Information Technology Resources Development Division

กิจกรรม Knowledge Gateway ประตูความรู้สู่ SMART Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 3 การบรรยาย หัวข้อ “SMART Library ในมิติของหอสมุดแห่งชาติและห้องสมุดเฉพาะ”

English
Start date
End date
Event type
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

กิจกรรม knowledge gateway ประตูสู่ Smart Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 3 การบรรยาย หัวข้อ “SMART Library ในมิติของหอสมุดแห่งชาติและห้องสมุดเฉพาะ”

วิทยากร :

ดร. ประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาห้องสมุด สำนักหอสมุดแห่งชาติ
คุณอนันต์ สมมูล บรรณารักษ์ ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)  
คุณทวีศักดิ์ แก้วบุรี บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คุณนภดล แก้วบรรพต นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาคลังความรู้ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วัตถุประสงค์ 

  • เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด การบริการสารสนเทศและความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจ และเข้าถึง ตามวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็น SMART Library และความเป็นมืออาชีพของหอสมุดรัฐสภา
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ดำเนินงานด้านห้องสมุด และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสารสนเทศ

จัดโดย : กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ

วันและเวลา : วันอังคารที่ 19 เมษายน 2565 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา

ประโยชน์และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม

  • ทำให้บุคลากรหอสมุดรัฐสภาได้เห็นแนวทางของการดำเนินงานด้าน Smart Library ของห้องสมุดอื่นทั้งในมิติของห้องสมุดระดับชาติและห้องสมุดเฉพาะที่ชัดเจน และอาจนำแนวคิดตัวอย่างดังกล่าวมาประยุกต์และพัฒนางานเพื่อให้เหมาะกับบริบทในการบริการของหอสมุดรัฐสภา การสร้างนวัตกรรมในการให้บริการนี้ อาจทำให้บุคลากรบางท่านเกิดองค์ความรู้เฉพาะด้าน หรือเป็นเจ้าของผลงานที่น่าสนใจ สามารถเป็นวิทยากรบรรยายถ่ายทอดองค์ความรู้นั้น ๆ ให้กับห้องสมุดอื่น ๆ ได้ในอนาคต
  • เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เห็นว่าหากมีความพร้อมที่จะพัฒนางาน ไม่ต้องรอเวลาให้เก่งก่อนแล้วจึงจะลงมือทำแต่สามารถทำไปเรียนรู้ไปได้ตลอดเวลา โดยนำปัญหามาหาทางแก้ไขในคราวถัดไป
  • การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับการตอบรับจากผู้สนใจจากหน่วยงานภายนอกเป็นอย่างมาก มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากได้แสดงความขอบคุณและชื่นชมมายังคณะผู้จัด เนื่องจากเห็นว่า เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพโดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่สามารถเข้าร่วมประชุมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การจัดกิจกรรมนี้จึงเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับหน่วยงานอีกทางหนึ่ง และเป็นการสร้างเครือข่ายที่ดีในอนาคต
  • ในอนาคตอาจมีความร่วมมือในการสร้างมาตรฐานในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลร่วมกันระหว่างห้องสมุดเฉพาะต่าง ๆ
  • การจัดกิจกรรมในลักษณะออนไลน์ครั้งนี้ทำให้เห็นชัดว่าแม้วิทยากรหรือผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะอยู่ในภาวะที่ต้องกักตัวจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่ยังสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุดจนสำเร็จลุล่วง ผ่านช่องทางออนไลน์
Year
2022

กิจกรรม knowledge gateway ประตูสู่ Smart Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 2 หัวข้อ “ห้องสมุดกับการสร้างสรรค์ Digital content”

English
Start date
End date
Event type
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

กิจกรรม knowledge gateway ประตูสู่ Smart Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 2 หัวข้อ “ห้องสมุดกับการสร้างสรรค์ Digital content” 

วิทยากร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวนาถ  นันทพิชัย ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  

วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด การบริการสารสนเทศและความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจ และเข้าถึง ตามวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็น SMART Library และความเป็นมืออาชีพของหอสมุดรัฐสภา
  2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ดำเนินงานด้านห้องสมุด และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสารสนเทศ

จัดโดย : กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ

วันและเวลา : วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565 เวลา 13.00-15.30 นาฬิกา

ประโยชน์และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการบรรยายต่อหอสมุดรัฐสภา

