดแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการสร้าง Content ของห้องสมุดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและทำการตลาดผ่าน Platform ต่าง ๆ ให้หลากหลายยิ่งขึ้น
  • เกิดแนวคิดที่จะนำ Content ชุดเดียวกันมาปรับให้อยู่ในหลายรูปแบบ เช่น นำอินโฟกราฟิกที่มีอยู่แล้วมาจัดหมวดหมู่และเลือกบางส่วนที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงกันมาทำ Tiktok
  • หอสมุดรัฐสภาควรมีการแบ่งการทำงานเป็นทีม ตามความถนัดควรมีการช่วยเหลือเติมเต็มในสิ่งที่ขาด เช่น บางท่านอาจถนัดในการสร้าง Content บางท่านอาจถนัดทาง Graphic หรือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก็ควรมาร่วมมือกัน
ปีที่จัดกิจกรรม :
2565

กิจกรรม knowledge gateway ประตูสู่ Smart Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 1 การเสวนาออนไลน์ หัวข้อ “บทบาทห้องสมุดสมัยใหม่ในยุคดิจิทัล”

TH
วันที่เริ่มต้น :
วันที่สิ้นสุด :
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

กิจกรรม knowledge gateway ประตูสู่ Smart Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 1 การเสวนาออนไลน์ หัวข้อ “บทบาทห้องสมุดสมัยใหม่ในยุคดิจิทัล”

วิทยากร : นางสาวอัมพร อู่รัชตมาศ นางสาวเปี่ยมสุข ทุ่งกาวี และนางอังคณา อินทรพาณิชย์ 

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด การบริการสารสนเทศและความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจ และเข้าถึง ตามวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็น SMART Library และความเป็นมืออาชีพของหอสมุดรัฐสภา
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ดำเนินงานด้านห้องสมุด และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสารสนเทศ

จัดโดย : กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ

วันและเวลา : วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา

ประโยชน์และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการเสวนาต่อหอสมุดรัฐสภา

  • ทำให้บุคลากรได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวไปสู่ Smart Library และเป็นการกระตุ้นหรือสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากรของหอสมุดรัฐสภา พัฒนาตนเองไปสู่การเป็น Smart Librarian เพื่อที่จะสามารถสร้างสรรค์บริการที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการในยุคปัจจุบันมากขึ้น
  • ได้แนวทางการเสริมสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของบรรณารักษ์ที่ไม่ใช่เพียงการทำงานหลังบ้านเท่านั้นแต่บรรณารักษ์ต้องทำงานเชิงรุก โดยการนำตัวเองไปแทรกอยู่ในกิจการหรือกิจกรรมของหน่วยงานอื่น ๆ ในสำนักงานเพื่อช่วยในด้านข้อมูล เป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ๆ ให้กับห้องสมุด
  • ได้แนวทางในการจัดเตรียมบริการต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ และบริการ ณ ที่ตั้งซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้อย่างปลอดภัยและเป็นไปได้ในยุคปัจจุบัน
  • กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกของการทำงานเป็นทีมในองค์กรเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการ
  • การจัดกิจกรรมโดยเปิดโอกาสให้บุคคลผู้สนใจภายนอกเข้ามาร่วมรับฟังนี้ เป็นการประชาสัมพันธ์หอสมุดรัฐสภาต่อชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงห้องสมุด ซึ่งอาจจะเป็นเครือข่ายสำคัญในการทำงานร่วมกันในอนาคต อันเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ในการบริการสังคมของหอสมุดรัฐสภา 
  • หลังจากผ่านกิจกรรมทั้ง ๕ ครั้ง ในการสร้างความเข้าใจ และการเข้าถึงผู้ใช้บริการแล้วแต่ละกลุ่มงานควรนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดเป็นการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานแบบยั่งยืนต่อไป
  • หอสมุดรัฐสภาควรมีการแบ่งการทำงานเป็นทีม ตามความถนัดควรมีการช่วยเหลือเติมเต็มในสิ่งที่ขาด เช่น บางท่านอาจถนัดในการสร้าง Content บางท่านอาจถนัดทาง Graphic หรือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก็ควรมาร่วมมือกัน 
  • อาจมีการฝึกทีมบรรณารักษ์เพื่อช่วยเหลือด้านการทำวิจัย โดยร่วมมือกับกลุ่มงานวิจัยและพัฒนา โดยบรรณารักษ์อาจช่วยเหลือให้คำแนะนำในเรื่องการสืบค้นข้อมูล จริยธรรมการใช้สารสนเทศ และการอ้างอิง เป็นต้น
ปีที่จัดกิจกรรม :
2565

