อินโฟกราฟิก เรื่อง รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ของคนในชาติ

อินโฟกราฟิก เรื่อง รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ของคนในชาติ
ผู้แต่ง :
นราภัทร เพชรมณี
จำนวนหน้า :
1
ปีที่พิมพ์ :
2563

ปรองดอง📌
รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ของคนในชาติ ของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนกำลังอภิปรายรายงานเรื่องนี้ไปติดตามอ่านเล่มรายงาน และติดตามการประชุมกัน
บทสรุปผู้บริหาร
1. หลักการและเหตุผล
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2563 รวมระยะเวลากว่า 16 ปี ที่ประเทศไทยมีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและอุดมการณ์ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงการต่อต้านรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ คัดค้านการดำเนินนโยบายในแต่ละช่วงนั้น ได้นำสังคมไทยไปสู่การแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน นำไปสู่การสูญเสียอย่างประมาณค่ามิได้ต่อสังคมไทยและประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน นอกจากความรุนแรงจะทำให้เกิดการสูญเสียทางด้านร่างกายและจิตใจแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมา ยังส่งผลกระทบไปถึงด้านการบริหารระบบของรัฐ ระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสถานการณ์ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2563 โดยมีสาเหตุอันเนื่องมาจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ระบาดไปทั่วโลกทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวได้รับผลกระทบทุกภาคส่วน รวมถึงประเทศไทย ด้วยเหตุปัจจัยทั้งหมดทำให้คนในชาติเกิดความอ่อนแอในด้านสังคมวัฒนธรรมและบั่นทอนความมั่นคงของมนุษย์ หากความขัดแย้งดังกล่าวยังดำเนินอยู่ต่อไป โดยไม่มีการคลี่คลายปัญหาที่มีอยู่เดิมและการแสวงหาทางออกที่เป็นรูปธรรมร่วมกันระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความเป็นไปได้สูงว่าสังคมไทยจะมิอาจก้าวพ้นวังวนของปัญหาเดิมได้ รวมทั้ง คงมิอาจฟื้นฟูเสถียรภาพและศักยภาพในการพัฒนาที่มีอยู่ในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ
จากการศึกษาและดำเนินการของคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการปฏิรูปกฎหมาย ทบทวน และแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ในคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผุ้แทนราษฎร ได้ตั้งข้อสังเกต อันเป็นปัจจัยและหลักการสร้างความปรองดอง และความสมานฉันท์ของคนในชาติ เพื่อให้ทางรัฐบาลนำไปพิจารณา ประเด็นดังต่อไปนี้
1) การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
2) การนิรโทษกรรม
3) กระบวนการยุติธรรม
4) การรักษาบรรยากาศของการปรองดอง สมานฉันท์
5) ข้อสังเกตเกี่ยวกับสื่อ
6) ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเยียวยา
7) การแสดงความรับผิดชอบด้วยการขอโทษ
8) ข้อสังเกตเกี่ยวกับกองทัพ
9) ข้อสังเกตเกี่ยวกับการชุมนุมและสิทธิผู้ชุมนุม

อ่านเพิ่มเติม

รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ของคนในชาติ ของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร

ระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 20 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม 2563

 

หมวดหมู่อินโฟกราฟิก :