  • ทำให้บุคลากรได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวจากการเป็นผู้ให้บริการไปสู่การเป็นผู้สร้างสรรค์เนื้อหา หรือ Digital Content เน้นการส่งเนื้อหาให้ถึงมือผู้รับแบบเชิงรุก
  • ได้แนวทางการเสริมสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของบรรณารักษ์ที่จะสร้างงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อหากลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ เช่น การจัดทำ Podcast ร่วมกับกลุ่มงานต่าง ๆ ในสำนักวิชาการในการนำเสนอ Content ต่าง ๆ
  • ทำให้เกิดแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการสร้าง Content ของห้องสมุดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและทำการตลาดผ่าน Platform ต่าง ๆ ให้หลากหลายยิ่งขึ้น
  • เกิดแนวคิดที่จะนำ Content ชุดเดียวกันมาปรับให้อยู่ในหลายรูปแบบ เช่น นำอินโฟกราฟิกที่มีอยู่แล้วมาจัดหมวดหมู่และเลือกบางส่วนที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงกันมาทำ Tiktok
  • หอสมุดรัฐสภาควรมีการแบ่งการทำงานเป็นทีม ตามความถนัดควรมีการช่วยเหลือเติมเต็มในสิ่งที่ขาด เช่น บางท่านอาจถนัดในการสร้าง Content บางท่านอาจถนัดทาง Graphic หรือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก็ควรมาร่วมมือกัน
Year
2022

กิจกรรม knowledge gateway ประตูสู่ Smart Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 1 การเสวนาออนไลน์ หัวข้อ “บทบาทห้องสมุดสมัยใหม่ในยุคดิจิทัล”

English
Start date
End date
Event type
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom

กิจกรรม knowledge gateway ประตูสู่ Smart Library ด้วยวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 1 การเสวนาออนไลน์ หัวข้อ “บทบาทห้องสมุดสมัยใหม่ในยุคดิจิทัล”

วิทยากร : นางสาวอัมพร อู่รัชตมาศ นางสาวเปี่ยมสุข ทุ่งกาวี และนางอังคณา อินทรพาณิชย์ 

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด การบริการสารสนเทศและความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจ และเข้าถึง ตามวิธีแห่งศาสตร์พระราชา ที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็น SMART Library และความเป็นมืออาชีพของหอสมุดรัฐสภา
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ดำเนินงานด้านห้องสมุด และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสารสนเทศ

จัดโดย : กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ

วันและเวลา : วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา

ประโยชน์และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการเสวนาต่อหอสมุดรัฐสภา

  • ทำให้บุคลากรได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวไปสู่ Smart Library และเป็นการกระตุ้นหรือสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากรของหอสมุดรัฐสภา พัฒนาตนเองไปสู่การเป็น Smart Librarian เพื่อที่จะสามารถสร้างสรรค์บริการที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการในยุคปัจจุบันมากขึ้น
  • ได้แนวทางการเสริมสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของบรรณารักษ์ที่ไม่ใช่เพียงการทำงานหลังบ้านเท่านั้นแต่บรรณารักษ์ต้องทำงานเชิงรุก โดยการนำตัวเองไปแทรกอยู่ในกิจการหรือกิจกรรมของหน่วยงานอื่น ๆ ในสำนักงานเพื่อช่วยในด้านข้อมูล เป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ๆ ให้กับห้องสมุด
  • ได้แนวทางในการจัดเตรียมบริการต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ และบริการ ณ ที่ตั้งซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้อย่างปลอดภัยและเป็นไปได้ในยุคปัจจุบัน
  • กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกของการทำงานเป็นทีมในองค์กรเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการ
  • การจัดกิจกรรมโดยเปิดโอกาสให้บุคคลผู้สนใจภายนอกเข้ามาร่วมรับฟังนี้ เป็นการประชาสัมพันธ์หอสมุดรัฐสภาต่อชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงห้องสมุด ซึ่งอาจจะเป็นเครือข่ายสำคัญในการทำงานร่วมกันในอนาคต อันเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ในการบริการสังคมของหอสมุดรัฐสภา 
  • หลังจากผ่านกิจกรรมทั้ง ๕ ครั้ง ในการสร้างความเข้าใจ และการเข้าถึงผู้ใช้บริการแล้วแต่ละกลุ่มงานควรนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดเป็นการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานแบบยั่งยืนต่อไป
  • หอสมุดรัฐสภาควรมีการแบ่งการทำงานเป็นทีม ตามความถนัดควรมีการช่วยเหลือเติมเต็มในสิ่งที่ขาด เช่น บางท่านอาจถนัดในการสร้าง Content บางท่านอาจถนัดทาง Graphic หรือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก็ควรมาร่วมมือกัน 
  • อาจมีการฝึกทีมบรรณารักษ์เพื่อช่วยเหลือด้านการทำวิจัย โดยร่วมมือกับกลุ่มงานวิจัยและพัฒนา โดยบรรณารักษ์อาจช่วยเหลือให้คำแนะนำในเรื่องการสืบค้นข้อมูล จริยธรรมการใช้สารสนเทศ และการอ้างอิง เป็นต้น
Year
2022

