ปัจจุบันประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันมีสาเหตุมาจากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของประชากรโลก เช่น กระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม การผลิตไฟฟ้า การกลั่นน้ำมัน การก่อสร้าง การขนส่ง การใช้ประโยชน์จากที่ดินและการเกษตร การจัดการขยะและของเสีย เป็นต้น สภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสมดุลของธรรมชาติ ส่งผลให้ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้น อุณหภูมิพื้นผิวโลกและน้ำทะเลร้อนขึ้น การเกิดพายุรุนแรงและถี่ขึ้น และภัยแล้งสาหัสมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาอาหารขาดแคลน ปัญหาสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ และปัญหาความยากจนและการพลัดถิ่นตามมา
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลายเป็นประเด็นความท้าทายที่ประชาคมระหว่างประเทศต่างให้ความสำคัญและร่วมมือกันในการแก้ปัญหา ซึ่งเห็นได้จากการจัดทำกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ค.ศ. 1992 พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ค.ศ. 1997 ความตกลงปารีส (Paris Agreement) ค.ศ. 2015 และการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change Conference of the Parties: UNFCCC COP) ซึ่งไทยได้ลงนามในกรอบอนุสัญญาและเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลง/พิธีสารข้างต้นมาโดยลำดับ
นอกจากนี้ ประเทศไทยได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และมีร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก 2 ฉบับ ได้แก่
โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
แม้ร่างพระราชบัญญัติ ทั้ง 3 ฉบับ จะอยู่ในระหว่างรับฟังความคิดเห็น แต่ผู้ประกอบการสามารถเตรียมความพร้อมของสถานประกอบการและโรงงานได้โดยการตรวจวัดการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในองค์กรและในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ เพื่อรวบรวมข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกที่จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 หอสมุดรัฐสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เลขที่ 1111 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ : +66(0) 2242 5900 ต่อ 5714, 5715, 5721-22 โทรสาร : +66(0) 2242 5990
อีเมล : library@parliament.go.th