ศัพท์รัฐสภา

อินโฟกราฟิก เรื่อง ประชุมลับ

ประชุมลับ หมายถึง การประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภา การประชุมร่วมกันของรัฐสภา และการประชุมคณะกรรมาธิการ ซึ่งกระทำเป็นการลับตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมสภา เช่น คณะรัฐมนตรีร้องขอให้ประชุมลับ เป็นต้น และเมื่อมีการประชุมลับ บุคคลภายนอกหรือแม้แต่สื่อมวลชนก็ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าฟังการประชุม

อ่านเพิ่มเติม

ศัพท์ประชุมลับ

อินโฟกราฟิก เรื่อง ปฏิญาณตน

ปฏิญาณตน หมายถึง พิธีการที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ต้องกระทำก่อนเข้ารับหน้าที่โดยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้คำมั่นสัญญาต่อที่ประชุมรัฐสภา

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาให้คำมั่นสัญญาต่อที่ประชุมที่ตนเป็นสมาชิกว่าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนก่อนเริ่มต้นการปฏิบัติหน้าที่

อ่านเพิ่มเติม

ศัพท์ปฏิญาณตน

อินโฟกราฟิก เรื่อง บันทึกการออกเสียงลงคะแนน

บันทึกการออกเสียงลงคะแนน หมายถึง การจัดทำบันทึกการออกเสียงในการลงคะแนนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกรัฐสภา โดยให้เลขาธิการของแต่ละสภาจัดทำบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคนและให้เปิดเผยบันทึกการออกเสียงลงคะแนนไว้ ณ บริเวณสภาเพื่อให้สมาชิกตรวจดูได้ รวมทั้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น และเพื่อให้ประชาชนทราบได้ทั่วไปด้วย เว้นแต่การออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ ทั้งนี้ สมาชิกมีสิทธิขอแก้ไขเพิ่มเติมบันทึกการออกเสียงลงคะแนนให้ตรงตามที่เป็นจริงได้

อ่านเพิ่มเติม

อินโฟกราฟิก เรื่อง กระทู้ถามแยกเฉพาะ

กระทู้ถามแยกเฉพาะ หมายถึง ข้อซักถามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเกี่ยวกับงานในหน้าที่ที่มีลักษณะเฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่ เฉพาะบุคคล หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบุว่าให้ตอบในห้องกระทู้ถาม

กระทู้ถามแยกเฉพาะมีเฉพาะในสภาผู้แทนราษฎร และมีขึ้นเป็นครั้งแรกในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 เพื่อเพิ่มช่องทางให้สามารถถามและตอบกระทู้ถามได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการแก้ไขได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นด้วย

อ่านเพิ่มเติม

ศัพท์กระทู้ถามแยกเฉพาะ

อินโฟกราฟิก เรื่อง สมาชิกขอหารือก่อนเข้าระเบียบวาระ

ศัพท์รัฐสภา คำว่า "สมาชิกขอหารือก่อนเข้าระเบียบวาระ" โดยคณะทำงานรวบรวมและปรับปรุงคำศัพท์รัฐสภาไทย

อินโฟกราฟิก เรื่อง การประชุมร่วมกันของรัฐสภา

ศัพท์รัฐสภา "การประชุมร่วมกันของรัฐสภา" จัดทำโดยคณะทำงานรวบรวมและปรับปรุงคำศัพท์รัฐสภาไทย

การประชุมร่วมกันของรัฐสภา หมายถึง การประชุมร่วมกันของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเพื่อพิจารณาหรือให้ความเห็นชอบในเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้ทั้งสองสภาประชุมร่วมกัน ในกรณีต่อไปนี้

อินโฟกราฟิก เรื่อง นับคะแนนเสียง

 

นับคะแนนเสียง หมายถึง การคำนวณการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกเพื่อให้ได้ผลการลงมติในเรื่องที่ประธานในที่ประชุมขอมติว่ามีสมาชิกออกเสียงเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรืองดออกเสียงเป็นจำนวนเท่าใด สมาชิกคนหนึ่งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนได้เพียงหนึ่งเสียงเท่านั้น ซึ่งคะแนนเสียงที่ได้จากการลงคะแนนเสียงเป็นที่ยุติแล้ว ประธานในที่ประชุมจะประกาศผลคะแนนเสียงที่นับได้ให้ที่ประชุมทราบและคะแนนเสียงที่ได้จะต้องเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

Subscribe to ศัพท์รัฐสภา