การสืบค้นข้อมูล EBSCO host เพื่องานวิชาการ

English
Start date
End date
Event type
ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ 1 ชั้น 3 สำนักสารสนเทศ อาคารรัฐสภา

การอบรบการสืบค้นข้อมูล EBSCO host เพื่องานวิชาการ

กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

จัดโดย : กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

วันและเวลา : วันอังคารที่ 6 ตุลาคม 2563   เวลา 09.30-15.00 นาฬิกา


เพื่อให้บุคลากรสำนักวิชาการสามารถค้นคว้าข้อมูลประกอบการทำเอกสารวิชาการและการค้นคว้าเพื่อให้บริการสมาชิกรัฐสภาได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการจึงได้จัดกิจกรรมอบรมการสืบค้นฐานข้อมูล EBSCO host เพื่องานวิชาการขึ้น โดยเป็นข้าราชการสำนักวิชาการ ประเภทวิชาการ จำนวน 40 คน


กำหนดการ

ภาคเช้า
09.30 ลงทะเบียน  
10.00-12.00 การสืบค้นฐานข้อมูล EBSCO host 
  • Academic Search Ultimate
  • eBooks Academic Collection
  • HeinOnline

คุณมนทกานติ  จันทรวรินทร์

Sales Manager บริษัท EBSCO Information Service

     
ภาคบ่าย
12.30 ลงทะเบียน  
13.00-15.00 การสืบค้นฐานข้อมูล EBSCO host 
  • Academic Search Ultimate
  • eBooks Academic Collection
  • HeinOnline

คุณมนทกานติ  จันทรวรินทร์

Sales Manager บริษัท EBSCO Information Service

 

Year
2020

โครงการเพิ่มทักษะความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence Quotient: DQ) รุ่นที่ 5-10

English
Start date
End date
Event type
ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ 1 ชั้น 3 สำนักสารสนเทศ อาคารรัฐสภา

โครงการเพิ่มทักษะความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence Quotient: DQ) รุ่นที่ 5-10

กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

จัดโดย : กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

วันและเวลา : วันที่ 14-16 กันยายน 2563   เวลา 8.30-16.30 นาฬิกา

ทักษะความฉลาดทางดิจิทัล 8 ประเภท ได้แก่

  • เอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizen Identity)
  • การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking)
  • การจัดการความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (Cybersecurity Management)
  • การจัดการความเป็นส่วนตัว (Privacy Management)
  • การจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen Time Management)
  • ร่องรอยทางดิจิทัล (Digital Footprints)
  • การจัดการการกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ (Cyberbullying Management)
  • การใช้งานอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy)

วิทยากร: นางสาวนริศรา เพชรพนาภรณ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ

Year
2020

"LIRT Fan Page on Facebook" นวัตกรรมระดับดีมาก

English
Start date
End date
Event type
โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร

บริการสารสนเทศในคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติผ่านแฟนเพจบนเฟซบุ๊ก (Legislative Institutional Repository of Thailand - LIRT Fan Page on Facebook) และได้รับรางวัลนวัตกรรม ระดับดีมาก ในการประกวดนวัตกรรมดีเด่นของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

LIRT Fan Page on Facebook เป็นนวัตกรรมบริการ (Service Innovation) ที่สำนักวิชาการ โดยกลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ เน้นการนำเสนอสารสนเทศที่เกี่ยวข้องด้านนิติบัญญัติผ่านสื่อออนไลน์ และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติในวงกว้าง ตอบสนองนโยบายของภาครัฐด้านการส่งเสริมการอ่าน และการพัฒนาบริการดิจิทัลภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนและผู้รับบริการทุกกลุ่ม สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส หลากหลายช่องทาง