การสืบค้นข้อมูล EBSCO host เพื่องานวิชาการ

TH
วันที่เริ่มต้น :
วันที่สิ้นสุด :
ประเภท :
ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ 1 ชั้น 3 สำนักสารสนเทศ อาคารรัฐสภา

การอบรบการสืบค้นข้อมูล EBSCO host เพื่องานวิชาการ

กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

จัดโดย : กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

วันและเวลา : วันอังคารที่ 6 ตุลาคม 2563   เวลา 09.30-15.00 นาฬิกา


เพื่อให้บุคลากรสำนักวิชาการสามารถค้นคว้าข้อมูลประกอบการทำเอกสารวิชาการและการค้นคว้าเพื่อให้บริการสมาชิกรัฐสภาได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการจึงได้จัดกิจกรรมอบรมการสืบค้นฐานข้อมูล EBSCO host เพื่องานวิชาการขึ้น โดยเป็นข้าราชการสำนักวิชาการ ประเภทวิชาการ จำนวน 40 คน


กำหนดการ

ภาคเช้า
09.30 ลงทะเบียน  
10.00-12.00 การสืบค้นฐานข้อมูล EBSCO host 
  • Academic Search Ultimate
  • eBooks Academic Collection
  • HeinOnline

คุณมนทกานติ  จันทรวรินทร์

Sales Manager บริษัท EBSCO Information Service

     
ภาคบ่าย
12.30 ลงทะเบียน  
13.00-15.00 การสืบค้นฐานข้อมูล EBSCO host 
  • Academic Search Ultimate
  • eBooks Academic Collection
  • HeinOnline

คุณมนทกานติ  จันทรวรินทร์

Sales Manager บริษัท EBSCO Information Service

 

ปีที่จัดกิจกรรม :
2563

โครงการเพิ่มทักษะความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence Quotient: DQ) รุ่นที่ 5-10

TH
วันที่เริ่มต้น :
วันที่สิ้นสุด :
ประเภท :
ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ 1 ชั้น 3 สำนักสารสนเทศ อาคารรัฐสภา

โครงการเพิ่มทักษะความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence Quotient: DQ) รุ่นที่ 5-10

กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

จัดโดย : กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

วันและเวลา : วันที่ 14-16 กันยายน 2563   เวลา 8.30-16.30 นาฬิกา

ทักษะความฉลาดทางดิจิทัล 8 ประเภท ได้แก่

  • เอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizen Identity)
  • การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking)
  • การจัดการความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (Cybersecurity Management)
  • การจัดการความเป็นส่วนตัว (Privacy Management)
  • การจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen Time Management)
  • ร่องรอยทางดิจิทัล (Digital Footprints)
  • การจัดการการกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ (Cyberbullying Management)
  • การใช้งานอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy)

วิทยากร: นางสาวนริศรา เพชรพนาภรณ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ

ปีที่จัดกิจกรรม :
2563

"LIRT Fan Page on Facebook" นวัตกรรมระดับดีมาก

TH
วันที่เริ่มต้น :
วันที่สิ้นสุด :
โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร

บริการสารสนเทศในคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติผ่านแฟนเพจบนเฟซบุ๊ก (Legislative Institutional Repository of Thailand - LIRT Fan Page on Facebook) และได้รับรางวัลนวัตกรรม ระดับดีมาก ในการประกวดนวัตกรรมดีเด่นของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

LIRT Fan Page on Facebook เป็นนวัตกรรมบริการ (Service Innovation) ที่สำนักวิชาการ โดยกลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ เน้นการนำเสนอสารสนเทศที่เกี่ยวข้องด้านนิติบัญญัติผ่านสื่อออนไลน์ และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติในวงกว้าง ตอบสนองนโยบายของภาครัฐด้านการส่งเสริมการอ่าน และการพัฒนาบริการดิจิทัลภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนและผู้รับบริการทุกกลุ่ม สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส หลากหลายช่องทาง

แนวคิดการคัดสรรประเด็น คัดสรรทรัพยากรที่น่าสนใจ สารสนเทศที่ไม่มีใครเคยทราบมาก่อน โดยนำเสนอรูปแบบที่สามารถเชื่อมโยงประเด็นไปสู่การอ่านหรือค้นคว้าเพิ่มเติมในทรัพยากรเล่มจริงในรูปแบบดิจิทัลจากคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ ประกอบด้วย

