การเมืองการปกครอง

อินโฟกราฟิก เรื่อง ความเป็นมาของ กอ.รมน.

กอ.รมน.
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ฉัตรชัย ศรีเมืองกาญจนา จากกลุ่มงานบริการวิชาการ 1 สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เรียบเรียงบทความ เรื่อง "อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของ กอ.รมน."  ได้กล่าวถึง

  • ความเป็นมาก่อนจะเป็นกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
  • กอ.รมน. ในยุคปัจจุบัน
  • การจัดโครงสร้างและการแบ่งส่วนงานของ กอ.รมน.
  • แนวคิดการปฏิรูปกองทัพกับอนาคตของ กอ.รมน.
  • บทสรุปและข้อเสนอแนะของผู้ศึกษา

อ่านเพิ่มเติม

อินโฟกราฟิก เรื่อง ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

หน่วยงานภาครัฐ แบ่งออกเป็น

"ราชการส่วนกลาง" ได้แก่ กระทรวง และกรมหรือเทียบเท่า

"ราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่น"

"หน่วยงานของรัฐประเภทอื่น" ได้แก่ หน่วยงานในสังกัดรัฐสภา รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรอิสระ กองทุนและหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ

(ข้อมูล ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565) ​

ข้อมูลจาก สรุปการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "คดีปกครองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐ" ซึ่งคุณโรฒวิชญ์ เทียมศักดิ์ นิติกร สำนักกฎหมาย ได้สรุปตีพิมพ์ลงใน วารสาร จุลนิติ ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2566)

อินโฟกราฟิก เรื่อง การบริหารราชการของไทย


ประเทศไทยมีความพยายามที่จะสร้างหลักการกระจายอํานาจโดยผ่านรากฐานทางประชาธิปไตยต้องการให้ประชาชนเป็นผู้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองในระดับท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความ การปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้มแข็งสู่การบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดี

อินโฟกราฟิก เรื่อง ประชาธิปไตยดิจิทัล???


ประชาธิปไตยดิจิทัล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยการนําเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อดิจิทัลในทุกรูปแบบมาใช้เป็นเครื่องมือหรือกลไกในการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพื่อพัฒนาคุณภาพของประชาธิปไตย และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความ การมีส่วนรวมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยในยุคดิจิทัล โดย อรวรรณ เกษร ในรัฐสภาสาร ปีที่ 68 ฉบับที่ 6 (พ.ย.-ธ.ค. 2563) 

อินโฟกราฟิก เรื่อง การปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น

การปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ : ประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น

ยุทธศาสตร์หนึ่งในการบริหารจัดการบ้านเมืองของรัฐในระบบประชาธิปไตย คือ ​ การกระจายอำนาจ (Decentralization) สู่ท้องถิ่น ​โดยมุ่งลดบทบาทของรัฐส่วนกลางลง เหลือภารกิจหลักเท่าที่ต้องทำเท่าที่จำเป็น ​ และให้ประชาชนได้มีส่วนในการบริหารงานชุมชนท้องถิ่น ​ ตามเจตนารมณ์ของประชาชนมากขึ้น ​


การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นจึงเป็นการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ใหม่ ระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันของบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทความหลากหลายทั้งภายในและภายนอกประเทศ​

Subscribe to การเมืองการปกครอง