แนวคิดการคัดสรรประเด็น คัดสรรทรัพยากรที่น่าสนใจ สารสนเทศที่ไม่มีใครเคยทราบมาก่อน โดยนำเสนอรูปแบบที่สามารถเชื่อมโยงประเด็นไปสู่การอ่านหรือค้นคว้าเพิ่มเติมในทรัพยากรเล่มจริงในรูปแบบดิจิทัลจากคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ ประกอบด้วย

  • รูปแบบการเล่าเรื่อง อ่านสรุปเนื้อหา ร้อยเรียงข้อความเพื่อนำเสนอให้มีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย พร้อมแจ้ง URL ที่อยู่ของรายการเอกสารแต่ละเรื่องในคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ
  • การนำเสนอประเด็นข้อมูลความรู้ที่อยู่ในความสนใจ เช่น สถานการณ์โควิด พร้อมเชื่อมโยงแหล่งสารสนเทศ เช่น เว็บไซต์หอสมุดรัฐสภา
  • การตั้งคำถามและร่วมหาคำตอบจากเอกสารในคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ 
  • การแนะนำรายการเอกสารใหม่ในคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ
  • คำศัพท์รัฐสภา
  • สารสนเทศอื่น ๆ เช่น ข้อความประชาสัมพันธ์ และสารสนเทศเพื่อการสื่อสารต่าง ๆ

ระหว่างวันที่ 2-30 กันยายน 2563 สามารถเยี่ยมชมเนื้อหาของนวัตกรรม LIRT Fan Page on Facebook และนวัตกรรมดีเด่นของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รวม 8 ชิ้นงาน ได้ที่ บริเวณชั้น 1 อาคารรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร


Link ที่เกี่ยวข้องกับ LIRT :

Face Book:  https://www.facebook.com/LIRT20/

Website: https://dl.parliament.go.th/


รายชื่อข้อเสนอนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 8 เรื่อง ได้แก่

ประเภทนวัตกรรมบริหารหรือองค์การ (Administration/Organizational Innovation) ได้แก่

  • การประยุกต์ใช้ Google Data Studio ในการนำเสนอข้อมูลงบประมาณรายจ่ายประจำปี (สำนักงบประมาณของรัฐสภา)
  • ระบบรายงานความต้องการพัฒนาและฝึกอบรม (Training and Development Need Analysis Report System) (สำนักพัฒนาบุคลากร คณะทำงานจัดทำระบบรายงานผลทางอิเล็กทรอนิกส์)

ประเภทนวัตกรรมบริการ (Service Innovation) ได้แก่

  • คลังคำศัพท์รัฐสภาภาษาไทย-ภาษาอังกฤษสำหรับการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต (สำนักภาษาต่างประเทศ กลุ่มงานภาษาสเปน เยอรมัน และอาหรับ)
  • ระบบลงเวลาปฏิบัติราชการ และระบบมอบหมายงานนอกสถานที่ตั้งของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สำนักสารสนเทศ กลุ่มงานวิทยาการคอมพิวเตอร์)
  • บริการสารสนเทศในคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติผ่านแฟนเพจบนเฟซบุ๊ก (Legislative Institutional Repository of Thailand - LIRT Fan Page on Facebook) (สำนักวิชาการ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ)
  • การจัดทำเอกสารประกอบการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมร่วมกันของรัฐสภาในรูปแบบ E-Book (สำนักการประชุม กลุ่มงานระเบียบวาระ)
  • กิจกรรมการพัฒนาความรู้ด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยผ่านสื่อออนไลน์ (สำนักประชาสัมพันธ์ กลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตยและกิจกรรมสภาผู้แทนราษฎร)
  • หลักสูตร E-Learning เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านระบบงานนิติบัญญัติผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์: หลักสูตรกระบวนการนิติบัญญัติ เรื่อง กระบวนการตรากฎหมายตามขั้นตอน (สำนักพัฒนาบุคลากร กลุ่มงานพัฒนาและฝึกอบรม)
Year
2020

การนำเสนอนวัตกรรม "LIRT Fan Page on Facebook"

English
Start date
End date
Event type
ห้องประชุม 302 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา

กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ นำเสนอนวัตกรรมบริการ เรื่อง บริการสารสนเทศในคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติผ่านแฟนเพจบนเฟซบุ๊ก (Legislative Institutional Repository of Thailand - LIRT Fan Page on Facebook) ต่อคณะกรรมการพิจารณา ตรวจสอบนวัตกรรมของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ณ ห้องประชุม 302 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา

รายชื่อข้อเสนอนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 8 เรื่อง ได้แก่

