อินโฟกราฟิก เรื่อง พระราชกำหนด

อินโฟกราฟิก เรื่อง พระราชกำหนด
ผู้แต่ง :
นราภัทร เพชรมณี
จำนวนหน้า :
1
ปีที่พิมพ์ :
2566

 

พระราชกำหนด หมายถึง บทบัญญัติแห่งกฎหมายรูปแบบหนึ่งที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจบริหารซึ่งให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติแต่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบตามกระบวนการนิติบัญญัติของรัฐสภา

พระราชกำหนดมี 2 ประเภท คือ

  1. พระราชกำหนดทั่วไป เป็นการตราพระราชกำหนดในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
  2. พระราชกำหนดเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา เป็นการตราพระราชกำหนดในกรณีที่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 172 ได้กำหนดสำหรับการตราพระราชกำหนดทั่วไปว่า “มาตรา 172 ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้

การตราพระราชกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้

อ่านเพิ่มเติม

อ่านศัพท์รัฐสภาไทย : พระราชกำหนด

จัดทำโดยคณะทำงานรวบรวมและปรับปรุงคำศัพท์รัฐสภาไทย

ผังการตราพระราชกำหนด

 

หมวดหมู่อินโฟกราฟิก :