วิปรัฐบาล

ผู้เรียบเรียง :
อานันท์ เกียรติสารพิภพ, นิติกรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานบริการวิชาการ 2 สำนักวิชาการ
วันที่ออกอากาศ :
2562-08
ประเภทสิ่งพิมพ์ :
หน่วยงานที่เผยแพร่ :
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

 

จากการเลือกตั้งที่ผ่านมา ในการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นการจัดตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งส่วนใหญ่จะมีหลายพรรคการเมืองประกอบกัน ดังนั้น การที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลจะผลักตันกฎหมายต่าง ๆ ให้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้นั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคร่วมรัฐบาลที่จะช่วยกันพิจารณาและลงมตีให้ความเห็นชอบต่อกฎหมายนั้น ๆ และเพื่อให้การพิจารณากฎหมายหรือเรื่องต่าง ๆ ในรัฐสภาและสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและรวดเร็วซึ่งการที่จะให้เกิดความเห็นพ้องต้องกันได้ จะต้องอาศัยการประสานงานซึ่งกันและกัน จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรหรือที่เรียกว่า "วิปรัฐบาล"

หลายคนคงสงสัยว่า คำว่า "วิป " (whip นั้นหมายถึงอะไรและมาเกี่ยวข้องกับการเมืองไทยได้อย่างไร ทั้งนี้ คำว่า "วิป" (whip) มีที่มาจากระบบรัฐสภาของอังกฤษ มีความหมายว่า เหวี่ยงโดยเร็วหรือเฆี่ยน หรือไม้เรียวหรือแช่ เมื่อถูกนำมาใช้กับสมาชิกผู้มีหน้าที่ดำเนินงานต่าง ๆของพรรคการเมืองในการรักษาระเบียบวินัย คอยดูแลให้สมาชิกรัฐสภานั่งในที่ประชุม หรือกล่าวอีกนัหนึ่ง"วิป" เป็นผู้ทำหน้าที่ในการควบคุมคะแนนเสียงในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่พรรคการเมืองว่าการดำเนินการด้นสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและราบรื่นเท่าที่จะเป็นไปได้

ในระบบรัฐสภาของอังกฤษ ทุกพรรคการเมืองในสภาสามัญมีคณะเจ้าหน้าที่ที่เรียกว่า "ผู้คุมคะแนนเสียงในสภา" หรือ "วิป" โดยหัวหน้าพรรคจะเป็นผู้แต่งตั้งผู้คุมเสียงในสภาจากบรรดาสมาชิกของพรรคที่มีอยู่ในสภา ทั้งนี้ ผู้ที่นำคำว่า "วิป" มาใช้เป็นคนแรก คือ นายเอ็ดมันด์ เบิร์ก เมื่อ ค.ศ. 1769 เพื่อเปรียบเทียบกับการล่าสุนัขจิ้งจอก ซึ่งในการล่าจะต้องรวบรวมสุนัขที่ใช้ล่าสุนัขจิ้งจอกที่กระจัดกระจายให้รวมกันเป็นฝูง

ดังนั้น เมื่อพิจารณาความหมายจากแหล่งที่มาแล้ว นำมาใช้กับการเมืองไทย จะเห็นได้ว่า ประธานวิปรัฐบาลจะมีหน้าที่คอยควบคุมบรรดาสมาชิกที่สังกัดพรรคการเมืองเดียวกันหรือพรรคร่วมรัฐบาลให้มาประชุม เพื่อให้พรรคการเมืองหรือพรรคร่วมรัฐบาลมีเสียงสนับสนุนเพียงพอในการลงมติ และเพื่อป้องกันมีให้เกิดการเสียเปรียบในการลงคะแนนเสียงต่าง ๆ

สำหรับประเทศไทย คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) มีชื่อย่อว่า "ปสส." ซึ่งได้เคยดำเนินการอย่างไม่เป็นทางการมาหลายรัฐบาลแล้ว จนกระทั่งในปี 2526 จึงได้มีการแต่งตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในสมัยรัฐบาลพลเอก เปรม ติณลานนท์ โดยมีนายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ เป็นประธานวิปรัฐบาลในสมัยนั้น ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 79/2526 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2526 และต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรอีก เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2529 โตยมี นายพิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานวิปรัฐบาล หลังจากนั้นก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเรื่อยมาในทุกรัฐบาลจนถึงปัจจุบัน

วิปรัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ ๆ โดยสรุป คือ
1) พิจารณาดำเนินงานประสานงานเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภาตามที่ได้รับนโยบายจากนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี
2) ติดต่อประสานงานและเสนอข้อมูลแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปัญหาต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายนิติบัญญัติและฝ้ายบริหาร
3) พิจารณาระเบียบวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาและแจ้งผลการพิจารณาของวิปรัฐบาลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทราบก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภาโดยมติจะต้องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรี
4) ประสานงานกับพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลเพื่อให้มีการลงมติที่สอดคล้องกันในเรื่อง หรือญัตติใด ๆ ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา
5) สรุปผลมติที่ประชุมคณะกรรมการเสนอคณะรัฐนตรีเพื่อทราบหรือเห็นชอบ แล้วแต่กรณี

กล่าวโดยสรุป วิปเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญในพรรคการเมืองที่จะติดต่อเชื่อมโยงบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการทำหน้าที่อย่างเป็นเอกภาพเพื่อประโยชน์ในการลงคะแนนเสียงซึ่งเป็นหลักการหนึ่งของระบอบประชาธิปตยที่ให้ความสำคัญกับเสียงข้างมาก

ภาพปก