ประเภทนวัตกรรมบริหารหรือองค์การ (Administration/Organizational Innovation) ได้แก่

  • การประยุกต์ใช้ Google Data Studio ในการนำเสนอข้อมูลงบประมาณรายจ่ายประจำปี (สำนักงบประมาณของรัฐสภา)
  • ระบบรายงานความต้องการพัฒนาและฝึกอบรม (Training and Development Need Analysis Report System) (สำนักพัฒนาบุคลากร คณะทำงานจัดทำระบบรายงานผลทางอิเล็กทรอนิกส์)

ประเภทนวัตกรรมบริการ (Service Innovation) ได้แก่

  • คลังคำศัพท์รัฐสภาภาษาไทย-ภาษาอังกฤษสำหรับการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต (สำนักภาษาต่างประเทศ กลุ่มงานภาษาสเปน เยอรมัน และอาหรับ)
  • ระบบลงเวลาปฏิบัติราชการ และระบบมอบหมายงานนอกสถานที่ตั้งของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สำนักสารสนเทศ กลุ่มงานวิทยาการคอมพิวเตอร์)
  • บริการสารสนเทศในคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติผ่านแฟนเพจบนเฟซบุ๊ก (Legislative Institutional Repository of Thailand - LIRT Fan Page on Facebook) (สำนักวิชาการ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ)
  • การจัดทำเอกสารประกอบการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมร่วมกันของรัฐสภาในรูปแบบ E-Book (สำนักการประชุม กลุ่มงานระเบียบวาระ)
  • กิจกรรมการพัฒนาความรู้ด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยผ่านสื่อออนไลน์ (สำนักประชาสัมพันธ์ กลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตยและกิจกรรมสภาผู้แทนราษฎร)
  • หลักสูตร E-Learning เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านระบบงานนิติบัญญัติผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์: หลักสูตรกระบวนการนิติบัญญัติ เรื่อง กระบวนการตรากฎหมายตามขั้นตอน (สำนักพัฒนาบุคลากร กลุ่มงานพัฒนาและฝึกอบรม)
Year
2020

การฝึกอบรม เรื่อง การใช้เครื่องมือเพื่อการสร้างสรรค์สื่ออินโฟกราฟิก (Infographic)

English
Start date
End date
Event type
ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์

กลุ่มเป้าหมาย : ข้าราชการสำนักวิชาการ

จำนวน 2 รุ่น 

  • รุ่นที่ 1 : 8.30-12.00 น.
  • รุ่นที่ 2 : 13.00-16.30 น.

วิทยากร

  • นางสารนราภัทร เพชรมณี บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ
  • นางสาวนริศรา เพชรพนาภรณ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ
  • กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ

วันและเวลา : วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม 2562

Year
2019

นายเซวัง นอร์บุ (Mr. Tshewang Norbu) เลขาธิการสภาที่ปรึกษาแห่งราชอาณาจักรภูฏาน และผู้อำนวยการสำนักรายงานการประชุมและข้อมูลข่าวสาร เยี่ยมชมห้องสมุดรัฐสภา

English
Start date
End date
Event type
ห้องสมุดรัฐสภา

นางสาวสุนิดา บุญญานนท์ บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ และคณะบุคลากรห้องสมุดรัฐสภา ให้การต้อนรับนายเซวัง นอร์บุ (Mr. Tshewang Norbu) เลขาธิการสภาที่ปรึกษาแห่งราชอาณาจักรภูฏาน และผู้อำนวยการสำนักรายงานการประชุมและข้อมูลข่าวสาร รับฟังบรรยายสรุป พร้อมเยี่ยมชมห้องสมุดรัฐสภา วันที่ 14 มิถุนายน 2556

Year
2013

นาย Hwang Chang Hwa ผู้อำนวยการห้องสมุดรัฐสภาสาธารณรัฐเกาหลี และคณะ เข้าพบปะนางสาวอารีรัตน์ วิชาช่าง ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทและการพัฒนาห้องสมุดรัฐสภา

English
Start date
End date
Event type
ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ 201

นางสาวอารีรัตน์ วิชาช่าง ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ และคณะบุคลากรห้องสมุดรัฐสภา ให้การต้อนรับนาย Hwang Chang Hwa ผู้อำนวยการห้องสมุดรัฐสภาสาธารณรัฐเกาหลี และคณะ บรรยายสรุป ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ 201 วันที่ 8 สิงหาคม 2556

Year
2013
Subscribe to Information Technology Resources Development Division