  • รูปแบบการเล่าเรื่อง อ่านสรุปเนื้อหา ร้อยเรียงข้อความเพื่อนำเสนอให้มีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย พร้อมแจ้ง URL ที่อยู่ของรายการเอกสารแต่ละเรื่องในคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ
  • การนำเสนอประเด็นข้อมูลความรู้ที่อยู่ในความสนใจ เช่น สถานการณ์โควิด พร้อมเชื่อมโยงแหล่งสารสนเทศ เช่น เว็บไซต์หอสมุดรัฐสภา
  • การตั้งคำถามและร่วมหาคำตอบจากเอกสารในคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ 
  • การแนะนำรายการเอกสารใหม่ในคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ
  • คำศัพท์รัฐสภา
  • สารสนเทศอื่น ๆ เช่น ข้อความประชาสัมพันธ์ และสารสนเทศเพื่อการสื่อสารต่าง ๆ

ระหว่างวันที่ 2-30 กันยายน 2563 สามารถเยี่ยมชมเนื้อหาของนวัตกรรม LIRT Fan Page on Facebook และนวัตกรรมดีเด่นของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รวม 8 ชิ้นงาน ได้ที่ บริเวณชั้น 1 อาคารรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร


Link ที่เกี่ยวข้องกับ LIRT :

Face Book:  https://www.facebook.com/LIRT20/

Website: https://dl.parliament.go.th/


รายชื่อข้อเสนอนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 8 เรื่อง ได้แก่

ประเภทนวัตกรรมบริหารหรือองค์การ (Administration/Organizational Innovation) ได้แก่

  • การประยุกต์ใช้ Google Data Studio ในการนำเสนอข้อมูลงบประมาณรายจ่ายประจำปี (สำนักงบประมาณของรัฐสภา)
  • ระบบรายงานความต้องการพัฒนาและฝึกอบรม (Training and Development Need Analysis Report System) (สำนักพัฒนาบุคลากร คณะทำงานจัดทำระบบรายงานผลทางอิเล็กทรอนิกส์)

ประเภทนวัตกรรมบริการ (Service Innovation) ได้แก่

  • คลังคำศัพท์รัฐสภาภาษาไทย-ภาษาอังกฤษสำหรับการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต (สำนักภาษาต่างประเทศ กลุ่มงานภาษาสเปน เยอรมัน และอาหรับ)
  • ระบบลงเวลาปฏิบัติราชการ และระบบมอบหมายงานนอกสถานที่ตั้งของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สำนักสารสนเทศ กลุ่มงานวิทยาการคอมพิวเตอร์)
  • บริการสารสนเทศในคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติผ่านแฟนเพจบนเฟซบุ๊ก (Legislative Institutional Repository of Thailand - LIRT Fan Page on Facebook) (สำนักวิชาการ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ)
  • การจัดทำเอกสารประกอบการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมร่วมกันของรัฐสภาในรูปแบบ E-Book (สำนักการประชุม กลุ่มงานระเบียบวาระ)
  • กิจกรรมการพัฒนาความรู้ด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยผ่านสื่อออนไลน์ (สำนักประชาสัมพันธ์ กลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตยและกิจกรรมสภาผู้แทนราษฎร)
  • หลักสูตร E-Learning เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านระบบงานนิติบัญญัติผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์: หลักสูตรกระบวนการนิติบัญญัติ เรื่อง กระบวนการตรากฎหมายตามขั้นตอน (สำนักพัฒนาบุคลากร กลุ่มงานพัฒนาและฝึกอบรม)
ปีที่จัดกิจกรรม :
2563

การนำเสนอนวัตกรรม "LIRT Fan Page on Facebook"

TH
วันที่เริ่มต้น :
วันที่สิ้นสุด :
ห้องประชุม 302 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา

กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ นำเสนอนวัตกรรมบริการ เรื่อง บริการสารสนเทศในคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติผ่านแฟนเพจบนเฟซบุ๊ก (Legislative Institutional Repository of Thailand - LIRT Fan Page on Facebook) ต่อคณะกรรมการพิจารณา ตรวจสอบนวัตกรรมของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ณ ห้องประชุม 302 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา

รายชื่อข้อเสนอนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 8 เรื่อง ได้แก่

ประเภทนวัตกรรมบริหารหรือองค์การ (Administration/Organizational Innovation) ได้แก่

