อินโฟกราฟิก เรื่อง คุณสมบัติ หน้าที่และอำนาจของประธานสภาผู้แทนราษฎร

อินโฟกราฟิก เรื่อง คุณสมบัติ หน้าที่และอำนาจของประธานสภาผู้แทนราษฎร
ผู้แต่ง :
ใหม่ มูลโสม
จำนวนหน้า :
1
ปีที่พิมพ์ :
2566

 

คุณสมบัติ หน้าที่และอำนาจของประธานสภาผู้แทนราษฎร


ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

  • มาตรา 80 ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา
  • มาตรา 116 สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่ละสภา มีประธานสภาคนหนึ่งและรองประธานสภาคนหนึ่งหรือสองคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภานั้นๆ ตามมติของสภา ในระหว่างการดํารงตําแหน่ง ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นกรรมการบริหารหรือดํารงตําแหน่งใดในพรรคการเมืองขณะเดียวกันมิได้
  • มาตรา 118 ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานและรองประธานวุฒิสภาย่อมพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระตามมาตรา 117 เมื่อ

                (1) ขาดจากสมาชิกภาพแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก

                (2) ลาออกจากตําแหน่ง

                (3) ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมืองอื่น

                (4) ต้องคําพิพากษาให้จําคุกแม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษเว้นแต่เป็นกรณีที่คดียังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทําโดยประมาทความผิดลหุโทษหรือความผิดฐานหมิ่นประมาท

  • มาตรา 119 ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา มีหน้าที่และอํานาจดําเนินกิจการของสภานั้นๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับ รองประธานสภามีหน้าที่และอํานาจตามที่ประธานสภามอบหมาย และปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาเมื่อประธานสภาไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา และผู้ทําหน้าที่แทน ต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานและรองประธานวุฒิสภาไม่อยู่ในที่ประชุมให้สมาชิกแห่งสภานั้นๆเลือกกันเองให้สมาชิกคนหนึ่งเป็นประธานในคราวประชุมนั้น ​

อ่านเพิ่มเติม

อ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย [พุทธศักราช 2560] ​ ​