  • การประยุกต์ใช้ Google Data Studio ในการนำเสนอข้อมูลงบประมาณรายจ่ายประจำปี (สำนักงบประมาณของรัฐสภา)
  • ระบบรายงานความต้องการพัฒนาและฝึกอบรม (Training and Development Need Analysis Report System) (สำนักพัฒนาบุคลากร คณะทำงานจัดทำระบบรายงานผลทางอิเล็กทรอนิกส์)

ประเภทนวัตกรรมบริการ (Service Innovation) ได้แก่

  • คลังคำศัพท์รัฐสภาภาษาไทย-ภาษาอังกฤษสำหรับการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต (สำนักภาษาต่างประเทศ กลุ่มงานภาษาสเปน เยอรมัน และอาหรับ)
  • ระบบลงเวลาปฏิบัติราชการ และระบบมอบหมายงานนอกสถานที่ตั้งของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สำนักสารสนเทศ กลุ่มงานวิทยาการคอมพิวเตอร์)
  • บริการสารสนเทศในคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติผ่านแฟนเพจบนเฟซบุ๊ก (Legislative Institutional Repository of Thailand - LIRT Fan Page on Facebook) (สำนักวิชาการ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ)
  • การจัดทำเอกสารประกอบการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมร่วมกันของรัฐสภาในรูปแบบ E-Book (สำนักการประชุม กลุ่มงานระเบียบวาระ)
  • กิจกรรมการพัฒนาความรู้ด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยผ่านสื่อออนไลน์ (สำนักประชาสัมพันธ์ กลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตยและกิจกรรมสภาผู้แทนราษฎร)
  • หลักสูตร E-Learning เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านระบบงานนิติบัญญัติผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์: หลักสูตรกระบวนการนิติบัญญัติ เรื่อง กระบวนการตรากฎหมายตามขั้นตอน (สำนักพัฒนาบุคลากร กลุ่มงานพัฒนาและฝึกอบรม)
ปีที่จัดกิจกรรม :
2563

การฝึกอบรม เรื่อง การใช้เครื่องมือเพื่อการสร้างสรรค์สื่ออินโฟกราฟิก (Infographic)

TH
วันที่เริ่มต้น :
วันที่สิ้นสุด :
ประเภท :
ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์

กลุ่มเป้าหมาย : ข้าราชการสำนักวิชาการ

จำนวน 2 รุ่น 

  • รุ่นที่ : 1 8.30-12.00 น.
  • รุ่นที่ : 2 13.00-16.30 น.

วิทยากร

  • นางสารนราภัทร เพชรมณี บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ
  • นางสาวนริศรา เพชรพนาภรณ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ
  • กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ

วันและเวลา : วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม 2562

ปีที่จัดกิจกรรม :
2562

นายเซวัง นอร์บุ (Mr. Tshewang Norbu) เลขาธิการสภาที่ปรึกษาแห่งราชอาณาจักรภูฏาน และผู้อำนวยการสำนักรายงานการประชุมและข้อมูลข่าวสาร เยี่ยมชมห้องสมุดรัฐสภา

TH
วันที่เริ่มต้น :
วันที่สิ้นสุด :
ห้องสมุดรัฐสภา

นางสาวสุนิดา บุญญานนท์ บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ และคณะบุคลากรห้องสมุดรัฐสภา ให้การต้อนรับนายเซวัง นอร์บุ (Mr. Tshewang Norbu) เลขาธิการสภาที่ปรึกษาแห่งราชอาณาจักรภูฏาน และผู้อำนวยการสำนักรายงานการประชุมและข้อมูลข่าวสาร รับฟังบรรยายสรุป พร้อมเยี่ยมชมห้องสมุดรัฐสภา วันที่ 14 มิถุนายน 2556

ปีที่จัดกิจกรรม :
2556

นาย Hwang Chang Hwa ผู้อำนวยการห้องสมุดรัฐสภาสาธารณรัฐเกาหลี และคณะ เข้าพบปะนางสาวอารีรัตน์ วิชาช่าง ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทและการพัฒนาห้องสมุดรัฐสภา

TH
วันที่เริ่มต้น :
วันที่สิ้นสุด :
ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ 201

นางสาวอารีรัตน์ วิชาช่าง ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ และคณะบุคลากรห้องสมุดรัฐสภา ให้การต้อนรับนาย Hwang Chang Hwa ผู้อำนวยการห้องสมุดรัฐสภาสาธารณรัฐเกาหลี และคณะ บรรยายสรุป ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ 201 วันที่ 8 สิงหาคม 2556

ปีที่จัดกิจกรรม :
2556
Subscribe to กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